R&D : ความคิดที่แตกต่าง


R&D ในบันทึกต่างๆที่กล่าวมา จะมีลักษณะสำคัญคือ (๑)  มี"สิ่ง" ที่จะถูก D, (๒) มี "เครื่องมือ" ในการ D  คือ "R"  และ (๓) ต้อง R&D ซ้ำๆจนเป็นทีพอใจ

แต่ R&D ที่ต่างออกไปนี้มีกระบวนการโดยสรุปว่า " R&D เป็นกระบวนการวิจัยที่ยอมให้ทุกคนที่ร่วมอยู่ในกระบวนการวิจัย เช่น ผู้วิจัย, ผู้ช่วยผู้วิจัย,  คนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง, โดยมีเป้าหมายว่า  เมื่อวิจัยเสร็จแล้ว  ผู้ร่วมวิจัยทั้งหมดจะ  กลายเป็นผู้วิจัยเป็นหรือนักวิจัย !  และนั่นคือ คนเหล่านั้น  จะได้รับการ D แล้ว ! "   อนึ่ง  มักจะนำเอา PAR (Participatory Action Research) เข้าร่วมด้วย  และสับสนกันว่า PAR เป็น R&D ก็มี

R&D ดังกล่าวนี้  ได้ยอมรับกันให้เสนองานวิจัยดังกล่าวเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อขอรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในบางโปรแกรมได้  ในประเทศไทยในปัจจุบัน

งานวิจัยแบบที่กล่าวมานี้  มีข้อที่น่าสังเกตดังนี้

(๑) เราจะใช้ R&D ตามแนวคิดนี้กับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นวัตถุ  เช่น  เครื่องปรับอากาศ, รถยนต์, เป็นต้น  หรือสิ่งที่เกี่ยวกับความคิด เช่น การพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานบางอย่าง, การ R&D โปรแกรมคอมพิวเตอร์, เป็นต้น  "ไม่ได้เลย"

(๒) R&D ที่แตกต่างออกไปนี้  ดูจะเป็นธรรมชาติของ PAR (Participatory Action Research )  ซึ่งเป็น R อีกวิธีหนึ่ง  แต่นำมาปะปนกับ R&D

เรื่องนี้  มหาวิทยาลัยเห็นทีจะต้องอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง  และลึกซึ้งในระดับทฤษฎี และหรือ ระดับปรัชญา กันแล้วหละ

หมายเลขบันทึก: 159080เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2008 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท