คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกำกับ


          ถัดลงมาจากสภามหาวิทยาลัย กลไกในการบริหารงานมหาวิทยาลัย ใน พ.ร.บ. มน. มีการกำหนดไว้ว่าให้เป็น "คณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัย"  ที่ประกอบด้วยใครบ้าง?  และมีอำนาจหน้าที่อะไร?  ซึ่งต่างกับ  พ.ร.บ. ม. มหิดล ที่ไม่มีกรรมการชุดนี้

   

พ.ร.บ. มน. 

พ.ร.บ. มหิดล 

หมวด ๒
การดำเนินการ
มาตรา ๒๑ 

  ให้มีคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยประกอบด้วย
  (๑) ประธานกรรมการ ได้แก่ อธิการบดี
  (๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รองอธิการบดี ผู้ดำรงตำแหน่งที่เทียบเท่ารองอธิการบดี และประธานสภาอาจารย์ และประธานสภาเจ้าหน้าที่
  (๓) กรรมการซึ่งสรรหาจากคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยจากคณะ จำนวนไม่เกินสามคน
  (๔) กรรมการซึ่งสรรหาจากพนักงานสายบริการ จำนวนหนึ่งคน
  (๕) กรรมการจากตัวแทนนิสิตโดยตำแหน่ง ได้แก่ ประธานสภานิสิตและนายกองค์การนิสิต จำนวนสองคน
  ให้อธิการบดีแต่งตั้งรองอธิการบดีคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัย

 -
  มาตรา ๒๒

    คณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
  (๑) พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารกิจการของมหาวิทยาลัยต่ออธิการบดี
  (๒) พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
  (๓) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบริหารการเงิน การคลัง การพัสดุ และทรัพย์สินอื่นของมหาวิทยาลัยต่ออธิการบดี
  (๔) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษา การเปิดสอน และการวัดผลการศึกษา เพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
  (๕) เสนอการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรดุษฎีบัณฑิต ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตรต่อสภามหาวิทยาลัย
  (๖) เสนอการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกส่วนงานตามมาตรา ๘ รวมทั้งเสนอการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงานดังกล่าวต่อสภามหาวิทยาลัย
  (๗) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการรับเข้าสมทบหรือการยกเลิกการสมทบของสถานศึกษาชั้นสูงและสถาบันวิจัยอื่นเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
  (๘) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งและถอดถอนศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ
ต่อสภามหาวิทยาลัยพิจารณา
  (๙) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งและถอดถอนหัวหน้าหน่วยงานภายในของส่วนงานตามมาตรา ๘
  (๑๐) จัดหาวิธีการอันจะทำให้การศึกษา การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม การริเริ่ม การปรับแปลง การถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ เพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
  (๑๑) พิจารณาให้ความเห็นแก่สภามหาวิทยาลัยในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารของมหาวิทยาลัย
  (๑๒) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัย
  (๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมาย

 -
  มาตรา ๒๓ 

    การประชุมและการดำเนินการของสภามหาวิทยาลัยและคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย  

 -

ข้อสังเกต

  1. คณะกรรมการชุดนี้ ใน พ.ร.บ. มน. ดูก็คล้ายกับ คณะกรรมการประจำคณะ แต่เปิดกว้างแก่บุคลากรที่ไม่ใช่ผู้บริหารด้วย  คือ ตัวแทนอาจารย์ 3 ตัวแทนเจ้าหน้าที่ 1  และตัวแทนนิสิต 2  ซึ่งดิฉันรู้สึกทึ่งและชื่นชมมากมากที่ใจกว้างถึงขนาดนี้
  2. ในเรื่องอำนาจหน้าที่  ดิฉันค่อนข้างสับสน ตรงที่ไม่ทราบจะเอาหลักเกณฑ์ไหนมาจับว่า  เรื่องไหนกรรมการประจำมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติหรือเห็นชอบได้เลย?    เรื่องไหนต้องนำมติไปเข้าสภาฯพิจารณาอีกรอบหนึ่ง?

 

หมายเลขบันทึก: 155564เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2007 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท