หน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยใน พ.ร.บ.มน.....ที่ยังขาดหาย


ต่อจาก เรื่องวาระในการดำรงตำแหน่งและการพ้นวาระของกรรมการสภามหาวิทยาลัย คราวนี้ก็มาถึงเรื่อง อำนาจที่สภาฯได้รับกับหน้าที่ที่ต้องแลกให้สมกัน...

 

พ.ร.บ. มน. 

 

พ.ร.บ. มหิดล 

มาตรา ๒๐

  สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

มาตรา ๒๔   สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย อํานาจและหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
    (๑) วางนโยบาย และอนุมัติแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๗     (๑) กําหนดเป้าหมาย วางนโยบาย และแนวทางในการพัฒนาของมหาวิทยาลัย
    (๒) ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย  และอาจมอบหมายให้ส่วนงานใดในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศสำหรับส่วนงานนั้นเป็นเรื่องๆ ไปก็ได้      (๒) ออกข้อบังคับและประกาศของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย และอาจมอบหมายให้ ส่วนงานใดในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อบังคับและประกาศสําหรับส่วนงานนั้นเป็นเรื่องๆ ไปก็ได้ 
    (๓) อนุมัติการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรดุษฎีบัณฑิต ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตร รวมทั้งอนุมัติการให้ปริญญากิตติมศักดิ์     
        (๓) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย
  การออกข้อบังคับตาม (๓) ต้องเป็นไปเพื่อความเป็นธรรม สร้างขวัญและกําลังใจโดยได้รับฟังความคิดเห็นของพนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยประกอบด้วย  
        (๔) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานการเงิน การพัสดุและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย 
        (๕) อนุมัติแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย 
    (๔) อนุมัติการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกส่วนงานตามมาตรา ๘ รวมทั้งการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงานดังกล่าว     (๖) อนุมัติการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกส่วนงานตามมาตรา ๑๐ รวมทั้งการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงานดังกล่าว  
    (๕) อนุมัติการรับเข้าสมทบ การจัดการศึกษาร่วม หรือการยกเลิกการสมทบ การยกเลิกการจัดการศึกษาร่วม ของสถานศึกษาชั้นสูงและสถาบันวิจัยอื่น       (๗) อนุมัติการรับเข้าสมทบและการยกเลิกการสมทบของสถานศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันอื่น
        (๘) อนุมัติการจัดการศึกษาและการยกเลิกการจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันอื่น 
    (๖) อนุมัติหลักสูตรการศึกษาและการเปิดสอน รวมทั้งการปรับปรุง การยุบรวมหรือการยกเลิกหลักสูตรการศึกษา       (๙) อนุมัติการเปิดสอนและหลักสูตรการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุง การยุบรวม และการยกเลิกหลักสูตรการศึกษา  
        (๑๐) อนุมัติการให้ปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร ทั้งของมหาวิทยาลัย และที่มหาวิทยาลัยจัดการศึกษารวมกับสถานศึกษาชั้นสูงอื่น รวมทั้งอนุมัติการให้ปริญญากิตติมศักดิ์ 
    (๗) พิจารณาดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งและพิจารณาถอดถอนนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดี ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ      (๑๑) พิจารณาสรรหา และดําเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งและถอดถอนนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และอธิการบดี 
        (๑๒) พิจารณาดําเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งและถอดถอนศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ 
        (๑๓) แต่งตั้งและถอดถอนศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ และผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๕๖ วรรคสาม 
       
     

ตามมาตรา ๕๖ วรรคสาม   กล่าวไว้ดังนี้

    สภามหาวิทยาลัยอาจกําหนดให้มีตําแหน่งทางวิชาการที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วยก็ได้ โดยทําเป็นประกาศของมหาวิทยาลัยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    (๘) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการบดี ผู้ดำรงตำแหน่งที่เทียบเท่ารองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ        (๑๔) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการบดี คณบดี ผู้อํานวยการ และหัวหน้าส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น 
    (๙) แต่งตั้งและถอดถอนประธานกรรมการและกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย     
    (๑๐) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย   
 
    (๑๑) กำหนดนโยบายและวิธีการเกี่ยวกับการจัดหารายได้ และการจัดตั้งองค์กรที่เป็นนิติบุคคล      (๑๕) วางนโยบายและกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดหารายได้ การจัดหาผลประโยชน์ และการลงทุน 
    (๑๒) ออกข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับการบริหารการเงิน การคลัง การพัสดุและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย     
    (๑๓) อนุมัติการตั้งงบประมาณรายรับ และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัย      (๑๖) อนุมัติการตั้งงบประมาณรายรับ และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัย 
        (๑๗) ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของอธิการบดีและหัวหน้าส่วนงานต่าง ๆ 
        (๑๘) รับรองรายงานประจําปีของมหาวิทยาลัย และเสนอรายงานนั้นต่อรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ
        (๑๙) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจํามหาวิทยาลัย คณะกรรมการตรวจสอบการบริหารงานประจํามหาวิทยาลัย คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทําการใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลั ย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กําหนดในข้อบังคับองมหาวิทยาลัย
     (๑๔) แต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ ให้รักษาการแทนอธิการบดี ในกรณีที่ตำแหน่งอธิการบดีว่างลง     
    (๑๕) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย     
    (๑๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัย ที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ       (๒๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัย ที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉหรือส่วนงานใดโดยเฉพาะ  
    มาตรา ๒๕  การประชุมและวิธีดําเนินงานของสภามหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 

ข้อสังเกต

  1. หน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยใน (๑) เป็นข้อที่ดิฉันเห็นว่าสำคัญที่สุด  และ พ.ร.บ. มหิดล กำหนดได้ครอบคลุม สมกับเป็นสภามหาวิทยาลัยจริงๆ  คือสภาฯ จะต้องกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วย ไม่เพียงประทับตรารับรองตุ๊กตาที่ปั้นมาให้สำเร็จรูป
  2. การบริหารงานบุคคล ก็นับเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนกว่าเรื่องอื่นๆ  และเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก  พ.ร.บ.มหิดล จึง กำกับ (๓) ไว้อีกประโยคหนึ่งว่า  การออกข้อบังคับตาม (๓) ต้องเป็นไปเพื่อความเป็นธรรม สร้างขวัญและกําลังใจโดยได้รับฟังความคิดเห็นของพนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยประกอบด้วย ย้ำบ่อยๆ ก็ดีนะคะ  จะได้ไม่ลืม เวลาจะบริหารคน
  3. (๑๗)  ใน พ.ร.บ. มหิดล  เป็นหน้าที่ของสภาฯ ที่ถูกใจถูกคอคน QA อย่างดิฉันมากอีกเช่นกัน  เพราะที่ผ่านมา  ไม่มีหนูตัวไหนอยากเอากระพรวนไปผูกคอแมว  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาในเรื่องประเมินผู้บริหารระดับสูง  เมื่อหน้าที่นี้ตกอยู่กับสภาฯ ก็เป็นอันสิ้นเรื่อง หนีไม่รอดแน่แล้ว แต่....พ.ร.บ. มน. ไม่ได้ กำหนดไว้
  4. (๑๘) ใน พ.ร.บ. มหิดล  ก็สุดยอด  ที่กำหนดให้ สภาฯ ต้องรับรองรายงานประจําปีของมหาวิทยาลัย และเสนอรายงานนั้นต่อรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ : เพราะรายงานประจำปีของมหาวิทยาลัย ก็คือรายงานผลการประเมินตนเอง/ตรวจสอบระดับมหาวิทยาลัย (SAR/CAR/YAR) ประจำปี ที่ชาว มน. คุ้นเคยกันดีนั่นเอง 
              ต่อไปทั้ง สกอ.  สมศ. และ กพร. ก็จะจับมือกัน รับรองรายงานประจำปีแบบนี้ว่าเป็นแบบมาตรฐานที่ยอมรับได้  ไม่ต้องทำหลายเล่ม  หลายรูปแบบ  หรือทำในลักษณะ Promote สร้างภาพมาส่ง  แล้วยิ่งมีการกำหนดให้ส่งรัฐมนตรีด้วยนั้น  ก็เท่ากับเป็นการแสดงความรับผิด-รับชอบในหน้าที่ของสภาฯ อย่างแท้จริง  (ข้อนี้ พ.ร.บ. มน. ก็ไม่มี)
  5. คณะกรรมการต่างๆ ที่กำหนดให้สภาฯ มีหน้าที่แต่งตั้งใน (๑๙) ของ พ.ร.บ. มหิดล  เช่น คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจํามหาวิทยาลัย คณะกรรมการตรวจสอบการบริหารงานประจํามหาวิทยาลัย ฯลฯ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้สภาฯ เป็นผู้แต่งตั้ง  เพราะใครๆ ก็กลัวกันหนักหนาว่า การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย  จะทำให้ผู้บริหารมีอำนาจล้นฟ้า  จะแกล้งลูกน้องอย่างไรก็ได้ ต้องประจบสอพลอถึงจะได้ดีกระมัง!!  ใครจะเป็นคนมาคุมผู้บริหารไม่ให้บ้าอำนาจ ก็สภาฯ งัยคะ  เพราะฉะนั้น ข้อนี้ต้องเป็น JD ของสภาฯ ด้วย  ขาดไม่ได้....ขาดไม่ได้   (ข้อนี้ พ.ร.บ. มน. ยังขาดอยู่)

          ความจริงดิฉันเคยบันทึกเรื่องที่คล้ายกันนี้ไว้ใน Blog เมื่อ  จ. 08 ม.ค. 2550 @ 12:18 ชื่อบันทึกว่า หน้าที่ของกรรมการสถาบัน (กรรมการสภามหาวิทยาลัย) ....ที่ขาดหาย รึเปล่า? ลองอ่านดูอีกครั้งนะคะ ต่างเวลา  ต่างคู่เทียบ แต่ก็ไม่ต่างในสาระสำคัญเท่าไหร่


 

หมายเลขบันทึก: 155369เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2007 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 กราบขอบพระคุณพ่อครูบาที่เคารพรัก

          ดีใจ ปลื้มใจ อย่างบอกไม่ถูกค่ะ  พลังใจของดิฉันเพิ่มพูนอีกหลายเท่าตัว เมื่อพ่อครูบามาเยี่ยมเยือน

เห็นด้วยกับท่าน ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ครับ
    "เนียน" และ เป็นประโยชน์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท