GotoKnow

พระราชบัญญํติการเดินเรือในน่านไทย

นาย สามารถ หล้าศรี
เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2549 12:01 น. ()
แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2555 15:47 น. ()

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456

 

     ตามมาตรา 28 ซึ่งกำหนดให้คนรับจ้างสำหรับทำการในเรือเดินทะเลคนใด จะเข้าทำการงานหรือมีผู้จ้างทำการงานในเรือกำปั่นชาติสยาม หรือเรือกำปั่นต่างประเทศชาติใดที่ไม่มีกงสุลประจำอยู่ในกรุงสยาม ต้องได้รับอนุญาตเจ้าท่าก่อนจึงทำได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ก็จะเป็นความผิดและมีโทษตามมาตรา 290 ซึ่งมีโทษปรับตั้งแต่ 500 บาท ถึง 5,000 บาท ดังนั้นหากลูกเรือประมงทำงานในเรือประมงไทย ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าก่อนจะเป็นความผิดและมีโทษดังกล่าว

 

     ในกรณีนายเรือตามมาตรา 21 กำหนดให้เรือกล ที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทย ขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสส์ขึ้นไป เมื่อจะออกจากเขตท่าเรือใดๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องแจ้งกำหนดออกเรือต่อเจ้าท่าก่อนออกเรือเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง เพื่อให้เจ้าท่าตรวจสอบว่าปฏิบัติถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่เสียก่อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้วจึงอนุญาตให้เรือออกได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้จะเป็นความผิดและมีโทษตามมาตรา 24 ซึ่งมีโทษปรับตั้งแต่ 500 บาท ถึง 5,000 บาท ดังนั้น หากนายเรือนำเรือประมงซึ่งเป็นเรือกลที่เป็นเรือเดินทะเล และเป็นเรือไทยขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไปออกไป โดยไม่แจ้งกำหนดออกเรือต่อเจ้าท่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงก็จะเป็นความผิดและมีโทษ ดังกล่าว

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย