การผลิตโอ่งซีเมนต์


ภูมิปัญญาด้านอุตสหกรรม
การผลิตโอ่งซีเมนต์ 2. ที่ตั้ง  บ้านเลขที่  50/1   ต.อัมพวา  อ. อัมพวา  จ. สมุทรสงคราม 3. ประวัติความเป็นมา ในปัจจุบัน มีผู้ประกอบอาชีพหลากหลาย  แล้วแต่ความชำนาญและความรอบรู้ของแต่ละบุคคล  รวมทั้งการสืบทอดจากบรรพบุรุษ  ตลอดจนปัจจัยและสถานที่ประกอบอาชีพ  การลงทุน   ความสามารถในการผลิตและจำหน่าย  การมีแหล่งชุมชนและตลาดรองรับ  แต่มีอาชีพหนึ่งที่สามารถผลิตโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ส่วนในการปั้นโอ่ง   ข้าพเจ้าได้ไปสอบถามนายชวน  นุชพิทักษ์  อายุ 75 ปี   ภรรยาชื่อ นางล้วน  นุชพิทักษ์   อายุ  72  ปี   มีบุตร  7  คน   ซึ่งแต่ละคนปัจจุบันมีครอบครัวแล้วทุกคน   ลุงชวนเป็นคนปั้นโอ่งโดยได้รับความรู้  และภูมิปัญญามาจากพ่อซึ่งในอดีตเป็นคนปั้นโอ่ง   โอ่งซึ่งมีความจำเป็นต่อชุมชน  และบ้านเรือน  เพราะใช้ในการกักเก็บน้ำฝน  ไว้ใช้อุปโภคบริโภคในหน้าแล้ง  ซึ่งทุกบ้านในสมัยก่อนจะต้องมีใช้โอ่งใช้ทุกบ้าน  และครอบครัวในอดีตของลุงชวน  ก็เป็นคนปั้นโอ่งซีเมนต์ดังกล่าว 4. องค์ความรู้ของเรื่องที่ศึกษาวัสดุที่ใช้ในการผลิตโอ่งซีเมนต์   ประกอบด้วย  ทราย  ปูนซีเมนต์   ลวด  ดินเหนียว  แบบหรือรอง   วิธีการผลิต  โดยเริ่มจากการเตรียมแบบหรือรอง  ขนาดแล้วแต่ความต้องการของผู้สั่ง  หรือความนิยมในขณะนั้น  นำแบบหรือรองมาประกอบขึ้นเป็นรูปโอ่ง  บิดด้วยลวดให้แน่น  นำดินเหนียวมาพอกให้รอบรูปโอ่ง   ทิ้งไว้เพื่อให้ดินเหนียวแห้งพอหมาดๆ  หลังจากนั้นทำการผสมปูนซีเมนต์กับทรายที่เตรียมไว้แล้ว  นำไปพอกบนดินเหนียวที่ขึ้นรูปโอ่งไว้ให้จนได้ความหนาพอสมควรตามความต้องการแล้ว  พอปูนซีเมนต์แห้งหมาดๆ  ก็จะทำการขัดมันผิวนอกของโอ่งจนเรียบ  และดูสวยงามแล้วทิ้งไว้ให้ปูนแห้งสนิทสัก 5-7 วัน แล้วแต่ขนาด  ในส่วนการผลิตของลุงชวนสามารถผลิตโอ่งได้ประมาณวันละ 1-2 ใบ  ส่วนการทำฝาโอ่ง  มีแบบ   ใช้ปูนซีเมนต์ ผสมทรายแล้วเทลงแบบทิ้งไว้  จนแห้งและใช้การได้จึงนำออกจากแบบและนำไปจำหน่ายต่อไป  โอ่งซีเมนต์ของลุงชวน    สามารถจำหน่ายได้ในราคาใบละประมาณ 800 1,200 บาท  และฝาโอ่งจะอยู่ในราคา  80-100  บาท  แล้วแต่ขนาด5. การถถ่ายทอด / สืบทอด /เผยแพร่ รวมทั้งการจัดเก็บความรู้การจำหน่ายส่วนใหญ่ลูกค้า   หรือผู้ซื้อจะบอกกล่าวปากต่อปากกันไป  หรือผู้ที่เดินทางขับรถผ่านไปมา  เมื่อพบเห็นก็จะเข้าไปตามหา  และสั่งซื้อหรือสั่งทำต่อไป6. ลักษณะความรู้                        -  ความรู้ชัดแจ้ง  (Explicit  Knowledge)              ยังไม่มีการบันทึกข้อมูลในเอกสาร-  ความรู้โดยนัย   (Tacit knowledge)              เป็นความรู้ที่ได้มาจากความชำนาญในการช่วยพ่อ-แม่ ในสมัยเด็กจนถึงปัจจุบัน  7. การพัฒนา / สร้างสรรค์ ความรู้เพิ่มขึ้นการปั้นโอ่งซีเมนต์  มีการพัฒนาโดยการผลิตรูปต่างๆ ได้หลากหลายยิ่งขึ้น  มีลวดลาย ความคงทนถาวร  รูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น  ตลอดจนประโยชน์ของการใช้งาน  ในแต่ละสถานที่8. ผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้การปั้นโอ่งซีเมนต์  เป็นภูมิปัญญาและความรู้ ความสามารถของบุคคล  ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่  ย่า  ยาย  จนถึงลูกหลาน  มีการถ่ายทอดให้ความรู้กับบุคคลที่สนใจหรืออยากประกอบอาชีพด้านนี้  โดยการไปเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง  เพื่อให้เกิดความชำนาญ  และประสบการณ์  การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวทำให้เกิดความรู้ เทคนิคในการผลิตโอ่งซีเมนต์9. ปัญหาอุปสรรค

ในการปั้นโอ่งซีเมนต์  เนื่องจากโอ่งซีเมนต์ทำจากปูนจะมีน้ำหนักมาก  การขนย้ายไม่สะดวกเท่าที่ควร  ซึ่งอาจทำให้แตก  ชำรุด  เสียหายได้  เพราะในอดีตการส่งโอ่งซีเมนต์ส่วนใหญ่จะส่งทางแม่น้ำ  ลำคลอง  โดยการผูกเป็นแพลอยไปตามร่องน้ำ  ส่วนในปัจจุบันต้องใช้รถยนต์บรรทุก  ยิ่งอาจให้เกิดความเสียหายได้ง่าย 

นายทรงพล     สุวรรณ

4930123100289

หมายเลขบันทึก: 157068เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2008 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท