คู่มือการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในประชาชน


เพราะเราใส่ใจ โรคหอดเลือดสมองในปัจจุบันเป็นปัญหาสาธารณสุขค่ะ

บทนำ: การเฝ้าระวังโรคหลอดเลือดสมอง                โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตเป็นโรคที่พบบ่อย  มักพบในผู้มีอายุมากกว่า  45  ปีขึ้นไป   และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อเกิดโรคแล้วจะก่อให้เกิดอาการต่างๆทางระบบประสาท ผู้ป่วยมักมีอาการทันทีทันใดและเป็นเหตุให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเสียชีวิต  ส่วนผู้ป่วยที่รอดชีวิตส่วนใหญ่ก็มักต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน  นอกจากนี้มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยดังกล่าวมีความพิการหลงเหลืออยู่ในระดับต่างๆ  ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตตลอดจนภาวะเศรษฐกิจและสังคมของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว  อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถป้องกันได้ และถ้ารีบรักษาตั้งแต่ เริ่มมีอาการ ก็อาจช่วยให้รอดชีวิต และมีความพิการน้อยลง หรือกลับไปทำงานตามปกติได้                ในประเทศไทย พบว่ามีอัตราการเกิดโรค 690 คนต่อประชากร 1 แสนคน จากสถิติดังกล่าว ประมาณว่า มีผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทยเป็นจำนวน 496,800 (เกือบ 5 แสนคน) ต่อประชากร 72 ล้านคน   และสถิติดังกล่าวสามารถลดลงได้หากทุกคนมีความรู้  และปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง  เหมาะสม   โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร โรคหลอดเลือดสมองสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โรคที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และโรคที่เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก 1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เมื่อมีการอุดตันของหลอดเลือดในสมองจะทำให้สมองส่วนที่เคยได้รับเลือดมาเลี้ยงขาดเลือดไป เป็นผลให้สมองส่วนนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือด สาเหตุของหลอดเลือดตีบตันเกิดได้จาก . มีความผิดปกติของหลอดเลือด หรือหลอดเลือดแข็ง เกิดจากมีไขมันและหินปูน มาสะสมที่ผนังด้านในของหลอดเลือด ทำให้รูทางเดินของหลอดเลือดแคบลงเรื่อยๆ จนมีการอุดตันในที่สุด โรคของหลอดเลือดนี้อาจเกิดกับหลอดเลือดในสมองเอง หรือหลอดเลือดใหญ่บริเวณคอที่ส่งเลือดมาเลี้ยงสมอง การเกิดหลอดเลือดแข็งนี้ พบได้มากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงได้แก่ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราจัด  ส่วนน้อยเกิดหลอดเลือดอุดตันจากโรคของหลอดเลือดเอง เช่นหลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด หลอดเลือดอักเสบ หรือมีความผิดปกติในการแข็งตัวของหลอดเลือด . มีลิ่มเลือดหลุดจากที่อื่นมาอุดตันหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคหัวใจบางชนิด ได้แก่โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด โรคหัวใจเหล่านี้มักจะทำให้มีลิ่มเลือด คือเลือดที่จับตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ ในบางครั้งลิ่มเลือดเหล่านี้จะหลุดไปยังหลอดเลือดสมองทำให้เกิดการอุดตันได้ 2. โรคหลอดเลือดสมองแตก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน ส่วนน้อยอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองผิดปกติ โรคหลอดเลือดสมองแตกอาจแบ่งได้เป็น 2.1 หลอดเลือดสมองแตกในเนื้อสมอง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทขึ้นมาทันที เนื่องจากเลือดที่ออกจะไปกดเบียดเนื้อสมองทำให้สมองทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ยังเกิดความดันในโพรงกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ถ้าเลือดที่ออกมีจำนวนมากหรือเลือดออกในก้านสมองผู้ป่วยอาจหมดสติหรือเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว 2.2 หลอดเลือดแตกในชั้นเยื่อหุ้มสมอง สาเหตุมักเกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดสมอง บริเวณฐานกะโหลกศีรษะ เมื่อมีเลือดออกในทันทีทันใดผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในบางรายอาจหมดสติหรือเสียชีวิตได้ตั้งแต่ระยะแรก จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน  โรคหลอดเลือดสมองมีอาการอย่างไร โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักจะมีอาการเป็นขึ้นอย่างรวดเร็วทันทีทันใด มีน้อยรายที่จะมีอาการเตือน มักจะมีประวัติว่าสบายดีมาก่อน อยู่ดีๆก็มีอาการชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยวพูดไม่ชัด  แต่อาการพิการเฉพาะที่อื่น ๆ ที่เกิดจากสมองก็เป็นได้แทบทุกอย่าง เช่น มองไม่เห็นครึ่งซีก, พูดไม่ชัด, กลืนไม่ได้, ไม่รู้ตัว ฯลฯ อาการที่สำคัญได้แก่ 1. อ่อนแรงครึ่งซีก มีอาการแขนขาอ่อนแรง ยกไม่ถนัดเดินลำบาก อาจมีปากเบี้ยวร่วมด้วย   อาการอ่อนแรงนี้ถ้าเป็นน้อยอาจเรียกว่า อัมพฤกษ์  ถ้าเป็นมากจนขยับไม่ได้เลยเรียกว่า อัมพาต2. ชาครึ่งซีก อาจพบร่วมกับอาการอ่อนแรง หรือไม่ก็ได้ ชาในที่นี้หมายถึงการเสียความรู้สึกเจ็บ, สัมผัส เมื่อหยิกหรือจับบริเวณที่ผิดปกติจะรู้สึกน้อยลงหรือถ้าเป็นมากอาจไม่รู้สึกเลย 3. ลิ้นแข็งพูดไม่ชัด เกิดอาการทำงานของกล้ามเนื้อลิ้นและปากผิดปกติ 4. พูดลำบาก พูดตะกุกตะกักหรือฟังภาษาพูดไม่เข้าใจ   เกิดจากโรคที่สมองซีกซ้าย  ซึ่งเป็นสมองข้างเด่นควบคุมเกี่ยวกับภาษา5. คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ  6. ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็นฉับพลัน  เห็นภาพซ้อนเป็น 2 ภาพ  หรือเกิดอาการคล้ายมีม่านมาบังตา7. งุนงง  เวียนศีรษะหรือเสียการทรงตัว  เดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ อาจร่วมกับอาการอ่อนแรงหรือไม่ก็ได้8. ปวดศีรษะรุนแรงฉับพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน9.  หมดสติทันทีมักจะเกิดจากสมองเสียการทำงานไปมากโดยเฉพาะบริเวณก้านสมอง หรือเกิดจากหลอดเลือดสมองแตกที่รุนแรง ในกรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะและคลื่นไส้อาเจียนมากร่วมกับอาการอ่อนแรง ในบางรายอาจถึงกับหมดสติ ความรุนแรงของอาการของโรคหลอดเลือดสมองขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่เกิดโรคและปริมาณของสมองที่ถูกทำลายไป ถ้าโรคเป็นน้อยและได้รับการรักษาทันท่วงที ผู้ป่วยก็อาจหายได้เองในเวลาเป็นนาที หรือเป็นวัน ถ้าเป็นมากและรุนแรงผู้ป่วยก็อาจเสียชีวิต อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีความพิการเกิดขึ้น ผูป่วยบางรายอาจเกิดความพิการพอช่วยตัวเองได้ บางรายอาจช่วยตัวเองไม่ได้ต้องมีคนพยาบาลตลอดเวลา หรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวไปเลยก็ได้ อะไรทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง                ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง  เช่น ความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวาน โรคหัวใจ จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้มากกว่าคนปกติ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ทุกคนจะต้องเกิดโรคหลอดเลือดสมองทุกราย ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็มีโอกาส เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกันแต่ไม่มากเท่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่
 1.  ความดันโลหิตสูง  เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาก ถ้าสามารถป้องกัน ไม่ให้เป็น โรคความดันโลหิตสูง หรือถ้าเป็นแล้วสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจะสามารถลดความเสี่ยงลงได้
แนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยงจากความดันโลหิตสูงคือ
              1.รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป
              2.ลดอาหารที่เค็ม
              3. รับประทานอาหารให้พอเหมาะ เน้นอาหารที่เป็นพืช ผัก ผลไม้
              4. หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอเป็นประจำให้พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
              5. ตรวจสุขภาพเป็นครั้งคราว ถ้าพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาลดความดันโลหิตร่วมด้วยซึ่งจำเป็น ต้องรับประทานยา ตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด 

 2.  การสูบบุหรี่  ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญเช่นกัน ดังนั้นจึงควรงดสูบบุหรี่ ถ้างดสูบบุหรี่ได้นอกจากความเสี่ยง ต่อโรคหลอด เลือดสมองจะลดลงแล้ว ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคปอด จะน้อยลง และสุขภาพโดยทั่วไปก็จะดีขึ้นเองอีกด้วย

 3.  โรคหัวใจ  มีหลายชนิด เช่น โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ การรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแพทย์อาจ พิจารณา ให้ยาบางชนิดเพื่อลดโอกาสเกิดโรค หลอดเลือดสมอง และจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองลงได้

 4.  โรคเบาหวาน  ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่ง ถ้าป่วยเป็นโรคนี้ ก็ ควรพบแพทย์และรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้

 5.   ภาวะไขมันในเลือดสูง  เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือด หัวใจตีบตัน และยังอาจเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย ดังนั้น การรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันมากเกินไป หรืออาจต้องรับประทานยาลดไขมัน ร่วมด้วยตามที่แพทย์แนะนำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจ ตีบตัน และอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
6. ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ·               แอลกอฮอล์ อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงได้ ถ้าดื่มเป็นปริมาณมาก เพราะจะทำให้เกิด ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดตีบตามมา  แต่ถ้าดื่มในปริมาณ ที่ไม่มาก อาจจะมีฤทธิ์ ป้องกันภาวะหลอดเลือดตีบได้ ·               ขาดการออกกำลังกาย การที่ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นปัจจัยทำให้ผู้ป่วยอ้วน และเกิดภาวะเครียด ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมต่อการเกิดอัมพาต  ยิ่งกว่านั้น ยังพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิต ลดระดับไขมัน ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และเพิ่มไขมันที่เป็นประโยชน์ กล่าวคือทำให้หลอดเลือดไม่แข็งตัวอีกด้วย ·                      ฮอร์โมน ยังไม่พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างชัดเจน ยกเว้นในผู้หญิง ที่รับประทานฮอร์โมนในขนาดที่สูงร่วมกับมีความดันโลหิตสูง หรือสูบบุหรี่

 อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง                โรคหลอดเลือดสมองมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีผลให้เกิดความสูญเสียหน้าที่การทำงานของร่างกายอย่างรุนแรง  ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเตือนล่วงหน้า  ดังนั้นถ้ามีอาการเตือนดังกล่าวควรรีบพบแพทย์โดยด่วน  อาการเตือนมีดังต่อไปนี้1.   อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกของร่างกายทันทีทันใด 
2.   อาการตามัว หรือมองไม่เห็นทันที โดยเฉพาะที่เป็นข้างเดียว  หรืออาจ         
      เห็นแสงที่ผิดปกติหรือเห็นภาพซ้อน

3.   ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนื่ง
4.   พูดตะกุกตะกัก พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก หรือไม่เข้าใจคำพูด
      ทันทีทันใด

5.   ปวดศีรษะรุนแรงฉับพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
6.  เวียนศีรษะ บ้านหมุน เดินลำบาก หรือเป็นลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามี
      อาการดังกล่าวมาแล้วร่วมด้วย

7.    กลืนอาหารสำลักบ่อยๆ
       อาการเตือนเหล่านี้อาจเป็นเพียงชั่วขณะแล้วดีขึ้นเองแต่ก็มีความสำคัญ และผู้ป่วยควรจะพบแพทย์โดยด่วน
 ถ้าผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเร็วเท่าใด อัตราการตายความพิการจะยิ่งน้อยลง

เราสามารถตรวจสอบความเสี่ยงของโรคได้อย่างไร

 

สามารถตรวจสอบความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้หลายวิธี  ได้แก่

   1.   การตรวจเลือดเพื่อค้นหาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อดูโรคเบาหวาน การตรวจไขมันในเลือด การตรวจนับเม็ดเลือด เป็นต้น      2.  การตรวจหัวใจ รวมถึงการตรวจคลื่นหัวใจ และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ใช้ในกรณีที่สงสัยว่าอาจจะมีโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุ      3.  การตรวจคลื่นความถี่สูง  เช่น  การตรวจหลอดเลือดที่คอ  การตรวจหลอดเลือดในสมอง       4.  การตรวจทางรังสี  เช่น  เอกซเรย์ปอด  คอมพิวเตอร์สมอง  การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  การฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจดูเส้นเลือด    วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมองทำอย่างไรในปัจจุบันมีแนวทางการรักษาใหม่ๆ ที่อาจช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วและลดการเกิดความพิการได้อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ที่มีอาการจะต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน เนื่องจากถ้ามาพบแพทย์เร็วภายใน 3-6 ชั่วโมง ก็จะมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาที่ได้ผลดี
การรักษา ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง
ความรุนแรง  และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ  โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาเร็วเท่าใด  ความพิการและอัตราตายจะลดลงมากเท่านั้น  1.   การรักษาทางยา   การผ่าตัดในบางราย
2.   การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู  โดยการทำกายภาพบำบัดและอาชีวะ 
      บำบัด เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพและความพิการของผู้ป่วย
       ช่วยป้องกันการเกิดซ้ำ
3.   การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยงและโรคแทรกซ้อน
4.   การรักษาในระยะยาว  ต้องให้การรักษาเพื่อป้องกันมิให้เป็นซ้ำ  อาจ
      ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟู
      สมรรถภาพการทำงานของแขนขาและร่างกาย

 

 

จะป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร

               ทุกคนสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยการเริ่มต้นดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพ และลดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 1.  การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง  รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน  และมีปริมาณเพียงพอ ลดอาหารเค็มหรือเกลือมาก  รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น  ผัก  ผลไม้  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก  โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น  มันหมู  มันไก่  กะทิมะพร้าว  รวมทั้งอาหารหวานจัด  การดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีสุขภาพดี 2.  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  อย่าทำแบบหักโหมและนานๆ  ในครั้งหนึ่งๆ                                                


"font-size: 16pt; font-family: 'Angsana New'">3.  งดสูบบุหรี่   นิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดของสมองและหัวใจตีบตันได้ง่าย

4.  ตรวจสุขภาพประจำปี  เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง  เช่น ความดันโลหิตสูง  เบาหวาน  ไขมันในเลือดสูง  ถ้าพบปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ต้องรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด                                        

5.  การควบคุมน้ำหนัก   อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย   




"font-size: 16pt; font-family:

'Angsana New'">6.  รู้จักผ่อนคลายความตึงเครียดและพักผ่อนอย่างเพียงพอ  ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งแจ่มใส7.  หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์  ซึ่งเป็นสาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง                                

  1. ในรายที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว  จะมีโอกาสเป็นซ้ำมากกว่าคนปกติ  ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยาเองเด็ดขาด 
    9.  เมื่อมีอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง  อย่านิ่งนอนใจต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน  เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงที
        อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง                                ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  มักมีปัจจัยเสี่ยง เช่น  เบาหวาน  ไขมันในเลือดสูง  ความดันโลหิตสูงร่วมด้วย  การจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงควรคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดร่วมดัวยดังกล่าว  1. อาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งได้แก่ นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งและงา       ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล พืชผัก ผลไม้ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการ       รับประทานอาหารต่างๆ นั้น ควรบริโภคให้หลากหลาย2. ลดปริมาณไขมันที่กินให้น้อยลง ไม่เกินร้อยละ 30 ของปริมาณ     ที่ได้รับ3. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น กะทิ ไขมันสัตว์      หนังสัตว์  และเนื้อสัตว์ที่มีไขมันติดมาก ๆ เช่น กระดูก หมู      หมูสามชั้น และขาหมู4. เลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไลโนเลอิคปรุงอาหาร เช่น น้ำมันถั่ว    เหลือง น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันรำข้าว5. ลดการกินขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด   ฝอยทอง ผลไม้     เชื่อม และผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ละมุด6. เลือกกินอาหารที่มีเส้นใยสูงเพิ่มขึ้น เช่น ผัก  ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ     และถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ7. งดการกินาหารที่มีรสเค็มจัดทุกชนิด ใช้เครื่องปรุง เท่าที่จำเป็น8. เลือกประกอบอาหารด้วยวิธีอบ นึ่ง ย่าง ต้ม แทนการใช้น้ำมัน    ทอด9. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดอาหารสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  1.    อาหารที่ควรรับประทานได้แก่ อาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งได้แก่ นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งและงา ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล พืชผัก ผลไม้ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการรับประทานอาหารต่างๆ นั้น ควรบริโภคให้หลากหลายไม่ซ้ำซากการกินอาหารบางชนิดทุกวัน อาจทำให้ได้รับสารอาหารบางประเภทไม่เพียงพอหรือมากเกินไป จนเกิดโทษแก่ร่างกายและมีผลต่อโรคภัยไข้เจ็บ                    2.  อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง  ก็คือ อาหารเค็มจัด ไม่ว่าจะเค็มจากกะปิ น้ำปลา ซอส ไข่เค็ม ปลาเค็ม หรือผักกาดดองต่างๆ ก็ตาม นอกจากนี้ควรงดอาหารที่เติมซอสหรือน้ำปลาในอาหารที่รับประทานด้วย ควรฝึกตนเองให้เป็น สุขนิสัยโดยค่อยๆ ลดปริมาณเกลือลงเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่รู้สึกอยากอาหารเค็มมากเท่ากับเมื่อก่อน                              
  2.  อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง  นอกจากอาหารเค็มที่เห็นชัดแล้วควรหลีกเลี่ยงอาหารต่อไปนี้ด้วย  เพราะอาหารเหล่านี้มีโซเดียมสูง ซึ่งได้แก่ น้ำอัดลม ขนมปังกรอบ ขนมปัง ขนมอบที่ต้องใช้ผงฟูเนยที่มีรสเค็ม น้ำสลัดและมายองเนสสำเร็จรูป อาหารที่ใส่น้ำตาลเทียม อาหารที่ใช่ผงชูรส เป็นต้น รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์และไวน์ ซึ่งมีผลร้ายโดยตรงทั้งหัวใจและหลอดเลือดยกเว้นแต่การดื่มแต่เพียงเล็กน้อยซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น และทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตแรงขึ้นด้วย                                                            อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการปฏิบัติ เราแบ่งอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานออกเป็น 3 กลุ่ม

  3. อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัด ได้แก่ ผักทุกชนิด ยกเว้นผักที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง ถั่วลันเตา แครอท สะเดา อาหารประเภทโปรตีน ประเภทเนื้อสัตว์ และโปรตีนจากพืช เลือกรับประทานอาหารที่มีใยมากๆ อย่ารับประทานจุกจิกและไม่ตรงเวลา และรับประทานในปริมาณที่สม่ำเสมอและคงที่                                              

  4. อาหารที่ต้องจำกัดปริมาณ ได้แก่ อาหารพวกแป้ง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ลดอาหารประเภทไขมัน เช่นขาหมู ข้าวมันไก่ ผลไม้บางอย่าง เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย                                             




"font-size: 16pt; color: black;

font-family: 'Angsana New'">3. กลุ่มที่ห้ามรับประทาน ได้แก่ น้ำตาลทุกชนิดและน้ำผึ้ง ขนมหวาน ขนมเชื่อม น้ำหวานต่าง ๆ รวมทั้งน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ ผลไม้ที่รสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำไย
                         
<span style="font




หมายเลขบันทึก: 154862เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2007 02:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ภาพไม่มีอยากดู้อยากดู

บล็อคสวยค่ะ

พ่อเป็นอาการนี้เลยคะ

เกือบจะ....แค่เห็นพ่อพูดไม่ออกใจเสียเลย

พ่อดูดบุหรีจัด..ดื่มทุกวัน

ชอบทานทุเรียน

ทุกอยากนี้ห้ามมาหมดแล้วไม่ฟัง

ชอบแอบกินทุเรียนเลยเกิดอาการคะ

โชคดีที่ผานมาได้เมื่อคืนดีใจคะ...รักพ่อมากคะ

เลยเข้ามาดูขอบคุณมากคะ

พ่อเป็นอาการนี้เลยคะ

เกือบจะ....แค่เห็นพ่อพูดไม่ออกใจเสียเลย

พ่อดูดบุหรีจัด..ดื่มทุกวัน

ชอบทานทุเรียน

ทุกอยากนี้ห้ามมาหมดแล้วไม่ฟัง

ชอบแอบกินทุเรียนเลยเกิดอาการคะ

โชคดีที่ผานมาได้เมื่อคืนดีใจคะ...รักพ่อมากคะ

เลยเข้ามาดูขอบคุณมากคะ

ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความดีๆที่แบ่งปันให้ผู้ที่กำลังมีความทุกข์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท