ความจำ - ความรู้ สับสน?


 

รูป"วงจรนิวโรน" นี้ เคยเสนอมาแล้วในบันทึกครั้งก่อน  แต่คราวนี้ได้นำมาใช้เพื่ออธิบาย "ความรู้" ของคน  สมมุติว่า เด็กอายุ ๓ ขวบคนหนึ่งไม่เคยเห็นเต่า  และไม่เคยได้ยินคำว่า "เต่า" มาก่อนเลยเช่นกัน นิวโรน กลุ่มนี้มีอยู่ก่อนแล้ว  แต่ยัง"ไม่เคยตอบสนอง"ต่อเต่าตัวนั้นมาก่อน 

แต่ ณ บัดนี้ "เต่าตัวนั้น ได้มาคลานอยู่ตรงหน้าของเขา"แล้ว(เป็นเหตุการณ์ ในโลกจริงภายนอกกะโหลกศีรษะของเขา)   

และสมมุติว่านิว โรนกลุ่มนี้"ตอบสนอง"ต่อเต่าตัวนั้น จึง"เกิดวงจรนิวโรน" ที่"เข้าคู่"กับเต่านั้น  นั่นคือ "เกิดกระแสประสาทหรือคลื่นกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรนิวโรน"   และทำให้เกิด "สนามแม่เหล็กไฟฟ้า"ขึ้นด้วย (เหตุการณ์นี้เกิดภายในกะโหลกศีรษะของเขา แต่เป็นเหตุการณ์ทางกาย)

ในขณะเดียวกันก็ "เกิดการรู้สึก"เห็นเต่า!(เกิดภายในกะโหลกศีรษะเหมือนกัน  แต่เป็นเหตุการณ์ทางจิต)

ถ้าต่อมาเต่าตัวนั้นได้หายไปจากสนามสัมผัสของเด็กคนนั้น เพราะมีคนเอาไป และ "นับจากวินาทีนั้นเป็นต้นไป" ถ้า"วงจรนิวโรนนั้น"ยังคงแสดงกิจกรรมอยู่" สมมุติว่า๑๐ วินาที  และขณะเดียวกัน "การรู้สึกว่ายังเห็นภาพเต่าอยู่ตลอดเวลา ๑๐ วินาทีนั้น"  ก็เรียกว่า "ความจำ" หรือ Memory

ความจำนี้ก็คือ "ความรู้" หรือ Knowledge

ถ้าสามวันต่อมาเราเอาเต่าตัวนั้นมาให้แกดูอีกครั้ง  แกวิ่งไปหาพร้อมกับพูดว่า "เต่า" ก็เรียกว่า เขา "จำแบบรู้จัก"ได้

และความจำนี้ก็คือ "ความรู้" เหมือนกัน

ดังนั้น  ความจำกับความรู้ในแง่นี้ก็คือ สิ่งเดียวกัน  ต่างแต่ว่า ความจำจะเกี่ยวข้องกับระยะเวลาและการระลึกได้  หรือ รู้จัก  หรือ ชี้ได้  แต่ความรู้ไม่ได้ผูกมัดอยู่กับเวลาที่ตอบสนองได้  นอกนี้ ความรู้ยังมีความหมายกว้างกว่ามาก  เช่น เรามักจะพูดเกี่ยวกับว่า - เขามีความรู้เกี่ยวกับการว่ายน้ำ -  คือการว่ายน้ำเป็น เป็นต้น

ถ้าเช่นนั้น ในสมองของเราก็จะต้องมี "วงจรนิวโรน" นับเป็น ล้านๆๆ เลยทีเดียว !! แต่ละวงจรก็ "เข้าคู่" กับ "สิ่งนั้นๆ"

แต่เอ -- คนที่รู้มากๆ จะฉลาดด้วยหรือเปล่าน้อ?!!

คำสำคัญ (Tags): #knowledge memory
หมายเลขบันทึก: 156761เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2007 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณ Mr.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์    ขอให้มีควาสุขตลอดปีใหม่นะครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

สวัสดีปีใหม่ทุกท่านครับ

 

สำหรับผม ผมว่า การที่เราสามารถจดจำอะไรได้มากๆ และรู้มากๆ ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นคนฉลาดครับ สำหรับผม คนที่ฉลาดคือ คนที่มีประสิทธิภาพในการทำงานของสมองที่ดี  ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ความจำ

ผมว่าคนที่ฉลาดคงต้องประกอบไปด้วย

รู้-จำ, เข้าใจ, นำไปใช้,วิเคราะห์, สังเคราะห์ และ ประเมินผล

โดยองค์ประกอบหลักๆ ของคำฉลาด ในความคิดผม เขาจะต้องมีด้าน วิเคราะห์, สังเคราะห์ และ ประเมินผล อย่างมากๆ ด้วยครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

เห็นด้วยกับคุณ kafaak คัรบ  กระทรวงศึกษาธิการก็น่ารัก  เพราะเขาบังคับไว้ในจุดประสงค์ของหลักสูตรทั้งระดับประถม  และมัธยม ให้ครูทุกคนต้องสอนและพัฒนาความสามารถที่คุณว่านั้นครับ

แต่ถ้าใครไม่สอน ก็"ไม่ถูกตำรวจจับ !!"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท