ทฤษฏีปลาบู่ทอง….จาก KM….สู่ Innovation……


เพื่อจุดประกายความคิดเรื่องเกี่ยวกับ KM

              ทฤษฏีปลาบู่ทอง...เป็นแนวคิดที่  อาจารย์ชลภัลล์ วงษ์ประเสริฐ์ จากมหาวิทยาลัยรังสิต มาบรรยายให้นักศึกษาปริญญาโท KM ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ฟังเป็นแนวทางให้นักศึกษา เพื่อจุดประกายความคิดเรื่องเกี่ยวกับ KM

           โดยท่านเปรียบ KM เหมือนทฤษฏีปลาบู่ทองว่า ความรู้ไม่มีการหยุดนิ่งมีการเปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ๆ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหมือนอย่างนิทาน เรื่องปลาบู่ทอง                  

          เมื่อปลาบู่ทองตาย ส่วนของเกล็ดปลาก็ยังกลายเป็นต้นมะเขือ (เกิดการพัฒนากลายเป็น Innovation ใหม่ๆ) เมื่อต้นมะเขือตาย...ก็ยังกลายมาเป็นต้นโพธิ์เงินต้นโพธิ์ทอง....เมื่อต้นโพธิ์เงินต้นโพธิ์ทองตาย...ก็ยังกลายไปเกิดเป็นคน ได้เป็นมเหสีของกษัตย์ ....ซึ่งเปรียบว่า..กาลเวลาไม่ได้ทำให้ความรู้สูญหายไป เพียงแต่เปลี่ยนสถานะเป็นชนิดใหม่เท่านั้นเองโดยเพิ่มมูลค่าในตัวเอง                  

            เปรียบเหมือน KM ที่ความรู้เปลี่ยนไปสู่ .. Innovationและสิ่งใหม่ๆอีกมากมายอาจจะมีชื่อเรียกต่างไปจากเดิม การพัฒนาที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัย มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดอยู่กับที่ มีการพัฒนาจนคำว่า KM อาจจะถูกกลืนจนกลายเป็นสิ่งใหม่ ที่มีชื่อเรียกที่ต่างออกไป                  

            ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่าชื่อ KM นี้จะอยู่ได้อีกกี่ปี ? ผู้เขียนเคยสำรวจความเห็นนี้จากเพื่อนๆที่เรียนปริญญาโทด้วยกัน มีความเห็นว่าอีก 5 ปี คำว่า KM อาจจะหายไปหรือเนียนไปกับเนื้องานประจำไปแล้ว อาจจะเกิดคำใหม่ขึ้นมาแทน แต่เนื้อหานั่นก็คือ KM นั่นเอง    

                  แล้วคุณล่ะ? ...คิดว่าชื่อใหม่นั้นจะกลายเป็นชื่ออะไร ? .....จะเหลือคำว่า KM ….ให้คิดถึงอีกหรือเปล่า ?......ลองช่วยกันคิดดูเล่นๆ.... 

 

หมายเลขบันทึก: 158617เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 00:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท