ทำอย่างไรให้ผู้บริหาร อปท.สนใจงานพัฒนาสุขภาพ


10 มกราคม 2551 ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลปาย ยังคงเหมือนเดิมคือผู้บริหารขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นทั้ 8 แห่ง ไม่มาอีกตามเคย มีหัวหน้างานสาธารณสุข งานนโยบายและแผน มาบ้างแต่บ้างก็มาเพียงชั่วโมงแรกหรือมากที่สุดเพียงแค่ครึ่งวันเช้าเท่านั้น

ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาที่ผมและทีมงานแผนของโรงพยาบาลร่วมกับท่านสมคบทำการเตรียมการให้ผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขภาพของอำเภอปายมาร่วมประชุมเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาสุขภาพอำเภอ ปาย ทุกคนง่วนอยู่กับการเตรียมการจนถึงวันที่ทำการประชุมเชิงปฎิบัติการจริง

9 มกราคม 2551 ตามรายชื่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพอนามัย กีฬาและนันทนาการอำเภอปาย จะต้องมีผู้มาร่วมประชุมจำนวน 30 ท่าน เพื่อร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์สุขภาพของอำเภอ ผม ท่านสมคบและทีมงานแผนเดินทางไปรอ ณ ที่ประชุมตั้งแต่เวลา 08.00 น. จนกระทั่งเวลา 09.00 น.ผู้เข้าร่วมประชุมจึงเดินทางมาถึง และมีเพียงบางส่วน บางแห่งเท่านั้น ซึ่งในวันนี้เราได้ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของอำเภอออกมาจริง ๆ แต่ผมเองไม่มั่นใจในความแข็งแรงหรือความศักดิ์สิทธิ์ของยุทธศาสตร์เท่าใด เพราะผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ไม่มีผู้บริหารสูงสุด(นายก อบต./เทศบาล) ของอปท.แต่ละแห่งเข้าร่วมประชุมเลย ผมเองยังตั้งความหวังว่าพรุ่งนี้คือวันที่ 10 มกราคม 2551 ซึ่งเป็นวันประชุมทำแผนสุขภาพระดับตำบลจะมีผู้บริหารเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ด้วยความไม่ค่อยมั่นใจ จึงขอให้งานธุรการโทรศัพท์ประสานไปยัง อปท.ทุกแห่งอีกครั้ง

10 มกราคม 2551 ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลปาย ยังคงเหมือนเดิมคือผู้บริหารขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นทั้ 8 แห่ง ไม่มาอีกตามเคย มีหัวหน้างานสาธารณสุข งานนโยบายและแผน มาบ้างแต่บ้างก็มาเพียงชั่วโมงแรกหรือมากที่สุดเพียงแค่ครึ่งวันเช้าเท่านั้น ภาคบ่ายจึงเหลือเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อสม.และเจ้าหน้าที่จาก อปท.อีกไม่กี่คนงานพัฒนาสุขภาพอำเภอปายจะสำเร็จลงได้ก็คงต้องอาศัยคนในเมืองปาย ผู้บริหารท้องถิ่น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขฝ่ายเดียวไม่ใช่หรือครับ

 

หมายเลขบันทึก: 158647เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

คงต้องมา AAR ร่วมกันครับ ว่า "เพราะสาเหตุใด"

ความจริงเป็น "หน้าที่" ของผู้บริหารท้องถิ่น ที่จะนำชุมชนของตนเองไปสู่ความอยู่ดีมีสุข แต่ภาพของการมีส่วนร่วมตรงนี้ไม่เกิดขึ้นเพราะอะไร

เราอาจต้องมีวิธีการที่หลากหลาย ถอดบทเรียนการทำงานของโรงพยาบาลด้วยครับ ดูสาเหตุครอบคลุมทุกมิติแล้วเริ่มต้นกันใหม่

ให้กำลังใจนะครับ ทั้งท่าน สมคบ ท่านสุพัฒน์ ท่ารอน สู้ๆครับ

--------------------------

บทเรียนการไปเรียนรู้ของผมที่ น่าน นั้นน่าสนใจครับ ลองอ่านได้ที่  บทเรียนการพัฒนา "ชุมชนน่าอยู่ เมืองน่าน" การจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น

 

มองเป็นกลางนะครับ

  • ผู้บริหาร อบต.ท่านทราบรายละเอียด การทำแผนฯ แค่ไหน
  • ที่ผ่านมาเรามีปฏิสัมพันธ์ในระดับใดกับ อปท.
  • ระยะเวลา ประเด็น และสถานที่ ฯลฯ

.....

....

นำมาประมวลเพื่อหาวิธีการดีๆในการทำแผนอีกครั้งครับ

มีความคิดเกิดขึ้นหลายประการจากการทำแผน

อ้ายกระท้อนครับ

ผมยังคิดว่าความสำเร็จของเรื่องพวกนี้คือ การทำแผนระดับรากหญ้าได้

ถ้าเราสามารถไปจัดเวทีอย่างนี้ได้ในระดับประชาชน ทำวิชาการอันยากเย็นนี้ ใช้ภาษาได้ง่าย แล้วเกิดการเรียนรู้ได้ในเวทีที่เป็นของประชาชน ที่ไม่ได้สังกัดอะไร นะครับ จะเป็นการดียิ่งกว่าการหวังให้นายก    อบต.มาเข้าร่วมครับ   เพราะว่าเป็นระดับผู้บริหารอาจจะเป็นการรับฟังผลจากการรวมสิ่งที่นำมาเสนอต่อระดับรากหญ้าแล้ว  เพราะผู้บริหารมักมีความอดทนน้อย มีเวลาไม่มาก อาจจะไม่อยากมาร่วมในกระบวนการทำแผน ผมว่าถ้าจะให้แน่นอนต้องมาจากข้างล่างก่อนครับ เหมือนกับที่เขาบอกว่าประชาคมนั่นแหละ แต่ผมยังไม่มั่นใจในกระบวนการทำประชาคมเท่านั้น เอง   ถ้าว่าอำเภอเรามี  modurator ดีดี เยอะเยอะพอ ที่จะทำวานพวกนี้ได้ดี สามารถออกแบบกระวบนการได้ ผมเชื่อว่าเราจะขับเคลื่อนงานอย่างนี้ได้ บางที่เขาพัฒนาวิทยากรกระบวนการหรือกระบวนกรที่เป็นชาวบ้านเลยครับ ไปจัดกระบวนการที่มีคุณภาพ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน การพัฒนายั่งยืน จึงจะเกิดขึ้น

3วันนี้ทุกคนที่มาร่วมงานเกิดอาการเหนื่อยล้าทุกคน ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ อย่าเพิ่งทดท้อไป ฉากต่อไปเราเองก็เป็นผู้นำไปสานต่อเพื่อให้เกิดสิ่งที่หวังเอาไว้ เราต้องอดทนพอที่จะให้สิ่งดีดีผุดบังเกิดขึ้น

ประเด็นเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของแผนยุทธศาสตร์ หากเรายอมรับพลังอันเป็นฐานอำนาจเราก็อาจพลอยจะคิดว่าต้องมีผู้มีอำนาจเข้ามาร่วม พอผู้มีอำนาจไม่มาเข้าร่วมก็เลยดูว่างานที่เราทำนั้นไม่ยิ่งใหญ่ แต่ถ้าเรายอมรับพลังแห่งประชาชน พลังของผู้ที่ได้สละเวลาเข้ามาร่วม แล้วเราลองดำเนินการตามนั้นไป การเรียนรู้จึงจะ เกิดขึ้น ตรงนี้จึงเรียกว่าการก่อเกิดกลุ่มประชาชนจริงๆ

ผมคิดว่าฉากต่อไปคงเหนื่อยหน่อยแต่คิดว่าจะต้องมีการเชิญชวนกลุ่มประชาชนมาร่วมงานกับเราเพิ่มมากขึ้นอีกครับ เอาแผนมานั่งดูแล้วก็ดูเวลาดูจังหวะ แล้วก็ดำเนินการ ร.พ.ทำมั่ง ชวนอบต.มาร่วมมั่ง

เรื่องนี้สนุกครับ แต่ต้องใช้เวลา ก่อนจะเลิกประชุมของวันนี้นั่งคุยแลกเปลี่ยนกับพี่อาด ก็เกิดประเด็นเรื่องของการจัดโครงสร้างสำหรับพัฒนา PCU เกิดขึ้นครับ คงจะหารือกันต่อต่อไปอีกแน่นอน

เรื่องอื่นๆก็มีอีกเยอะครับ ที่อยากสนทนา เช่นว่าแผนสุขภาพถ้าจะสามารถผนวกกับทางอบต.ได้ ก็จะเป็นการดี อันนี้อาจลองทำในตำบลที่เราสนใจ ก็น่าจะสามารถก่อเกิด แผนแม่บทชุมชนได้นะครับ   แผนของชาวบ้านมีหลายอัน มีมากมายเหลือ

สวัสดีครับอาจารย์เอก

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นที่มีประโยชน์มาก ๆ

ครั้งต่อไปต้องเตรียมการมากกว่านี้เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆมีส่วนร่วมมากขึ้นที่ผ่านมาพอสรุปได้คือ

1.เราทำหนังสือเชิญได้ช้าเกินไป โดยมีสาเหตุฯลฯ

2.หน่วยงานที่เชิญ(เรา)ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง จึงอาจคิดว่าไม่เกี่ยวข้องเท่าใด น่าจะเป็นเรื่องของ สอ.มากกว่า อบต.

3.ที่ผ่านมาความร่วมมือระหว่างกันค่อนข้างน้อย

4.ทีมงานแผนงานของเราเพิ่งเริ่มงานนี้เป็นงานแรก !

ส่วนอื่น ๆรายละเอียด เวลา สถานที่ คิดว่าที่ทำหนังสือไปน่าจะโอเค

คนทำงานรู้สึกนิด ๆแต่ไม่ท้อหรอกครับหากทีมใหญ่ยังให้ความสำคัญและให้กำลังเหมือนเดิมทีมแผนงานใหม่ก็พร้อมสู้เสมอ

เรียนท่านสมคบP

ความคิด ความต้องการของการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับอำเภอ ตำบล และ PCU ในความคิดของผมคือการนำเอาความคิด ความจริง ความต้องการที่แท้จริงจากภาคประชาชนมาทำเป็นแผนในการตอบสนองต่อประชาชนจริง ๆ ใน 2 วันแรกผมก็ว่าโอเคในระดับหนึ่งถึงแม้แผนบางแผนที่ออกมาอาจลงไม่ถึงรากแต่ก็เป็นแนว ถึงแม้ว่าบางตำบลมากกว่า 50 % เป็นความคิดจากเจ้าหน้าที่ของเราที่พยายามดัน แต่ถ้า ปชช.โอเคด้วยก็ไม่เป็นไร

ส่วนในเรื่องทีมทำงานในด้านต่าง ๆ ผมไม่อยากให้มีการประเมินแบบ( +ve-bias&-ve-bias ) เพราะไม่ส่งผลดีทั้งสองประการจึงอยากเสนอให้มีคนกลาง ๆบ้างถึงแม้จะยังไม่เก่ง ไม่ผ่านการอบรมแต่คงไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เสียเลย

ส่วนแนวความคิดที่อยากให้ลงทำแผนชุมชนหรือการฟังความคิดเห็นจากชุมชนเห็นด้วยอย่างยิ่งหากทำจริง (ทำจริงคือลงไปประชุมกับชาวบ้านในหมู่บ้านจริง ๆ..ไม่ใช่ไปยืนหน้าบ้านชาวบ้านแล้วสรุปออกมาเป็นข้อมูล)

อือม์ ...ต่อจากอ้ายกระท้อน

ผมคิดว่า ความเป็นกระบวนกรหรือว่าวิทยากรกระบวนกรหรือmodurator ความเป็นกลางนี่ก็สำคัญ ตลอดจนการจัดกระบวนการก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ตอนที่เราเตรียมทีมอาจยังไม่ได้ลงรายละเอียดตรงนี้ก้ได้ครับ เพราะเราเตรียมกันตอนขั้นตอน ผมเองก็ลืมเรื่องประเด็นแห่งการชี้นำไป อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ มีการโน้มนำค่อนข้างมากในบางตำบลอย่างที่ว่า

แต่ก็จะเห็นว่า กระบวนกรไม่เพียงพอ ไม่สามารถนั่งระจำกลุ่มเดียวกันได้นาน อาจยังต้องวิ่งไปมา

กระบวนกรมีการชี้นำบ้าง .. เหตุอาจเกิดจากหลายอย่างเช่น เคยทำแล้วไม่ได้ผลอย่างที่คิดแต่พอชี้นำแล้วเร็วดีได้ผล(ตามที่ต้องการ )  หรืออาจจะมีจากเหตุอื่น เอาเป็นเราได้เรียนรู้ร่วมกัน

ส่วนเรื่องที่ว่า การพัฒนากระบวนกรนั้นถ้าทำได้ดีเราก็จะได้กระบวนกรที่มีคอนเซปอย่างที่เราต้องการคือ การเป็นกลาง   ไม่งั้นก็จะออกมาเป็นแบบที่อ้ายกระท้อนบอก คือ ไปยืนข้างหน้า แล้วก็ถามว่า เอ้าใครมีปัญหาอะไรบ้าง ก็ได้ข้อมูลมาทำแผนต่อ ... หรือเราจะมาคุยกันเรื่องการพัฒนาเครือข่ายกระบวนกรแห่งอำเภอปาย อือม์.... อ.นเรศเขาก็ถนัดเรื่องนี้เหมือนกันนะครับ อาจมีการเชื้อเชิญ เมื่อดินน้ำลมไฟทำปฏิกิริยาเหมาะสม

ประเด็นแผนพัฒนา PCU เนเรื่องยากจริงๆ อสม.ที่มาประชุมบอกงง ครับ พอดีแกได้หัวข้อการวิจัย แต่ก็พอออกมาเพระว่ามีเจ้าหน้าที่แผนใน อบต.มาร่วมอยู่ในนั้น ก็เป็นอะไรที่ผมเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกระบวนกรเหมือกัน เพราะตอนแรกคิดว่าวันสุดท้ายจะง่ายที่สุด แต่ความจริงกับยากที่สุดใน 3 วันเลยครับ

กลับมาต่อที่เรื่องการประเมิน PCU

การประเมินช่วงก่อนที่จะมีการอัดตังลงมาที่เคยสังเกตรู้สึกว่า ค่อนข้างเป็นกลาง แต่พอมีสตางค์ เข้ามครับ ..เท่าที่ผมเห็นคือ การประเมินเต็มไปด้วยความเข้มข้น คือคนถูกประเมินก็ไม่ค่อยยอม คนที่ไปประเมินบางทีก็มีbyas บางทีก็ไม่แม่นในคะแนนทำให้เกิดอาการเครียดกันไปหมดทั้งสองฝ่าย  บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่าเพราะการตัดสินนี่เองที่เป็นทุกข์ แต่ถ้าไม่มีเงินอัดลงมา ก็เหมือนไม่มีการให้ความสำคัญอะไรกับเรื่องคุณภาพมากนัก อาจเป็นเพราะการพัฒนาที่ผิดแนวทาง ก็ได้ ยิ่งให้เป็นคนนี่ยิ่งเห้นได้ชัดใหญ่ แต่มีบางทีครับมีการตั้งคำถามว่าจะให้แต่ละคนในอนามัยเท่ากันดีหรือไม่ อะไรอย่างงี้ การพัฒนาที่เอาเงินเป็นตังตั้ง นีก็มีดีมีเสียเป็นเหมือนดาบสองคม

การประเมินที่เป็นกลาง ผู้ประเมินก็ต้องเซียนเหมือนกัน เพราะว่า เกณฑ์ที่ให้มาเท่าที่ผมได้เคยเป็นคนประเมิน ตามเกณฑ์ดังกล่าวก็พบว่ามันใช้งานยาก เกณฑ์บางข้อก็ไม่ชัดเจน บางข้อผมเองก็รับไม่ได้ที่ให้ตามนั้น อย่างข้อที่บอกว่า ถ้ามีคู่มือ IC ก็ได้ 5 คะแนนแล้ว แล้วก็มีการนึ่งของก็โอเคแต่พอดีสถานีอนามัยนั้นใช้ ซึ้งมานึ่งครับ ก็ผ่านได้อีกเหมือนกัน

ในเกณฑ์ข้อ 6 ถ้าผมจำไม่ผิดเพี้ยน การดูแลกาย ได้5 ถ้าดูแลจิตได้เพิ่มอีก เป็น 10ดูแลครอบครัวอีกเป็น15เลยไปถึงสังคมได้ 20 วิธีการก็คือให้สุ่มตรวจดูผู้ป่วยตอนไปประเมิน แค่นี้ก็ดุว่าการประเมินจะเป็นอย่างไร ในมาตรฐานใหม่ล่าสุดที่มีมาจากกรมสนับสนุบริการนั้นเองดูเหมือนจะดีขึ้นคือเริ่มไม่มีคะแนนครับ แต่ก็กลับมานั่งคิดว่าอ้าวแล้วเงินโบนัสจะทำอย่างไร  แล้วถ้าไม่มีคะแนนที่ชัดเจนจะทำให้การประเมินเป็นอย่างไร

ล่าสุดมีมาตรฐานใหม่ออกมาอีก ตามแนวของ มาลคอม..คล้ายๆTQA อันนี้ยิ่งไปใหญ่ครับ คือไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้ประเมิน แต่เห็นว่า เมื่ประมาณ ต้นปี 50 จะมีการนำร่อง 40 CUP ในเขตภาคเหนือ แล้ว ตัวแทนจาก 40 CUP ที่ว่านั้น จะเป็นผู้จะเป็นsurvayor ต่อไป แนวน่าจะคล้ายกับทาง พรพ.แต่อาจจะมีอะไรที่แตกต่างไปบ้าง แล้ว 40CUP ก็จะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี คิดว่า 3-5 ปี ก็คือปรับใช้เป็นมาตรฐานตัวนี้แต่ของสนับสนุนบริการจะเป็นอย่างไรต่อหรือว่าจะมีอยู่นั่นก็ยังไม่รู้ครับ แล้วก็มีมาตรฐานเล่มสีม่วงอีกครับ วุ่นวายกันพอสมควร

AAR กันบนเว็บนี่ก็ได้อีกบรรยากาศอีกแบบแฮะ พื้นที่ที่จะนั่งคุยอย่างนี้มันไม่ค่อยมีในชีวิตประจำวันเลยนะ 

ความจริงบางครั้งก็ไม่อยากเรียกว่านัดประชุม อยากเรียกว่านัดคุยกัน อย่างวันที่ 15 ที่ว่านัดคุยกันเรื่องของสุขาภิบาลอาหารกับงานตรวจร้านชำแล้วก็งานที่เกี่ยวข้อง อยากคุยกันในบรรยากาศสบายสบายแบบไม่ใช่ประชุมแต้ประชุมว่า บางคนอาจบอกว่าคุยแล้วเสียเวลาหรือเปล่า แต่ผมว่าไม่ไสยเวลา เพราะบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการน่าจะเป็นที่ก่อเกิดไอเดียมากกว่า น่จะเกิดความเป็นกัลยณมิตร มากกว่าและก่อเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้นครับ

...ยาวซักหน่อยนะครับ กำลังรอเข้าcaseต่อไปครับ ..เตรียมปลุกได้

ต่ออีกครับ พอดีอยู่เวรวันเว้นวันกับคุณหมอสุพัฒน์ เป็นอย่างนี้อีกซัก อาทิตย์

แผนของเรายังมีจุดอ่อนตรงที่ยังไม่รู้ว่าใครจะทำอะไร เพราะเป็นเหมือนกับการระดม การมีส่วนร่วม ความจริงก็ต้องมีขั้นต่อไป แต่จะเรียกใครมาคงยาก คงต้องพึ่งอนุกรรมการของเราเอง ต้องช่วยกันประกคับประคองให้ตลอดรอดฝั่งซักปีนึงถ้าจะดีครับ ค่อยค่อยหารือกันไปทีละประเด็นครับ อาจ list เรื่องไว้ซัก 3 เรื่อง แล้วก็เชิญมาหารือกันทีละคราวทีละคราว แต่บางเรื่องอาจทำงานได้เลยโดยวิธีอื่นๆอีกครับ

งานแบบอนุ ระดับอำเภอนี่นึกภาพไม่ค่อยออกเหมือนกันครับ ไม่เคยมีประสบการณ์ อยากเชื้อเชิญแลกเปลี่ยนครับ เพราะว่าไม่รู้ว่าจะไปสั่งองค์กรอื่นใดที่ไม่ใช่ของเราเอง อนุกรรมการจะมีอำนาจหรือเปล่า จะมีอำนาจแห่งการสั่งการหือไม่ หรือเพียงแต่ คิดแผนอย่างเดียว เอ๊ะ หรือว่ายังไง หรือว่าปล่อยไหลให้เป็นกระบวนการการก่อตัวโดยธรรมชาติเอง หรืออย่างไร

 

 

สวัสดีค่ะ

- เป็นกำลังใจค่ะ

- กรุงโรมหรือกำแพงเมืองจีน ไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท