1, 2, 3, 4, 5 หมายเลขใดจะไปก่อน


กราบสวัสดีทุกท่านครับ

        เมื่อวันก่อน ชวนท่านไปค้นหาหลุม ค้นหาประวัติกันนะครับ ท่านใดยังไม่ได้ไปดูว่าหลุมอะไร ตามไปไ้ด้ที่ ร่วมวิเคราะห์ หลุมอะไรใกล้ตัว ....

        ส่วนวันนี้ ไหนๆ ก็เข้าไปเล่นอยู่กับหลุมนั้นแล้ว พร้อมกับบินอยู่บริเวณนั้นแล้ว ก็เลยยกประเด็นมาชวนกันคิดกันต่อไปนะครับ

 

        ผมมีตัวเลขให้คุณเลือก อยู่ห้าหมายเลขครับ เลยชวนขบคิดว่า หมายเลขใดจะไปก่อนกันครับ และนอกจากคิดแล้วจะชวนท่านช่วยเฝ้าระวังด้วยดีไหมครับ

        มาดูกันเลยดีว่าครับ ว่าหมายเลขที่ว่านั้นคืออะไร

http://www.schuai.net/CoastalErosion/Tsunami-buoy-warn0-fault-setup2.JPG
 

        หมายเลขที่ว่า ก็คือ หมายเลขแนวรอยเลื่อนหรือว่าภูเขาใต้ท้องทะเลนั่นเองครับ จากภาพผมลองให้หมายเลขกันไว้ ห้าแนวครับ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะพังลงมาแล้วส่งผลให้เกิดคลื่นกันอีกครับ ดังนั้นเราควรจะร่วมกันตระหนักร่วมกันครับ ส่วนทำอย่างไรนั้น ไม่ทราบเหมือนกันครับ ว่าจะตระหนักอย่างไร ร่วมกันคิดกันดูนะครับ

        กันอีกอย่าง ผมทำเครื่องหมายไว้ให้ชวนคิด สำหรับทุ่นนะครับ ในอันดามันด้านซ้ายจะมีทุ่นติดตั้งไปแล้ว (ตัวสีเหลือง) ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลครับ (DART Buoy) แต่หากมีการพังทลายของหมายเลข 1 ถึง 5 กันขึ้นมา เวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ไปหาทุ่นสีเหลือง กับเวลาที่คลื่นวิ่งมาหาเราที่ชายฝั่งตะวันตก คงห่างกันไม่มากนัก ซึ่งจริงๆ แล้วน่าจะมีทุ่นอีกสักหนึ่งตัว ผมลยทำทุ่นกำมะลอ ทิ้งไว้ในชื่อ Buoy-2,  Buoy-3 เพื่อให้คุณร่วมกันคิดกันต่อ ว่าจะวางไว้ตรงไหนดี หากเรามีทุ่นใหม่มา วางตรงไหนได้ประโยชน์มากที่สุด หมายถึงว่าเตือนภัยได้ทันเวลา และจะทำงานร่วมกันทุ่นตัวแรกได้ด้วย เพื่อยืนยันและเตือนภัยได้อย่างแม่นยำด้วย ลองคิดกันดูนะครับ

        พอดีผมลองทำจำลองทิ้งไว้เล่นๆ นะครับ โดยให้ทุกแนวทั้ง 5 เลื่อนพร้อมกัน ด้วยโปรแกรม SiTProS ได้ผลคร่าวๆ ดังนี้ครับ

 http://www.schuai.net/CoastalErosion/Tsunami-buoy-warn2.JPG

        จากภาพ จะมีเส้นเวลาที่คลื่นวิ่งรอบๆ ลอยเลื่อนด้วยนะครับ มีเวลาเส้นละ 15 นาที คลื่นจะใช้เวลาโดยประมาณ 60-70 นาทีครับในการวิ่งมาถึงชายฝั่งไทย โดยจะชนภูเก็ตก่อนแล้ววิ่งเข้าจังหวัดทางเหนือขึ้นมา (เป็นเพียงแค่ภาพจำลองนะครับ ไ่ม่ได้หมายความว่าจะเกิดจริงครับ) คือหากจะเกิดแบบร้ายแรงที่สุดก็น่าจะเพราะรอยเลื่อนทั้งห้าเกิดพร้อมๆ กัน หรือว่า เกิดตามๆ กันมา แต่อย่างไร เราขอไม่ให้เกิดซักรอยจะดีกว่าครับ หรือแค่เกิดเพียงแค่หมายเลข 1 เราก็คงได้รับผลกระทบหนักมากพอแล้ว

         ท่านมีความเห็นอย่างไร  เชิญท่านบรรเลงครับ ขอบพระคุณมากครับผม

สวัสดีปีใหม่ครับ พระธรรมชาติคุ้มครองครับ

เม้งครับ

ปล. ภาพทุกภาพจะมีขนาดใหญ่กว่าที่แสดง ท่านสามารถจับลากไปวางในหน้าแสดงผลในหน้าเบราเซอร์ใหม่ เพื่อจะดูรายละเอียดที่สูงกว่าครับ

Drag and Drop 

หมายเลขบันทึก: 155071เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2007 00:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

วันเวลา 3 ปี จากวันที่ 26 ธันวาคม 2548 ผ่านไปไวเหมือนจรวด ก็ใกล้จะครบรอบวันเกิดคลื่นยักษ์และก็ครบรอบสามปีวันแห่งความสูญเสียเช่นกัน ไม่รู้จะฉลองวันเกิด หรือจะเป็นวันแห่งการรำลึกถึงเหตุการณ์

    เกิดอะไรขึ้นบ้างในสามปีที่ผ่านมา เราได้ร่วมกันทำอะไรไปแล้วบ้างในเวลานี้ เราได้วางแผนการปลูกสิ่งก่อสร้างบริเวณชายฝั่งอย่างระมัดระวังรอบคอบ เพียงพอแล้วหรือยัง เพื่อจะรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ต่อไปตลอดเวลา เราเตรียมรับมือกับการให้ความรู้กับ คนในพื้นที่ นักท่องเที่ยว ชาวประมง นักวิชาการ และประชาชนทั่วโลกอย่างไรแล้วบ้าง และอื่นๆ

    ขอให้ทุกคนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ แม้จะไม่มีสตางค์ ก็ตามครับ สติสร้างได้ตลอดเวลาครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ 

น่ากลัวง่ะ เมื่อกี้พึ่งดูทีวีที่เขาไปถ่ายคนที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ผ่านไปตั้งนานแล้วแต่หลายคนก็ยังไม่ได้รับการเยียวยาหรือการช่วยเหลือที่เหมาะสมจากทางภาครัฐ บางคนก็เป็นโรคหวาดผวา บางคนก็มีบาดแผลที่เกิดจากทรายฝังในแผลจนแผลปิด แล้วก็เกิดการอักเสบจนเน่าเป็นแผลน่ากลัว น่าสงสารนะ ไม่อยากให้เกิดอีก

เม้งรู้เรื่องตอนที่สัญญาณเตือนภัยมันดังเพราะระบบขัดข้องมั้ย เมื่อปีที่แล้วคนเกือบเหยียบกันตาย คนที่เคยเจอเหตุการณ์มาก่อนถึงกับนอนไม่หลับไปอีกหลายคืนทีเดียว ภัยธรรมชาตินี่มันน่ากลัวมาก แต่พอมันเกิดแล้วผ่านไป สิ่งที่คงเหลือไว้ในจิตใจคนนี่น่ากลัวก่า

สวัสดีครับซาน Little Jazz \(^o^)/

        ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่บอกเล่ากันนะครับ นั่นนะซิครับ มีงบที่ลงไปสนับสนุนเยอะ แต่ไม่รู้ำทำไมถึงไม่ถึงและเยียวยาแผลกายเหล่านั้น ส่วนแผลใจคงเยียวยายากครับ ต้องใช้เวลาเป็นตัวช่วยครับ

        ผมก็ไม่อยากให้เกิดครับ แต่เราก็ไม่ทราบครับ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดตลอดเวลา ใต้โลกนั้นมีการหมุนเวียน และไหลของแมกมาอยู่ตลอดเวลาเพียงแต่ว่าตรงไหนจะได้รับผลกระทบก่อนหลังครับ ตอนนี้โลกเราปลิกันนับจำนวนชิ้นไม่ครบแล้วครับสงสัยว่าไม่รู้กี่ชิ้นแล้วนะครับ ยุบหนอยกหนอล่ะครับ

        หวังว่าวันหนึ่งสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นครับ เราคงต้องตระหนักถึงต้นไม้ชายฝั่งกันบ้างนะครับ ส่วนที่จะช่วยป้องกันภัยรุนแรง ผ่อนหนักให้เป็นเบา ต้นไม้อ่อนทั้งแรงลมและแรงน้ำ โกงกางจะช่วยได้เยอะในบางพื้นที่ ต้นเตยจะช่วยได้เยอะ เพราะรากเค้าก็ช่วยต้านทานทรายและช่วยกันน้ำได้ด้วย

        และหลายๆ อย่างที่ทำได้ครับ การศึกษาภูมิประเทศ เพื่อทำความเข้าใจในการอยู่ร่วมอย่างปลอดภัยได้ครับ การกระทำอะไรกับชายฝั่งนั้น ต้องคิดแล้วคิดอีก คิดอีกคิดแล้ว ครับ น้ำเป็นสิ่งที่อ่อนและแข็งเป็นที่สุดครับ

        ขอบคุณซานมากๆ นะครับ เมอรี่คริสต์มาส และุสุขสันต์ปีใหม่นะครับ

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่เข้าใจว่ารอยแยกที่เกาะนิโคบานั้น อยู่ในเขตที่ tectonic plate ขนาดยักษ์สองอันคือ Australian Plate มุดลงใต้ Eurasian Plate ซึ่งอาจเกิดแผ่นดินไหวได้ง่าย

ยังมีความเห็นแตกต่างกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญ กล่าวคือ ดร.สมิทธิ์ ธรรมสโรช เชื่อว่าแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งต่อไป น่าจะเคลื่อนขึ้นเหนือของแนวที่เกิดสึนามิครั้งที่แล้ว (ขึ้นไปทางเกาะนิโคบา) และมีรายงานการค้นพบโคลนภูเขาไฟซึ่งยังไม่แน่ใจว่าจะส่งผลอย่างไร

แต่นักธรณีวิทยาจากคาลเทคเชื่อว่าจะลงใต้ ลงไปแถบเมืองปาดัง อินโดนีเซีย ซึ่งภายหลังพบว่ามีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายครั้ง -- หากผู้เชี่ยวชาญท่านนี้ถูก ก็ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเมืองไทย

รายละเอียดเรื่องนี้ หาอ่านได้จากลิงก์ที่ให้ไว้ในหน้า Science of tsunami/worst-hit areas กรุณาใช้วิจารณญาณด้วยครับ

สวัสดีครับพี่ 4. Conductor

  • ขอบคุณมากครับผม ผมใส่ปีผิดครับผม 26 ธันวาคม 2547 ครับ
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอในพื้นที่เสี่ยง ตั้งโจทย์ให้คิดๆ กันครับ จะได้ไม่ลืมกันครับ
  • คงต้องติดตามกันต่อไปครับ การเตรียมตัวให้พร้อมไว้ก่อน จะเป็นการเข้าใจไปด้วยในตัว เพื่อการอยู่ร่วมในสภาพที่เป็นอยู่
  • ขอบคุณมากครับผม 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท