ทำไมต้องมีการจัดการความรู้


KM ธรรมชาติ มุมมองจากคุณเอื้อแห่ง มอดินแดง

กรณีศึกษา KM สร้างกัลยาณมิตร

 คุณเอื้อแห่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท รองอธิการบดีฝ่ายแผนและพัฒนาให้สัมภาษณ์ลงในประชาชาติธุรกิจ วันที่ ๓ มกราคม ๔๕๕๑

 ท่านอาจารย์สุรเชษฐ์ มั่งมีศรี อดีตรองอธิการบดี และ อดีตรอง ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ ส่ง Mail มาให้เรียนรู้ครับ

 เป็นกรณีศึกษา KM สร้างกัลยาณมิตร มุมมองจากคุณเอื้อแห่งมอดินแดง

P

 ทำไมต้องการจัดการความรู้ ?

จากคำถามเล็กๆ แต่มีเหตุผลมากมายเป็นคำตอบที่ทำให้หลายองค์กรต้องหันมาใส่ใจกับเรื่องนี้ สำหรับมหาวิทยาลัยขอนแก่น "รศ.รังสรรค์" มองถึงความจำเป็นในการจัดการความรู้ว่ามีเหตุปัจจัยมาจากหลายเรื่อง

1.ภาวะของการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่มีการแข่งกันมากขึ้นทุกวัน 2.กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม และเศรษฐกิจยุคใหม่ 3.ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี 4.ความรู้ที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก 2-3 ปีการเรียนรู้ที่เร็วกว่าจะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน รวมถึงสภาพแวดล้อมภายในองค์กรก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เช่น ความผิดพลาดซ้ำๆของผู้ปฏิบัติงาน ความรู้ที่ติดอยู่กับผู้เชี่ยวชาญ เมื่อลาออกทำให้องค์กรก็ขาดองค์ความรู้นั้นไปทันที หรือแม้กระทั่งองค์กรมี best practice แต่ไม่เคยใช้ เพราะบางครั้งก็ไม่รู้ว่า best practice ของตนคืออะไร

ที่สำคัญกว่านั้นอีกประการหนึ่ง คือ องค์กรมีความคิดริเริ่มซ้ำซ้อนหรือเรื่องเดียวกันตลอดเวลา

การนำเอา "ตัวชี้วัด" เข้ามาใช้ในหน่วยงานราชการดูเหมือนเป็นทางออกที่ดี แต่ในทางปฏิบัติแทนที่จะทำให้ประสิทธิภาพในทำงานดีขึ้นแต่กลับทำให้ดัชนีความสุขของข้าราชการลดลง เพราะทุกคนทำงานหนักมากขึ้น จึงไม่แน่ใจว่างานเป็นผลหรือเปล่า แต่สิ่งที่เห็นชัดๆ คือคนเป็นทุกข์ มีการส่งเอกสารจำนวนมาก ท่องอย่างเดียวคือกรอกให้ครบ เติมให้เต็ม โดยไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่ม สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้อีกด้านหนึ่งของการทำงานที่ขาดกระบวนการเรียนที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกัน

การจัดการความรู้ KM (knowledge management) คืออะไร ?

ในนิยามของ "รศ.รังสรรค์" เห็นว่าการจัดการความรู้ คือการดึงความรู้ที่มีอยู่ภายในออกมาใช้ ด้วยระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ที่เรียกว่า show and share ประสบการณ์ เพื่อให้ความรู้จากภายในออกสู่ภายนอก ใช้ระบบเปิด ระบบกัลยาณมิตร ระบบการปรึกษาหารือ

"การจัดการความรู้ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่มีวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้ นั่นคือองค์กรต้องจัดกระบวนการให้ผู้ปฏิบัติงานได้เล่าเรื่อง ปรับทุกข์ปรับสุข เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน โดยเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ 2 คนขึ้นไป"

ในระบบราชการไทยมีมิติที่เหมาะสำหรับการจัดการความรู้ เพราะมีการทำงานซ้ำในเรื่องเดียวกัน ดังนั้นจึงน่าจะมีกระบวนการในการนำแบบอย่างที่ดีมาแชร์กับเพื่อน ให้เพื่อนได้ดูแล้ว นำไปปรับให้เหมาะกับตัวเอง เพื่อที่จะไม่ต้องทำผิดซ้ำ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน แล้วกระบวนการความรู้ก็จะไหลเวียนจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง

"การเปิดโอกาสให้หน่วยงานราชการได้ติดต่อประสานกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี"

"รศ.รังสรรค์" ย้ำว่า ความรู้เพื่อการพัฒนาไม่ได้หยุดอยู่ที่ตัวองค์กร ความรู้บางเรื่องอยู่ที่ เจ้าหน้าที่ อยู่ที่หัวหน้า อยู่ที่หน้างาน สรุปง่ายๆ ความรู้เพื่อการพัฒนาอยู่ที่ "บุคลากร" ดังนั้นจึงต้อง show and share จึงจะเกิดประโยชน์

ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในช่วงแรกยอมรับว่าถูกบังคับให้ทำ หลังจากทดลองทำไป 1 ปีเต็ม ผลที่ออกมาเป็นลักษณะการทำงานในระบบสั่งการ ทำครบตามเอกสารทุกขั้นตอน แต่พอถามกลับไปว่าทุกคนได้ความรู้อะไรจากการทำงานบ้าง ทุกอย่างตกอยู่ในความเงียบ

ปีต่อมา อาจารย์จิตเจริญ ไชยาคำ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ จึงเสนอให้นำ KM มาใช้กับองค์กร เพราะเห็นว่าเป็นวิธีธรรมชาติใช้งบประมาณไม่มาก ใช้จิตใจที่เป็นสาธารณะในการทำงาน

เมื่อตั้งวัตถุประสงค์ว่าจะพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ ทุกคนต้องพัฒนาตัวเอง ทำงานแล้วเห็นผล เป็นสุข สร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน คนที่ไม่เคยคุยกันได้โอกาสคุย ผ่านกระบวนการเล่าเรื่อง การปรับทุกข์ปรับสุข โดยเอางานที่ทำเป็นเป้าหมายหลัก

เครื่องมือหลักในใช้ในการพัฒนาคนคือ "การพูด" และ "การฟัง"

เทคนิคง่ายๆ ในการจัดการองค์ความรู้ คือ การจัดงาน show and share นำเอาสิ่งที่ทุกคนทำมานั่งคุยกัน แลกเปลี่ยนเพื่อให้ทุกหน่วยงานได้ประโยชน์จากกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ให้ผู้น้อยเป็นฝ่ายเล่าเรื่องก่อน หัวหน้ามีหน้าที่ฟังอย่างเดียว

เมื่อผู้พูด พูดอย่างมิตร พูดด้วยความหวังดี พูดจากใจ ผู้ฟัง ย่อมฟังอย่างลึกซึ้งเข้าใจ ฟังด้วยความชื่นชมยินดี มีการจัดเก็บเป็นเอกสาร สร้าง Blog สร้างการเข้าถึง สร้างการตีความ การเรียนรู้ ให้วงจร show and share หมุนตลอดเวลา

หลังจากจัดการความรู้ภายในมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จ ก็เริ่มขยายวงสู่ภายนอก โดยมีมหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าร่วมเป็นเครือข่าย

"เราแลกเปลี่ยนตามบริบทจุดเด่นของตัวเอง ใช้วิธีการเล่าเรื่อง มีระบบบันทึก มี blog ที่เข้าไป show and share จัดกันมา 12 ครั้งคุยกันทุกเรื่องที่มาจากหน้างาน งานนี้ทำผิดพลาดเพราะอะไร ควรจะปรับปรุงอะไร หรืองานที่ทำดีอยู่แล้วอยากจะพัฒนาอะไรเพิ่มขึ้นไปอีก"

การจัดการความรู้เป็นระบบเปิด เป็นเรื่องที่ไม่ยาก เพียงแต่ไม่หวงความรู้ซึ่งกันและกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนเรียนรู้ เราก็เรียนรู้จากเพื่อน เพื่อนช่วยเพื่อน เราไม่คิดว่าเราทำดีที่สุด แต่เราจะหาสิ่งที่มาปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันเราก็พร้อมที่จะแชร์ความรู้กับเพื่อน สิ่งสำคัญผู้บริหารต้องให้กำลังใจลูกน้อง ต้องชื่นชมยินดี ผู้ปฏิบัติงานจึงจะมีพลัง

JJ2008

หมายเลขบันทึก: 157684เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2008 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

กัลยาณมิตรเกิดขึ้น ทุกอย่างก็เกิดตามมา ความรู้ น้ำจไมตรีที่มีให้กัน มากล้นจะบรรยาย จริงๆค่ะ ขอบคูณสิ่งดีๆนี้ค่ะ

เรียน ท่านพี่ใบบุญ เลขานุการคณะ ทันตะ ผู้เป็นกัลยาณมิตร คิดสร้างสรรค์ เป็นนักเรียนรู้ ชาวมอดินแดงที่น่ายกย่อง

  • ขอบพระคุณมากครับ
  • ที่เอามาให้อ่าน
  • ได้ประเด็นตอนเริ่มต้นงานของอาจารย์หมอ JJ ที่ขอนแก่น การพัฒนาองค์กรทั้งหมดครับ
  • ขอบคุณครับ
  • เรียน ท่านอาจารย์กามนิตที่นับถือ
  • ขอบพระคุณครับ
  • ก่อกำเนิด
  • เติบโต
  • พัฒนา
  • แล้วก็....
  • ชีวิต เป็นเช่นนั้นเอง ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ

  • ก่อกำเนิด
  • เติบโต
  • พัฒนา
  • แล้วก็....
  • ชีวิต เป็นเช่นนั้นเอง
  • แต่การทำงาน ถ้าเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ก็ดีนะค่ะ

    ขอบคุณครับอาจารย์

    ผมเห็นภาพหนึ่งจากผลของงานที่อาจารย์ได้นำเสนอ คือ ทีมต้องเข้าใจเป้าหมายและแนวทางของงานร่วมกันก่อน การทำงานจึงจะมีทิศทางที่ชัดเจนและมีความร่วมมือเกิดขึ้น

    ออกจากกรอบแคบๆ ของงาน มาทำงานอย่างมีความสุขและเห็นผลของงานให้ได้ครับ

    สวัสดีค่ะอาจารย์

    เป็นสมาชิกใหม่ของที่นี่

    ยังไม่รู้ว่าจะติดต่อกับคนอื่นอย่างไร

    และมีข้อมูลน่าสนใจจะเอามาลงได้อย่างไรรบกวนอาจารย์ช่วยสอนหน่อยแล้วกันนะคะ

    อีอย่างจะมาขอความรู้เรื่อง  KM  ว่าเป็นอย่างไร

    เลยลองเข้ามาหาข้อมูลดูค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    • ชอบข้อปิดท้ายมากครับ
    • การจัดการความรู้เป็นระบบเปิด เป็นเรื่องที่ไม่ยาก เพียงแต่ไม่หวงความรู้ซึ่งกันและกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนเรียนรู้ เราก็เรียนรู้จากเพื่อน เพื่อนช่วยเพื่อน เราไม่คิดว่าเราทำดีที่สุด แต่เราจะหาสิ่งที่มาปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันเราก็พร้อมที่จะแชร์ความรู้กับเพื่อน สิ่งสำคัญผู้บริหารต้องให้กำลังใจลูกน้อง ต้องชื่นชมยินดี ผู้ปฏิบัติงานจึงจะมีพลัง
    เรียน ท่านรองแป๋ว การทำงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องใช้พลัง กาย และ ใจ ทั้งรวบรวม สติ สมาธิ และ ความ มุ่งมั่น ครับ

    เรียนท่าน JJ

    ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่  เรื่องนี้ผมบรรยายที่ขอนแก่น  สาระสำคัญเกิดจากการสรุปของผู้สื่อข่าว  มิใช่การให้สัมภาษณ์โดยตรง  แต่สาระสำคัญครบถ้วน  เพียงแต่ขาดความสมบูรณ์ในเรื่องของการสร้างเครือข่าย UKM ที่ผมกล่าวถึง  ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์เป็นผู้ริเริ่ม  และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีส่วนร่วม  มข. ก็เป็นส่วนหนึ่งดังกล่าว  อาจยังกล่าวได้ไม่เต็มที่นักว่า  KM ในมข. ประสบความสำเร็จ  เพียงแต่เล่าว่ามาถูกทาง  และจะพัฒนาขยายผลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

    เรียน ท่านอาจารย์จิตเจริญ

    และขอสวัสดีปีใหม่ ท่านอาจารย์รังสรรค์ ย้อนหลังครับ

    ขอบคุณครับ สำหรับ Story Telling ซึ่งเป็น Bestpractice สำหรับการเรียนลัดครับ

    แต่คงต้องปรับใช้ตามสภาพ ข้อจำกัด ของแต่ละองค์กร

    อาจจะลดเวลาสำหรับการลองผิดลองถูกได้มากครับ

    ขอบคุณครับ

     

    เรียนท่านเอื้อรังสรรค์

    • เป็นสาระเรื่อง การจัดการความรู้ ของชาว UKM ที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ว่าชาว "มอดินแดง" ก็มีกิจกรรมเชิงพัฒนา ที่น่าเรียนรู้ครับ
    • ต้องขอบพระคุณครับที่ขยายความให้ทราบที่มาที่ไปกับพวกเรา
    เรียนท่าน Jack ท่านเอื้อรังสรรค์ ประสบการณ์สูงครับ มีเรื่องเล่า เคล้าปัญญา มากหลายครับ
    • สวัสดีปีใหม่สำหรับแจ๊ค  ขอให้มีความสุขสำหรับการทำงานที่น่าท้าทาย  ณ  มมส. 
    • เรียนท่าน JJ ขอขอบคุณ  และขอให้ท่านมีพลังในการขับเคลื่อน มมส.  มข.  และสังคมไทยต่อไป
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท