จิตตปัญญาเวชศึกษา 46: หัวใจหมอ หัวใจคนไข้ หัวใจคน


หัวใจหมอ หัวใจคนไข้ หัวใจคน

เมื่อเร็วๆนี้ ผมเขียนบทความเรื่อง "หัวใจมนุษย์ หัวใจหมอ " ไป ก็มีคนเล่าเรื่องราวหลากหลายให้ฟัง ทั้งเล่า ทั้งเขียน สนทนา จากรุ่นพี่ รุ่นน้อง รุ่นลุง รุ่นอา จนจำไม่ได้ว่าอะไรเกิดขึ้นที่ไหน มีเรืีองน่าสนใจเรื่องนึง คิดว่าช่วยขยายความได้ เลยขออนุญาตคนเล่าเอามาลง ลองอ่านแล้ว ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง มองจากมุมหลายๆมุมดูนะครับ เดินวนเวียนรอบๆเหมือนเรืองนี้วางอยู่บนพื้น และเรากำลังพยายามเห็นจากทุกแง่ ทุกมุม

 หมอ1: เรื่องมีอยู่ว่า มีคนไข้มะเร็งปอด อยู่ก็หายใจหอบมาที่ ER พยาบาลรายงานผม ฟังปอดมีเสียง wheezing อยู่ (หลอดลมตีบ) ก็รักษาตามอาการ
  ถามดูก็บอกว่ารักษาที่รพ.น้อง ญาติที่พามาอายุ 13 ปี ผมก็คิดว่า เอ...ญาติจะเอาไงประวัติที่เราก็ไม่มี
  ก็เลยจะ refer แพทย์ทางโน้นก็ขอพูดด้วย
"คนไข้ นี้ รักษามะเร็งแบบไหนครับ แบบ palliative หรือ curative"
"เอ อันนี้ผมก็ไม่ทราบนะครับ คนไข้ไม่ได้บอก"
  "คืออย่างนี้นะครับ ถ้าเป็นcurative นี่ เราจะนัดมา chemo เป็นระยะ ถ้าเป็นpalliative นี่เราจะไม่นัดมาเลยครับ
ตกลงคนไข้นี่ นัดแบบไหนครับ ได้มีนัดกับ รพ.ผมหรือเปล่า"
  "ฮึๆๆ คนไข้คงพูดอะไรไม่ค่อยได้นะ หอบอยู่ ผมคิดว่า ที่ รพ.น้อง น่าจะมีรายละเอียดมากกว่าผมมั้ง เพราะรักษาเองนี่ "

 
 "ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ถ้าเป็น curative นี่ผมรับเลยไม่ว่าจะเตียงมีไม่มี แต่ตอนนี้เตียงมันเต็ม ถ้าเป็นpalliative นี่ เราคงไม่ทำอะไรให้นอน เตียงแทรก และต่อออกซิเจนเท่านั้น"
  "เออน้องถ้าอย่างนี้ยิ่งยุ่งเลยนะครับ เพราะ เกิดผมให้นอนที่รพ.ผม เพราะคิดว่าเป็นpalliative แต่พอค้นประวัติทีหลังเป็น curative ผมมิโดนฟ้องป่นปี้หรือครับ"

"แหมพี่ก็ที่นี้มันเต็มนะครับ เอา ยังไงพี่ เอกซ์เรย์ดูเผื่อมีอะไร emergency เช่น pneumothorax อะไรจะได้ดูกัน"
  "อย่างนี้พี่จะเอกซ์เรย์ดูถ้าไม่มี Emergency conditionพี่จะส่งไปนะ ขอบคุณมากนะน้องนะ "
"เออ...อา"
  "แล้วพี่จะส่งไปนะสวัสดีครับ"
 
palliative="ตายแหงๆ เพราะฉะนั้นตายที่ไหนก็ไม่ต่างกัน" หรือเปล่า อาเมน จบครับ

disclaimer: all persons in this story could probably be found anywhere and nobody should take it as his/her own story without permission!! 

ผมคิดว่า แต่ละฝ่ายก็มีเหตุผล และมีมุมมอง และวินิจพิจารณญาณว่า แบบใดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้ และรวมทั้งคนไข้เอง และญาติเอง ที่จะมีมุมมองอิสระ จากกัน

ผู้ป่วย palliative care หรือที่มีคนเรียกว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น (ส่วนตัวผมคิดว่าคำนี้ก็ไม่ค่อยตรงกับความรู้สึก แต่ยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่าอยากจะใช้คำว่าอะไร) มีความเป็นเอกลักษณ์คือ เนื่องจากตัวโรคที่เป็นดำเนินมาถึงจุดที่ไม่สามารถจะหายขาดได้แล้ว แนวทางรักษาจะเน้นที่ประคับประคองอาการ และวัตถุประสงค์ก็คือ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด ทำให้แผนการรักษาก็มีการปรับเปลี่ยนตามบริบทด้วย คงจะไม่ได้เป็นกฏตายตัวเสียทีเดียวที่หมอจะบอกว่า คนไข้ระยะนี้ไม่ต้องนัด แต่สาเหตุที่อาจจะไม่นัด หรือนัดห่างๆมาก ก็เพราะว่า ส่วนใหญ่คนไข้เองต้องการอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวมากกว่า แต่เมื่อมีอาการมากๆ หรือ ภาวะแทรกซ้อน ก็ต้องมาหาหมอ มาพึ่งหมอ ที่ รพ.อยู่ดี

การที่หมอ รพ.ไหนๆก็ตาม เริ่มคิดส่วนที่เป็นเรื่องการบริหารจัดการ ก็จะเริ่มมีความเสี่ยงในการต้องตัดสินใจยากๆ และเลือกหนทางที่ดีที่สุดแต่ไม่ชัดอย่างที่เราอยากจะเห็น ความเสี่ยงที่น่ากลัวประการหนึ่งก็คือ เมื่อเอา attitude accountant มาสอดแทรกใน clinical judgment ตรงนี้ที่ปรัชญาการเป็นแพทย์อาจจะสั่นสะเทือน

ในการพูดเรื่อง medical professionalism นั้น ข้อหนึ่งคือ Primary Welfare of the patients คือประโยชน์สูงสุดตกอยู่ทีคนไข้ และมีคำขยายก็คือ principle ข้อนี้ จะ "ต้องไม่ถูกลดความสำคัญ" เนื่องมาจาก marketing pressure, exigency of administration หรือแรงกดดัน แต่บางครั้ง ด้วย resource ที่มีจำกัด การหลีกเลี่ยง "จัดลำดับความสำคัญ" เพื่อบริหาร resource เหล่านี้ก็ผุดออกมาท้าทายการทำงานของหมอ

ทั้งคนที่จะส่งต่อ และคนรับส่งต่อ

ทั้งสองฝ่าย จะทำเพื่อ "คนไข้คนเดียวกัน" แต่ด้วยวิธีที่ต่างกันเป็นตรงกันข้ามได้หรือไม่? 

อะไรคือ "ความทุกข์ของคนไข้"

อะไรคือ "ความทุกข์ของหมอ ที่จะส่ง refer คนไข้?

อะไรคือ "ความทุกข์ของหมอ ที่จะรับ refer?

และสุดท้าย หลังการตัดสินใจ หลังการกระทำ แต่ละคนจะเป็นยังไง? จะกลายเป็นคนอย่างไร? จะกลายเป็นหมออย่างไร? คนไข้และญาติ จะเป็นอย่างไรต่อ?

ประเด็นว่าหลังจาก episode นี้ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง อย่างไร ก็น่าศึกษา ค้นคว้า ภาวนา ดูอย่างยิ่งทีเดียว 

 

หมายเลขบันทึก: 155928เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2007 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้อ่านบทความนี้แล้ว รู้สึกสะท้อนใจ เพราะในชีวิตจริงตัวเองก็พบเจอเหตุการณ์นี้บ่อยๆ เพียงแค่ คนหนึ่งคน มีบทบาทหนึ่งบทบาท แต่ก็สามารถพิพากษาคนอีกคน ให้มีชีวิตอยู่ด้วยการรักษาอย่างต่อเต็มที่ หรือแค่ให้รอคอยเวลา... อยากให้มองกลับกันว่า...หากคน คนนั้นเป็นตัวเอง เป็นคนที่เขารัก แล้วการตัดสินใจนี้ จะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า ในวันนี้คน..ยังมีหัวใจของความเป็นคน...หรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท