เปิดประตูชุมชน (๒) เราจะศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างไร?


   <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ถามว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) คืออะไร?</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ผมยังจำได้คำๆนี้ ผมถูกอาจารย์หลายท่านวิพากษ์ เมื่อครั้งทำวิทยานิพนธ์ ช่วงนำเสนอโครงร่าง ว่าผมจะใช้คำใดในการศึกษาวิจัย ระหว่าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ความรู้ท้องถิ่น ซึ่งสรุปแล้วมันก็คือคำเดียวกัน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงหมายถึง องค์ความรู้ที่ชุมชนใช้เป็นพลังในการขับเคลื่อนวิถีชีวิต ผ่านการทดลอง ทำซ้ำ จนเป็นองค์ความรู้ ทฤษฏีของชุมชน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า และเมื่อไหร่ก็ตามองค์ความรู้นี้ถูกนำมาจัดการใช้ประโยชน์ ถือว่าเป็น ทุนที่สำคัญในการเชื่อมต่อศักยภาพ เก่า ใหม่ได้อย่างลงตัวสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">การเก็บข้อมูลชุมชนจำเป็นมากที่จะต้อง ให้ความสำคัญกับทุนดังกล่าวถือว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทำให้เรามองเห็นโลกของชุมชนได้ลึกในมิติของกาลเวลา</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาจะมุ่งเน้น สนใจ ด้านใด ด้านหนึ่ง จากนั้นก็เจาะลึก เก็บข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์เชื่อมโยง เรียบเรียงออกมาเป็นองค์ความรู้เฉพาะถิ่น</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">มาดูว่าในชุมชนมีภูมิปัญญาด้านไหนบ้าง</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p>เกษตรกรรม ถือว่าเป็นอาชีพพื้นฐานของคนส่วนใหญ่ของประเทศ บรรพบุรุษเรามีเทคนิค วิธีการเฉพาะในการประกอบอาชีพเกษตร ที่สอดคล้องกับบริบทต่างๆรอบข้าง <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">อุตสาหกรรม ที่เป็นระบบการผลิตและบริโภค เพื่อการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ การแพทย์พื้นบ้าน เป็นการพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพ การจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านพิธีกรรม ความคิด ความเชื่อของชุมชน กองทุนและธุรกิจชุมชน เป็นการจัดการที่ถือว่าเป็นเศรษฐศาสตร์ระดับชาวบ้าน การจัดสรร สวัสดิการ เพื่อประกันคุณภาพชีวิต ศิลปกรรม เป็นองค์ความรู้ทางด้านสุนทรียะภาพของท้องถิ่น ทั้งทางด้านจิตรกรรม คีตศิลป์ ประติมากรรม ทัศนศิลป์ ส่วนภาษาและวรรณกรรม เป็นองค์ความรู้ในการสื่อสารในสังคมในรูปแบบต่างๆ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น นักวิจัยกับผู้รู้(ที่เราถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน)  เพื่อการแสวงหาข้อมูล นำไปสู่การเก็บความรู้ มีขั้นตอนดังนี้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J   พิจารณาประเด็นที่จะศึกษา และภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้อง</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J เลือกวิธีการและออกแบบงานวิจัย</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J เก็บรวบรวมข้อมูล</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัย</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J สรุปและให้ข้อเสนอแนะ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p>และการเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นอาจต้องครอบคลุมทั้ง</p><p>-        เนื้อหา</p><p>-        วิธีการ</p><p>-        วัตถุ</p><p>-        แนวคิดเชิงนามธรรม</p><p>-        สื่อการเรียนรู้</p><p>-        ลักษณะการถ่ายทอดมายาวนานผ่านการคัดกรอง </p><p>-        กลยุทธ์การถ่ายทอด</p><p></p><p>ที่สำคัญที่สุดคือ พลวัตรของภูมิปัญญาท้องถิ่นเก่าและใหม่ เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ผลักวงจรของการเรียนรู้และการถ่ายทอดเนื้อหาองค์ความรู้นั้น เพื่อการใช้ประโยชน์เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้    </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ถามว่าเราจะถอดบทเรียนอย่างไร? จากปรากฏการณ์ที่สะท้อนภาพภูมิปัญญาท้องถิ่น ตรงนี้เป็นกระบวนการที่แตกต่างกันไปตามความถนัดของผู้วิจัย หรือนักพัฒนา จะขอกล่าวเป็นรูปแบบกว้างๆดังนี้ครับ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J กำหนดปรากฏการณ์ที่ศึกษาเทียบกับแนวคิด ทฤษฏีหลักที่ผู้วิจัยให้ความสำคัญไว้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J ค้นหาแก่นแท้ หรือใจความสำคัญของภูมิปัญญา โดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูล (จะนำเสนอกระบวนการ วิธีเก็บข้อมูลในบันทึกต่อไป) แล้วนำมาเชื่อมโยง วิเคราะห์ สังเคราะห์เขียนเป็น Conceptual framework ให้เห็นความสัมพันธ์ในบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้อง อธิบายเหตุและผลในทางวิชาการ แล้วโยงสู่แนวคิดหรือทฤษฏีที่มีอำนาจในการอธิบายอย่างลึกซึ้งได้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J อาศัยหลักตรรกวิทยา หรือหลักการพัฒนาชุมชนมาอธิบายปรากฏการณ์ที่เราพบเห็นในชุมชน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J วิเคราะห์ภูมิปัญญาที่มีหลายๆมิติเข้ามาเกี่ยวข้อง</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">อย่างไรก็ตาม ให้เราเน้น การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ โดยสร้างเงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อ ให้ชาวบ้านสามารถเรียนรู้ร่วมกัน มีความเป็นธรรมชาติ มีชีวิต ชีวา สะท้อนภาพข้อมูลที่ถูกต้องมีการตรวจสอบได้ในเวที มองเห็นปมของเรื่อง(แก่น) ไม่ว่าจะเป็นศักยภาพ และปมปัญหาที่ชุมชนจะเข้าไปแก้ไขร่วมกัน ด้วยความรู้สึกเป็นเจ้าของปัญหา</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">บันทึกที่เกี่ยวข้อง กับ การเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogลีซู...ราชินีแห่งขุนเขาู : เริ่มแรกงานวิจัยในหมู่บ้าน </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogงานวิจัย การจัดการความรู้ท้องถิ่น "กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู" </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogไปเก็บสมุนไพรกับพ่อเฒ่าลีซู...กิจกรรมเก็บข้อมูลงานวิจัย </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogวิจัยเพื่อท้องถิ่น กับวิธีวิทยาการวิจัย...ถอดบทเรียนงานติดอาวุธทางปัญญาให้ชุมชน </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogต้มเหล้าข้าวโพด : กิจกรรมการเก็บข้อมูลนักวิจัยคนจน </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frog “โลว์เทค” วิธีเก็บข้อมูลของนักวิจัย “คนจน” : Life on the Mountain </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 159052เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2008 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท