มหา'ลัยไทย...คุณภาพจริงหรือ?


ผมใช้ทุนรัฐบาลไทยโดยเป็นอาจารย์ ม. มหิดล ครบ 1 ปีเต็ม คุณอยากรู้หรือไหมว่าคุณภาพของมหาวิทยาลัยเมืองไทยกำลังถูกพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือฉาบฉวย

จดหมายด่วนที่สุด จากสำนักพัฒนาระบบราชการสู่ ม. มหิดล ออกตั้งแต่ 7 ธันวาคม แต่รับมาถึงม. มหิดล 14 ธันวาคม และถูกแจ้งผมในวันที่ 14 ธันวาคม และโทรสารให้เข้าอบรมวันที่ 17 ธันวาคม

ผมต้อง "งด" แผนงานต่างๆ ที่เตรียมไว้ เช่น การแก้ไขงานวิจัยที่กำลังต้องรีบตีพิมพ์ในเดือนนี้ การประชุมนัดอาจารย์กลุ่มวิชากิจกรรมบำบัด การเขียนโครงการประชุมวิชาการ การติดตามโครงการวิจัยร่วมกับสถาบันอื่น

และต้องรีบ "ตอบตกลง" เพื่อไปร่วมงานประชุมการประกันคุณภาพอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2551 เพราะเป็นเรื่องด่วนตรงมาที่สำนักงานอธิการบดีและต่อมาที่ผมในฐานะคณะทำงานของสภาคณาจารย์

ผมต้องเดินทางไกลด้วย taxi จากเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าไปถึงโรงแรมรามาการ์เด้น ภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ไม่มีค่าตอบแทนของการเข้าประชุม เสียค่าเดินทางเอง และรีบร้อนโดยไม่มีอาหารกลางวันตกถึงท้อง ระหว่างการเดินทางก็ต้องกังวลว่าจะจัดการงานที่ได้ "งด" ไปทบกับงานอื่นๆ ในวันต่อไปได้อย่างไร

จดหมายการประชุมด่วนที่สุดเพิ่งถูกนำมาอ่าน เพราะผมรีบดึงเอกสารจากเครื่อง Fax อ่านไปเรื่อยๆ พบว่า ทางหน่วยงานที่จัดอยากให้ ม. มหิดล นำเจ้าหน้าที่มาร่วมจำนวน 20 คน ตอนแรกผมนึกว่าเป็นงานที่สำคัญจนถึงขั้นบังคับให้อาจารย์ดอกเตอร์หนึ่งคน "งด" งานวิชาการและงานบริหารที่ต้องใช้สมองทุกเรื่อง

ผมเริ่มปลงเล็กน้อยและปลงมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าจะต้องพบอะไรบ้างกับงานประชุมนี้

งานนี้เป็นการเรียกผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย มารับรู้ดัชนีชี้วัดที่ต้องรับการตรวจประเมินคุณภาพในปีงบประมาณ 2551

ผมเคยสนใจและทุ่มเทงานประกันคุณภาพก่อนไปเรียนที่ Perth อยู่ปีหนึ่ง และพบว่าเป็นวิธีการเตรียมทุกหน่วยงานให้มีความพร้อมกับการพัฒนาคุณภาพของตนเอง ....เมื่อพบว่าหน่วยงานมีข้อบกพร่องใดๆ ก็ต้องยอมรับและวางแผนพัฒนาหน่วยงานให้ได้ก่อนการประเมินครั้งต่อไป

งานนี้ผมก็เห็นผู้เข้าร่วมประชุมเข้าคิวรับคู่มือที่มีรายละเอียดหัวข้อที่แต่ละหน่วยงานต้องพัฒนาให้ได้ ก่อนการตรวจประเมินจัดอันดับมหาวิทยาลัยคุณภาพอย่างจริงๆ ในปี 2553 หลายๆ มหาวิทยาลัยของไทยต่อคิวกันคล้ายๆ กำลังสมัครสอบคัดเลือกและตั้งใจจะเป็นที่หนึ่งของหัวข้อการสอบนั้นๆ ให้ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วแนวทางการพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาที่แท้จริงคือ การยอมรับ "อัตตา" ได้แก่ ความสามารถของตนเอง ศักยภาพของตนเองและเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานในทุกระดับ รวมไปถึงศักยภาพที่ทุกองค์ประกอบมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิผล ไม่แข่งขันกันแต่สร้างคุณภาพให้กันและกัน โดยเฉพาะคุณภาพที่ควรเกิดขึ้นกับอนาคตของชาติไทยอย่างมีระบบ

และงานนี้เอง ผมเริ่มหงุดหงิด อาจเป็นเพราะยังติดกับระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ และยังไม่ค่อยๆปรับตัวเข้ากับระบบราชการไทยนัก

ผมต่อคิว ด้วยหวังว่าอยากได้คู่มือ 1 เล่ม เพื่อดูเนื้อหาสาระ เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งบอกว่า อาจารย์ไม่ควรมาเซ็นชื่อรับเอกสาร เพราะไม่ได้มาจากส่วนกลาง ควรให้เจ้าหน้าที่ส่วนกลางเป็นตัวแทนรับเอกสาร ที่ต้องหอบไปให้กับเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มารวม 20 คน ถ้าอาจารย์รับเอกสารทั้งหมดไป ต้องรับผิดชอบทั้งของม. มหิดล เลย เอาหละสิ ผมเข้าใจสุดซึ้งแล้วว่า ไม่น่า "งด" งานทุกอย่าง เพื่อมารับคู่มือและนั่งฟังอะไรๆ ที่น่าจะมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากกว่า ทำไมต้องมาให้ดอกเตอร์มาเสียหัวแบบนี้ เสียใจแบบสงสารการศึกษาไทยสุดๆ ครับ

"หิว" "เบื่อ" และ "เซ็ง" กับระบบอะไรก็ไม่รู้ในงานนี้ แย่กว่านั้น อาจารย์ทั้งหลายที่แย่งกันรับเอกสาร แซงคิวผมแบบไม่เห็นหัวอาจารย์เด็กๆ อย่างผมเลย

ทำใจอยู่ซักพัก ก็เข้าไปฟังสาระต่างๆ ที่ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักจากระบบการประเมินรอบแรกๆ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว

นักวิชาการการศึกษา พยายามตั้งเกณฑ์ประเมินตนเอง ด้วยความหวังที่จะพัฒนาหลายสิ่งหลายอย่างของมหาวิทยาลัยของไทย ผมสะดุดอยู่จุดหนึ่งที่ว่า เราไปเรียนรู้กับอาจารย์ชาวต่างประเทศ เพราะคุณภาพของระบบการศึกษาของเค้า ทำไมเราถึงไม่อยากให้ชาวต่างประเทศมาเรียนกับอาจารย์ไทยบ้าง

เมื่อท่านอ่านสิ่งแวดล้อมที่ผมพบในวันนี้ ก็คงจะทราบคำตอบใกล้เคียงกับผมคือ อาจารย์ชาวไทยส่วนใหญ่มองข้าม "อัตตา" ของตนเอง ไม่พยายามที่จะยอมรับและแก้ไขจุดบกพร่องของตนเองให้เป็นระบบ  แต่ชอบที่จะทำสิ่งที่ใหญ่เกินตัว ไปค้นหาคุณภาพที่อยู่นอกเหนือ "อัตตา" และ "องค์ประกอบของกิจกรรมการดำเนินชีวิต" มากจนเกินไป

ตัวอย่างง่ายสุดๆ คือ เมื่ออาจารย์หลายสภาบันชอบแซงคิวรับเอกสาร แล้วคุณภาพของความเป็นอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้และความดีแก่นักศึกษาจะยั่งยืนได้อย่างไรกัน   

หมายเลขบันทึก: 154276เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2007 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
อาจารย์ครับเรื่องอัตตานี้พบได้บ่อยๆในวงการศึกษาไทยครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

 ผมเข้าใจสุดซึ้งแล้วว่า ไม่น่า "งด" งานทุกอย่าง เพื่อมารับคู่มือและนั่งฟังอะไรๆ ที่น่าจะมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากกว่า ทำไมต้องมาให้ดอกเตอร์มาเสียหัวแบบนี้ เสียใจแบบสงสารการศึกษาไทยสุดๆ ครับ

เรื่องที่อาจารย์เล่า คิดว่าเรื่องนี้ น่าจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปรับการอบรมมากกว่า แต่การขาดทำความเข้าใจกันและกันค่ะ

แต่นั่นละค่ะ ทางผู้จัดอาจเกรงว่า เจ้าหน้าที่ อาจนำข้อมูลที่ได้รับมา  แล้วมาสื่อไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ หรือมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการกรอกข้อมูล หรืออะไรก้แล้วแต จึงต้องให้ระดับอาจารย์ไปสัมนารับฟังข้อมูล กระมังคะ

อาจารย์ใจเย็นค่ะ

สมัยก่อนที่เดี๊ยนเพิ่งกลับจากอังกฤษนะฮ่ะ
เดี๊ยนก็คาดหวังจากระบบการศึกษาไทยค่อนข้างสูงแบบอาจารย์นี่แหละฮ่ะ

แต่เดี๋ยวนี้รู้สึกปลงค่ะ ไม่คาดหวังมาก

ยังไงจะเป็นกำลังใจให้อาจารย์สู้ต่อไปนะคะ

ป้าวิทย์ค่ะ

เรื่องแบบนี้เป็นความจริงทราพบอยู่ได้โดยทั่วไป
เป็นโอกาสดีของ อาจารย์แล้วครับที่ได้มีส่วนช่วยพัฒนา การประกันคุณภาพการศึกษา ของไทย
เป็นกำลังใจ ให้กับความทุ่มเท และแรงกาย แรงใจที่อาจารย์มีให้นะครับ

ขอบคุณทุกท่านสำหรับกำลังใจและความคิดเห็นครับ

ส่งความสุขก่อนปีใหม่แด่ลุงเอก คุณ sasinanda ป้าวิทย์ และอ.มณฑล ครับ

ผมคิดว่า วิธีที่ดีที่สุดคือ "ต้องเติมความตั้งใจที่ดี" ในทุกๆเช้าของการทำงาน และ "ทำวันนี้ให้ดีที่สุด โดยไม่คาดหวังคน-ระบบ-สิ่งแวดล้อมอื่นๆ มากจนเกินไปนัก"

อาจารย์ไทย กับความรู้สึกของความยิ่งใหญ่ บนความจริงที่เท่าเทียมกัน

 

ขอบคุณและขอส่งความสุขปีใหม่แด่ อ.จารุวัจน์ ครับ

ผมเชื่อความจริงและความถูกต้องของอาจารย์ไทยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท