newwave1
หลักสูตร การพัฒนาผู้นำ คลื่นลูกใหม่ ของกรมส่งเสริมการเกษตร

เป็น อยู่ อย่างไรในที่ทำงาน


สัญชาติลิงยิ่งปีนขึ้นสู่ที่สูงไปเท่าไร คนก็รู้ว่าเป็นลิงมากขึ้นเท่านั้น
             สวัสดีปีใหม่...อ่านหนังสือเพื่อประเทืองปัญญา แล้วมาเล่าให้อ่าน เนื้อหาอาจทำให้รู้สึกว่าการต้อนรับปีใหม่ออกจะจริงจัง และเครียดไปหน่อย แต่ก็เห็นว่าทุกคนอยู่ในโลกแห่งการทำงาน การต่อสู้ ซึ่งในองค์กรหนึ่ง ๆ ต้องมีทั้งคนระดับผู้นำองค์กรหรือผู้บริหาร และผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง 
            
จะเป็นอย่างไรถ้าองค์กรหนึ่ง ๆ มีคนหลาย ๆ จริต มารวมตัวกัน และคงไม่ได้มารวมตัวกันอย่างราบรื่น จึงเป็นหน้าที่ของนักบริหารที่จะบริหารความขัดแย้งให้ได้เป็นความสำเร็จของงาน นักบริหารจึงต้องสามารถจูงใจคนเก่ง ให้ปรองดองกันและพร้อมใจกันทำงานให้บรรลุผลตามเป้าหมาย เข้าทำนองที่ว่า ผลัดกันดี ดีทุกคน ชิงกันดีไม่ดีสักคน คนไทยจะทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้น ถ้ามีนักบริหารที่ดีคอยกำกับดูแล เพราะอันที่จริงไม่มีลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาคนไหนที่จะตั้งตนเป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้บริหาร ไม่มีคนทำงานคนไหนจะอยากทะเลาะหรือเป็นศัตรูกับใคร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐหรือเอกชน แต่จะมีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้คนเรา เข้ากันไม่ได้ จำเป็นอีกเหมือนกันที่ผู้บริหารที่ต้องหาคำตอบ และหาทางแก้ไข
                
มณีแห่งปัญญา โดย พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต และศาสตราจารย์พิเศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต) กล่าวไว้ว่า หน้าที่ของนักบริหารมีอยู่ 5 ประการ
                
1) วางแผน (Planning) หมายถึง การกำหนดนโยบายและมาตรการอันเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
               
2) การจัดองค์การ (Organizing) คือ การกำหนดตำแหน่งสายบังคับบัญชาในองค์กร ว่ามีตำแหน่งอะไรบ้าง มีอำนาจอย่างไร ใครสั่งการใคร
               
3) การแต่งตั้งบุคลากร (Staffing) หมายถึง การสรรหาบุคลากรมาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่กำหนดไว้ตามหลักการใช้คนให้เหมาะกับงาน
             
4) การอำนวยการ (Directing) คือ กำกับสั่งการและมอบหมายให้แต่ละฝ่ายได้ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ 
              
5) การควบคุม (Controlling) คือ การติดตามดูว่าแต่ละฝ่ายปฏิบัติงานไปถึงไหน มีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นที่ใด และที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้ย่อหย่อนต่อหน้าที่ ละทิ้งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ 
คุณลักษณะของนักบริหาร นักบริหารจะทำหน้าที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ถ้ามีคุณลักษณะ 3 ประการ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทุติยปาปณิกสูตร คือ
           
1) จักขุมา (
Conceptual Skill) หมายถึง ต้องสามารถวางแผน และฉลาดการใช้คน เป็นความชำนาญในการใช้ความคิด
         
2) วิธูโร
(Technical Skill) หมายถึง จัดการธุระได้ดีมีความชำนาญเฉพาะด้าน
      
3) นิสสยสัมปันโน (
Human Relation Skill) หมายถึง พึ่งพาอาศัยคนอื่นได้เพราะเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี ดังที่ว่า นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน ขึ้นสู่ที่สูงไม่ได้
นักบริหารระดับสูง คุณลักษณะข้อที่ 1 และข้อที่ 3 สำคัญมาก ส่วนผู้บริหารระดับกลาง คุณลักษณะสำคัญทั้ง 3 ข้อสำคัญพอ ๆ กัน นั่นคือ ต้องมีความชำนาญเฉพาะด้านและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ในขณะเดียวกันเขาต้องมีปัญญาที่มองภาพกว้างไกล เพื่อเตรียมตัวสำหรับเป็นนักบริหารระดับสูง ซึ่งบางคนไม่พร้อมด้านสติปัญญา เมื่อขึ้นสูงก็ถูกนินทาว่า โง่แล้วยังขยัน เหมือน สัญชาติลิงยิ่งปีนขึ้นสู่ที่สูงไปเท่าไร คนก็รู้ว่าเป็นลิงมากขึ้นเท่านั้น สำหรับผู้บริหารระดับต้น คุณลักษณะข้อที่ 2 และที่ 3 สำคัญ แต่ต้องพัฒนาคุณลักษณะที่ 1 เพื่อเตรียมตัวขึ้นสู่ระดับกลาง
          
วิธีการบริหาร
          
แบบที่ 1 อัตตาธิปไตย หมายถึง การถือตนเองเป็นใหญ่ นักบริหารที่เป็นอัตตาธิปไตย ถือตนเองเป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจ เชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก และคิดว่าตัวเองฉลาดเกินใคร จึงไม่ฟังความคิดเห็นของใคร เป็นประเภทที่ ได้งาน แต่เสียคน
             
แบบที่ 2 โลกาธิปไตย หมายถึง การถือคนอื่นเป็นใหญ่ มีวิธีการทำงานที่ตรงข้ามกับประเภทแรก คือไม่มีจุดยืนของตัวเอง ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่สามารถติดสินใจอะไร ลูกน้องตีกันเอง เป็นประเภท ได้คนแต่เสียงาน
         
แบบที่ 3 ธรรมาธิปไตย หมายถึง การถือธรรมหรือหลักการเป็นสำคัญ ยึดความสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง เพื่อให้งานสำเร็จจึงยินดีรับฟังคำแนะนำจากทุกฝ่าย เป็นคนที่แยกงานออกจากความขัดแย้งส่วนตัว ยอมโง่เพื่อศึกษาความรู้  เป็นประเภทที่ ได้ทั้งคนและได้ทั้งงานดังที่ว่า        
โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยากฝากให้คิด
       ทางชีวิตจะรุ่งโรจน์โสตถิผล       ต้องรู้โง่รู้ฉลาดปราดเปรื่องตน      โง่สิบหนดีกว่าเบ่งเก่งเดี๋ยวเดียว
            
ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารองค์กร ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายองค์กรที่สำคัญ ตามความหมาย การบริหาร ที่หมายถึง ศิลปะแห่งการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่น คือใช้คนอื่นให้ทำงานให้สำเร็จ รู้เท่าทันคน เมื่อทุกคนทำงานในหน้าที่อย่างขยันขันแข็ง ก็มองดู ถึงคราวให้บำเหน็จรางวัลก็เฉลี่ยให้แก่ทุกคนอย่างถ้วนหน้า ถ้ามีการทะเลาะก็ห้ามและจัดการลงโทษตามความเหมาะสม และไม่นั่งดูลูกน้องทะเลาะกันแล้วเอาตัวรอดคนเดียว
           
อ่าน...ดู...ฟัง... แล้วย้อนดูตัว ในฐานะลูกน้อง ในฐานะเจ้านาย เป็นอย่างไร ??? ทัศนคติ บุคลิกภาพ การวางตน การรู้เท่าทัน รู้จักลูกน้องเพื่อนร่วมงาน การรู้งาน (รู้ตน รู้คน รู้งาน) เท่าทันหรือยัง              โดย จินตนาภร
หมายเลขบันทึก: 156847เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2008 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ปกติไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ เมื่อน้องเขียวนำมาเล่า เขียน ให้อ่าน ก่อนที่จะส่งต่อให้คนอื่น ก็ต้องอ่านก่อน ทำให้ได้คิด ได้ความรู้

ขอบคุณน้องเขียว ที่ยังคงรักษาระยะทางการเดินที่กำหนด และให้สัญญาไว้ เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าขาดการสานต่อในเรื่องของบันทึก ก็ให้รู้สึกคิดถึงน้องเขียวทันทีและเป็นห่วงด้วยหล่ะ 

ขอให้ทำต่อไป และพี่เหนก ก็จะติดตามและส่งต่อให้เพื่อนๆ เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานงานต่อไป

ขอบคุณมากครับ

 ขอบคุณมากครับ ที่เผยแพร่ขัอมูลดีๆให้เพื่อนสมาชิกรับทราบอยู่ตลอดเวลา  ข้อมูลดีแต่ดียิ่งกว่าคือการนำไปปฏิบัติเด้อ

ได้อ่านเรื่องดีๆ รับปีใหม่ จากน้องเขียวมิแปรเปลี่ยน เยี่ยมเลย

-สวัสดีปีใหม่ 2551ครับ newwawe 1 ทุกคน

-ขอให้น้องเขียวมีสุขภาพแข็งแรง ตลอดปี 2551 และตลอดไป

ขอบคุณ และสวัสดีปีใหม่ ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงปกป้องทุกคนที่ช่วยกันทำหน้าที่พลเมืองของชาติ ทุกๆ คน 

กรรณิการ์ (คนมีคลื่น)

เขียนได้ดี  เหมาะสำหรับทุกคนทั้งที่เป็นผู้บริหารทุกระดับ  และผู้

ที่ไม่ใช่ผู้บริหาร  เหมาะสำหรับคนทำงาน   แต่ยังติดใจ คำว่า  “โง่แล้วยังขยัน  ถ้าโง่แล้วไม่ขยัย  ไม่ยิ่งโง่ไปใหญ่หรือจ๊ะ  น้องเขียว

คนโง่ที่ขยันมากๆบางทีก็พาเสียเรื่องนะพี่คนมีคลื่น

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท