ความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงดูของครอบครัว ต่อการเรียนรู้ของเด็ก


ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ และจิตใจที่มั่นคงและต่อเนื่อง ระหว่างผู้ปกครองและ เยาวชน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของผู้ปกครองว่า เด็กๆ จะทำอย่างดีที่สุด ความใส่ใจที่จะดูแล ให้เด็กใช้ภาษาอย่างถูกต้องและได้ผล การติดตามว่าลูกคบกับใคร การกำกับ ซึ่งจะทำให้เด็กๆ มีภูมิต้านทานต่อความเครียดและแรงกดดันภายนอกบ้าน มีความรู้สึกที่ดีต่อโรงเรียนและ การเรียนรู้
ความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงดูของครอบครัว ต่อการเรียนรู้ของเด็ก

แปลจากเอกสารของ International Bureau of Education

1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและนักเรียน การพูดคุยกันในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แม้ทุกครอบครัวจะทำอยู่บ้างแล้ว แต่ปริมาณและคุณภาพจะต่างกัน พื้นฐานการพูดคุยควรเป็นเชิงบวก เกื้อหนุนให้กำลังใจกัน การแลกเปลี่ยนเป็นไปทั้งสองฝ่าย ที่จะรับฟังซึ่งกันและกัน ทั้งมีการจัดเวลาเพื่อให้มีโอกาส พูดคุยกัน เช่น เวลารับประทานอาหารร่วมกัน

ครอบครัวที่ไม่มีเวลามากพอที่จะพูดคุยกันทุกวัน หากเพียงแต่จัดเวลาเพียงวันละ 2-3 นาที รับฟังลูกๆ คุยถึงเรื่องราวที่ได้ประสบพบเห็นในวันนั้น โดยไม่มีคนอื่นสิ่งอื่นมารบกวน ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าและยิ่งไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครอบครัวอื่นๆ ก็จะทวีคุณค่า มากขึ้น

2. ชีวิตประจำวันของเด็กๆ

เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีหากผู้ปกครองกำหนดกรอบกติกาที่ชัดเจนและมั่นคงในชีวิต ในการส่งเสริมให้เด็กได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ และมีประสบการณ์เรียนรู้ที่มีคุณค่า

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ชีวิตประจำวันของครอบครัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและ ผู้ปกครอง งานอดิเรกและสันทนาการที่ครอบครัวทำร่วมกัน ล้วนเสริมสร้างความพร้อมสำหรับ การเรียนรู้ที่ดี

3. ความคาดหวังและการกำกับดูแลโดยครอบครัว ครอบครัวยังช่วยกระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กทดลอง สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยแนะนำในเรื่องการเรียนรู้ในโรงเรียน ติดตาม ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญ ปลูกฝังค่านิยมว่า ผลงานเกิดจากการทำงานอย่างมุ่งมั่น มากกว่าจากโชคชะตา หรือการเล่นเส้น

ผู้ปกครองอาจช่วยลูกๆ จัดระบบในชีวิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ให้วางแผนหลังเลิกเรียนว่า จะทำอะไร อ่านอะไร เล่นกับใคร ดูรายการทีวีอะไร การวิเคราะห์กำหนดการในลักษณะนี้ จะช่วยชี้ ให้เห็นว่า ครอบครัวให้ความสำคัญแก่เรื่องใด เด็กๆ ควรมีเวลาอย่างน้อยวันละ 10 นาที ที่จะอ่าน หนังสือ และเมื่อใดที่เด็กดูโทรทัศน์มากกว่าวันละ 90 นาที ต้องถือว่าเวลาถูกปล้นไปจากกิจกรรม เรียนรู้อื่นๆ ที่เกิดประโยชน์

อย่าลืมว่าเด็กๆ ต้องมีเวลาสำหรับความสนุกสนานเพลิดเพลินบ้าง แต่การเรียนรู้ก็ต้องมา เป็นลำดับแรก

กฎหลักที่สำคัญที่สุดของผู้ปกครอง คือ การรู้ว่า ลูกอยู่ที่ไหน ทำอะไร และอยู่กับใคร

4. การบ้าน งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การให้การบ้านแก่เด็กอย่างเหมาะสม จะเพิ่มผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้ของเด็กถึง 3 เท่า จากพื้นเดิมทางเศรษฐกิจและสังคมของเด็ก การบ้านจะช่วยเพิ่ม การเรียนรู้ข้อมูล กระตุ้นการคิดวิเคราะห์ สร้างลักษณะนิสัยที่ดี และช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อนให้ตามทัน

5. การสื่อสารระหว่างบ้านและโรงเรียน เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าผู้ปกครองและครูเข้าใจกัน และติดต่อสัมพันธ์กันใกล้ชิด ในเรื่องนิสัยการเรียนรู้ของเด็ก เจตคติต่อโรงเรียน ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อนๆ

6. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนพึงตระหนักว่า ผู้ปกครองอาจไม่มีเวลาที่จะมีส่วนร่วมในทุกเรื่อง ฉะนั้น ต้องกลั่นกรองว่า จะให้ความสำคัญแก่เรื่องใด ทั้งนี้ ควรสนับสนุนบทบาทของผู้ปกครองในการ ส่งเสริมการเรียนการสอนในครอบครัวมากกว่าที่โรงเรียน

7. การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง
งานวิจัยพบว่า การอบรมที่ช่วยให้ความรู้แก่แม่ ในการพัฒนาสติปัญญาของเด็กที่บ้าน จะส่งผลโดยตรงต่อ การเรียนรู้ ในโรงเรียน
อ้างอิงจาก http://www2.obec.go.th/kasama/images/International%20Bureau%20Of%20Education.pdf
นำมาฝากเผื่อเป็นประโยชน์กับท่านผู้ปกครองทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 155745เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2007 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่นำมาเผยแพร่ค่ะ

ไม่ได้อ่านความเคลื่อนไหวทางการศึกษาจากท่านนานแล้ว ท่านคงยุ่ง เป็นไงครับการสอบเข้าสู่ตำแหน่ง

สวัสดีครับ คุณนางฟ้าบ้านไพร 
คุณพรชัยP

ขอบคุณครับที่เข้ามาทักทาย
ช่วงนี้เป็นช่วง SP2
การสอบเข้าสู่ตำแหน่งรอ ภาค ข และ ค
อยู่ครับ

 

สวัสดีดีค้า สบายดีนะคะ แวะมาทักทายและขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ

หวัดดีคะ เนื้อหาดีมีสาระ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท