ถ้าหากเราเป็นคนหนึ่ง ที่มีชีวิตอยู่อย่างอับจนข้นแค้น ได้รับทุกข์ทรมานแสนสาหัส ทั้งยังเข้าใจว่า สิ่งที่ตนกำลังเผชิญอยู่นั้น เป็นผลจากการกระทำของคนอื่นหรือคนอื่นเป็นต้นเหตุแล้วละก็
โปรดรู้เถิดว่า เรากำลังเข้าใจผิด
.. กำลังทำลายชีวิตให้ย่อยยับ ด้วยการยึดติดเงาความคิดของตนเอง
เพราะในโลกนี้ไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากเราจะทำร้ายตัวเอง การกระทำนั้นมีผลต่อเราก็เพราะเรายอมรับเอาผลของการกระทำของคนอื่นให้เกิดมีอิทธิพลต่อเรา คนอื่นทำให้ไม่พอใจก็เพราะเรายอมรับความไม่พอใจให้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา
หากเราคิดเอาใจใส่จิตใจของตนองสักนิด ชีวิตทั้งชีวิตก็จะไม่ตกอยู่ในการกระทำของคนอื่น
.. เรามีสิทธิ์เลือกรับ หรือ ปฏิเสธผลการกระทำของคนอื่นได้เสมอ
พระพุทธเจ้า จึงทรงเปรียบการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่า
"เหมือนกับการเดินเข้าไปในสวนดอกไม้ ที่ดารดาษเต็มไปด้วยดอกไม้นานพันธุ์ บุคคลผู้ฉลาดย่อมเลือกเก็บแต่ดอกไม้ที่มีสีสวยและมีกลิ่นหอม ส่วนคนโง่ย่อมเลือกเก็บแต่ดอกไม้ที่น่าเกลียด และมีกลิ่นเหม็นมาร้อยเป็นพวงมาลัยเป็นรางวัลแก่ชีวิตตนเอง"
ความสุขในชีวิตของคนเรา จึงขึ้นอยู่กับท่าทีที่เรามีต่อความคิดของตัวเอง หากเรามีท่าทีต่อชีวิตอย่างไร เราก็จะแสดงออกไปอย่างนั้น หากเรามีท่าทีต่อชีวิตอย่างไร เราก็จะแสดงออกไปอย่างนั้น และพฤติกรรมที่แสดงออกไปก็จะเป็นผลสะท้อนกลับมาสู่ชีวิตของเราเอง
การมีหลักในใจที่มั่นคง ไม่ขึ้นลงตามภาวะอารมณ์ที่มากระทบ จึงเป็นวิธีการป้องกันไม่ให้ตกไปสู่ภาวะอารมณ์อันเป็นผลลัพธ์ที่เราไม่ต้องการ
เพราะมีสิ่งมากมายเข้ามาในชีวิต หากไม่รู้จักปล่อยวาง เราจะไม่มีที่ว่างหลงเหลือให้แก่ชีวิตได้เลย
จิตใจของคนเราก็เหมือนกับพื้นดินอันอุดม พร้อมจะรองรับเมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงไป เราหว่านสิ่งใดก็จะได้รับผลเช่นนั้น
ชีวิตที่เก็บอารมณ์ไม่ดีไว้ ย่อมไม่อาจพบกับความสุขได้ และอารมณ์ไม่ดีเหล่านั้น รังแต่จะทำลายตัวเราและคนรอบข้าง
มีนิทานเรื่องหนึ่งใน มหาภารตะมหัศจรรย์นิทาน ที่เรียบเรียงโดย กนกรัตน์ เล่าไว้อย่างน่าสนใจว่า
ครั้งหนึ่ง พระราชาทรงปลอมพระองค์ไปเดินเล่นในเมืองพร้อมกับเสนาคนสนิท ในขณะที่ทั้งสองกำลังเดินเล่นและสนทนากันอยู่นั้น พระราชาทอดพระเนตรเห็นชายคนหนึ่งเดินผ่านมา จึงตรัสว่า
"ไม่รู้ทำไมอยู่ ๆ ข้าถึงอยากจะสังหารคนสวนผู้นั้นทิ้งเสีย"
ว่าแล้วก็ชี้พระหัตถ์ไปทางชายหนุ่ม ที่มองมาทางพระองค์เหมือนกัน พระองค์ทรงใคร่อยากจะรู้ว่า ชายคนนั้นคิดอย่างไร จึงทรงสั่งให้เสนาเดินไปถาม
"พ่อหนุ่ม ข้าต้องการจะถามเจ้าสักคำ เจ้าพอจะตอบคำถามของข้าตามตรงได้ไหม"
เสนากล่าวกับชายหนุ่ม และเขากล่าวตอบว่า
"ได้ ท่านต้องการจะถามข้าเรื่องอันไร"
"เมื่อสักครู่ที่เห็นชายคนที่ยืนอยู่นั้นมองหน้า เจ้าคิดอย่างไรกับเขาบ้าง"
ชายหนุ่มมองไปที่พระราชา แล้วตอบคำถามด้วยความสัตย์จริง เมื่อเห็นพระราชามองมาที่ตนครั้งแรกว่า
"ทันทีที่ข้าเห็นเขา ข้าอยากดึงขนเคราของเขาออกทีละเส้น เพราะข้ารู้สึกเคืองตากับกิริยาของเขาเหลือเกิน"
การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม เมื่อมีเหตุที่ทำให้ไม่สบายใจ หรือเป็นทุกข์ใจจากคนรอบข้าง จึงไม่ควรมองเพียงว่าเขาทำอะไรให้เราไม่พอใจ แต่จงถามใจของเราเองว่า ทำอะไรให้เขาไม่พอใจบ้าง
เพราะความเกลียดชังย่อมบ้านย่อมมาซึ่งเกลียดชัง
และความรักย่อมนำมาซึ่งความรัก
เวลาที่เราถูกคนอื่นพูดหรือทำอะไรให้ไม่ถูกใจ ก็อย่ามัวแต่โทษคนอื่นหรือสิ่งรอบข้างว่า เป็นต้นเหตุแห่งความไม่สบายใจหรือความวิตกกังวลต่าง ๆ แต่จงมองย้อนเข้ามาในใจของเราเองว่าเป็นอย่างไร
เพราะในสวนดอกไม้ ซึ่งดารดาษไปด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ที่กำลังเบ่งบาน และพร้อมจะให้เราเก็บมาร้อยเป็นมาลัยไว้ประดับใจ
ทำให้เราชีวิตตนเองสดใสหรือหม่นไหม้ ล้วนขึ้นอยู่กับเราที่จะเป็นผู้ตัดสินใจ
วันนี้ .. เราพร้อมจะเลือกเก็บดอกไม้หอม
ไว้ประดับหัวใจตนเองตนเองหรือยัง ?
ขอบคุณหนังสือดี ๆ ชื่อ "ความรู้สึกดี ๆ มีได้ทุกวัน" โดย กอบแก้ว
"ชีวิตคนเรา เลือกได้" นะครับ
บุญรักษา .. คนดี :)