การเข้าไปทำการประมงในประเทศพม่า


โครงการสัมปทานการทำประมงในประเทศพม่า

การเข้าไปทำการประมงในประเทศพม่า

                                                       (ใหม่)

                            โครงการทำสัมปทานการทำประมงในประเทศพม่า
              ผลจากการประชุมระหว่างกรมประมงไทยและกรมประมงพม่า ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2547 ณ กรุงย่างกุ้ง พม่าได้แจ้งให้ทราบถึงการให้สิทธิการประมงแก่ประเทศไทย โดยจะดำเนินการผ่านผู้ประกอบการที่ผ่านพม่าคัดเลือกและผ่านมติของคณะรัฐมนตรี เงื่อนไขการทำประมงดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้
จำนวนเรือประมงไทยที่ได้รับสัมปทาน
เรือประมงอวนลาก จำนวน 450 ลำ
เรือประมงอวนล้อม จำนวน 50 ลำ
รวมทั้งสิ้น จำนวน 500 ลำ
อัตราค่าสัมปทาน (ต่อเดือน)
ต่ำกว่า 80 ตก. 8,000 us. / 80 - 90 ตก. 8,500 us. / 91 - 100 ตก. 9,000 us. / 101 - 110 ตก. 9,500 us. / 111 - 120 ตก. 10,000 us. / 121 - 150 ตก. 11,000 us. / มากกว่า 150 ตก. 12,000 us.
หมายเหตุ ตก. = ตันกรอส , us. = เหรียญดอลลาร์สหรัฐ
พื้นที่ทำการประมง
เรือประมงไทยที่เข้าร่วมโครงการ ต้องทำการประมงภายนอกทะเลอาณาเขต และในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศพม่า ตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามแผนที่ที่แนบ
      ค่าประกันความเสียหาย
               1. บริษัทที่ได้สัมปทานจะเป็นผู้วางเงินค่าประกันความเสียหายจำนวนเงิน 100,000เหรียญสหรัฐ
ไว้ที่กรมประมงประเทศพม่า (บัญชีหมายเลข 93916 ธนาคารการค้าต่างประเทศพม่า ก่อนเข้าทำการประมง)
             2. ค่าประกันดังกล่าว จะใช้เป็นค่าต่อใบอนุญาตทำการประมง และค่าปรับในกรณีทำผิด เป็นต้น บริษัทผู้รับสัมปทานต้องวางเงินประกันเพิ่มเติมให้เต็มจำนวนโดยทันทีหลังจากมีการใช้จ่ายเงินประกันความเสียหายดังกล่าว

             3. เงินประกันความเสียหายสามารถถอนคืนได้ ถ้าไม่ใช่กรณีเป็นการจ่ายค่าเสียหาย เมื่อสิ้นสุดโครงการ
       จุดตรวจสอบ เกาะสอง (Kawthaung)
ระยะเวลาการให้สัมปทาน 5 ปี โดยในปีแรกพิจารณาให้เป็นระยะทดลองดำเนินการ
ข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับเรือประมงต่างชาติ
ใบอนุญาตทำการประมงสำหรับเรือประมงต่างชาติทุกฉบับ อยู่ภายใต้ข้อบังคับของ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
       1. (1.1) ห้ามเรือประมงต่างชาติจะเข้าไปในเขตน่านน้ำของประเทศพม่า เพื่อประสงค์ทำการประมงไม่ได้ ยกเว้นได้รับอนุญาตจาก
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัมปทานทำการประมงสำหรับเรือประมงต่างชาติ หรือ
- กฎหมายอื่นใดของสหภาพพม่า
(1.2) ในน่านน้ำการประมงของสหภาพพม่า ห้ามกระทำการดังนี้
(ก)ทำการประมงหรือเตรียมทำการประมง
(ข) ขนขึ้น นำขึ้นท่า ถ่ายเรือหรือทำการขนส่งปลา ผลผลิตสัตว์น้ำ เสบียง
และคนหรือลูกเรือใด ๆ
(ค) ทำการวิจัยหรือสำรวจด้านวิชาการและเศรษฐกิจการทำประมง ยกเว้น
ได้รับการอนุญาตให้กระทำได้จาก
-กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัมปทานทำการประมงสำหรับเรือประมงต่างชาติ

  • กฎหมายอื่นใดของสหภาพพม่า
               2. ผู้ประกอบการ ไต้ก๋ง และลูกเรือของเรือประมงต่างชาติจะต้องยึดถือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    กับสัมปทานทำการประมงสำหรับเรือประมงต่างชาติ หรือกฎหมายอื่นใดของสหภาพพม่า
             3. ผู้ประกอบการจะปฏิบัติและคงไว้ซึ่งข้อผูกมัดหรือเงินประกันความเสียหาย หรือรูปแบบ
    การประกันอื่นใดตามที่อธิบดีกรมประมงกำหนด
           4. เรือประมงต่างชาติลำใดจะเข้าทำการประมงในเขตน่านน้ำประเทศพม่าได้ ต่อเมื่อ
                4.1 เรือประมงได้รับใบอนุญาต ทำการประมงตามข้อกำหนดเงื่อนไขการทำการประมงต่างชาติ
               4.2 เรือประมงได้แสดงหลักฐานการจ่ายเงินในการขอใบอนุญาต โดยติดแสดงหลักฐานนั้น
    อย่างเด่นชัดไว้ในห้องถือท้ายเรือของเรือเจ้าของใบอนุญาตนั้น และ
             4.3 เรือประมงต้องขึ้นทะเบียนกับกรมประมงพม่าตามกำหนดเวลา
           5. เรือประมงต้องติดตั้งและรักษาเครื่องมือติดต่อสื่อสาร การเดินเรือ หลักฐาน และสัญญาณให้พร้อมใช้งานเสมอ
          6. เรื่อประมงต่างชาติใด ๆ หลังเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศพม่า จะต้องนำเรือตรงเข้า
    ท่าเรือหรือสถานที่เพื่อทำการตรวจในขั้นต้น
         7. (ก) เรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทุกลำ ในขณะที่อยู่ในเขตน่านน้ำทำการประมงของ
    ประเทศพม่า ต้องเขียนเลขที่ได้รับอนุญาต เป็นเลขอารบิคสีขาวบนพื้นสีเขียวไว้ที่สองข้างของตัวเรือ
    ในลักษณะและขนาดที่มองเห็นชัดเจนจากทางอากาศและทางทะเล
    (ข)โดยไม่มีกรณียกเว้น
  • ในกรณีเรือประมงมีขนาดความยาวทั้งหมดเกิน 20 เมตร ต้องเขียนขนาดอักษรต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า1เมตร
  • ในกรณีเรือประมงมีขนาดความยาวทั้งหมดไม่เกิน 20 เมตร ต้องเขียนขนาดอักษรและมีความสูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
             8. เรือประมงต่างชาติได้รับสิทธิผ่านน่านน้ำประมงพม่าโดยสุจริตหรือไม่ได้รับอนุญาต

ทำการประมงในขณะนั้นและในพื้นที่นั้น ต้องเก็บเครื่องมือทำการประมงไว้ใต้ดาดฟ้าเรือ หรือเคลื่อนย้ายเครื่องมือประมงจากบริเวณเรือที่โดยปกติใช้ทำการประมง หรือให้อยู่ในบริเวณที่ไม่พร้อมทำการประมง
       9. ไต้ก๋งเรือหรือผู้แทนที่ได้รับอนุญาตต้องแจ้งอธิบดีกรมประมงถึงกำหนดวันและเวลาโดยประมาณก่อนการนำเรือประมงเข้าเขตน่านน้ำพม่าภายในไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง พร้อมทั้งรายละเอียดต่อไปนี้
                    9.1รายละเอียดเรือประมง

                    9.2 เส้นทางเดินเรือและท่าเรือที่จะเดินทางไป
    10.ใบอนุญาตทำการประมงที่ออกให้แก่เรือประมงใดเรือประมงหนึ่ง จะมีผลบังคับใช้
เฉพาะเรือประมงลำนั้น โดยไม่สามารถใช้กับเรือประมงลำอื่นใด
     11. การทำประมงภายใต้ใบอนุญาต จะมีการกำหนดชนิดปลา ปริมาณปลา วิธีทำประมง เครื่องมือทำประมง พื้นที่ทำการประมงและระยะเวลาทำการประมง ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
   12. การขนถ่ายปลา ขนส่งหรือแปรรูปปลา จะกระทำได้ต่อเมื่อมีใบอนุญาตให้ทำได้เฉพาะสำหรับปลาบางชนิดในปริมาณที่จำกัดจากเรือที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น


   13. ไต้ก๋งเรือประมงต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาต ต้องกระทำ ดังนี้
              13.1 ต้องดำเนินการนำเรือไปยังที่หรือท่าเรือเพื่อทำการตรวจในทันที่ เมื่ออธิบดี
กรมประมงหรือผู้ตรวจสอบต้องการ
             13.2 ต้องอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์ ขึ้นไปบนเรือเพื่อทำวิจัยเมื่ออธิบดีกรมประมงต้องการ
             13.3 ให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมและเพียงพอ แก่ผู้ตรวจหรือผู้สังเกตการณ์ในการปฏิบัติงานบนเรือ
       14. ห้ามทำการประมง รบกวน จับสัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนม หอยมุก ล็อบสเตอร์ที่มีไข่
เต่าทะเลและไข่เต่าทะเล ในเขตน่านน้ำพม่า
       15. ในกรณีที่สัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนม หอยมุก ล็อบสเตอร์ที่มีไข่ เต่าทะเลและไข่เต่าทะเลถูกจับหรือนำมาโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ระหว่างทำการประมง สัตว์เหล่านั้นหากยังมีชีวิตอยู่จะต้องปล่อยในทันที
      16. ห้ามใช้สารพิษ ระเบิด สารที่ทำให้มึน สารเคมี หรือเครื่องกระแสไฟฟ้าในการทำประมง
       17. ห้ามกระทำการใดกับชาวประมงท้องถิ่นอันเป็นสาเหตุให้สูญเสียหรือทำลายเรือประมง เครื่องมือประมง และผลจับสัตว์น้ำของชาวประมงท้องถิ่น
      18.  ผู้รับสัมปทานหรือไต้ก๋งเรือประมงต่างชาติจะต้องจ่ายค่าชดเชยอย่างเป็นธรรมให้แก่ชาวประมงท้องถิ่น ในกรณีที่ตนทำให้เกิดความสูญเสียหรือเกิดความเสียหายแก่เรือประมง เครื่องมือประมงหรือปลาที่จับได้ของชาวประมงท้องถิ่น
     19.  ห้ามทิ้งหรือปล่อยสิ่งมีชีวิต สิ่งของหรือวัตถุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือทำการประมง อันอาจเป็นเหตุให้เกิดภัยอันตรายแก่ปลา สัตว์ทะเลและสิ่งแวดล้อมในทะเล จากเรือต่างชาติลงไปในน้ำ
      20. ไต้ก๋งเรือทุกลำในเขตน่านน้ำพม่า ต้องแน่ใจว่ารักษาระยะให้เรืออยู่ห่างจากเครื่องมือทำการประมงของเรือลำอื่น ไม่น้อยกว่า 0.5 ไมล์ทะเล ตลอดเวลา
     21.ไต้ก๋งของเรือจะต้องเก็บรักษาบันทึกรายงานในรูปแบบที่อธิบดีกรมประมงต้องการ

     22. ไต้ก๋งเรือต้องส่งผ่านบันทึกรายงานหรือแบบฟอร์มตามที่ต้องการไปยังอธิบดีกรมประมงตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาต ในช่วงใดก็ได้ตามคำร้องขอของอธิบดีกรมประมงหรือผู้ตรวจสอบ
       23.เรือประมงต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องชักธงของประเทศตนและธงชาติสหภาพพม่าตลอดเวลาในขณะอยู่ในเขตทำการประมงของพม่า

      24.ห้ามเรือประมงที่มีใบอนุญาต ใช้เครื่องมือประมง ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อติดตั้งที่เรือ ยกเว้นเครื่องมือที่ติดตั้งอย่างถาวรและเป็นเครื่องหมายให้เห็นเด่นชัดสำหรับเลขที่ใบอนุญาตของเรือนั้น

      25. บุคคลที่เป็นไต้ก๋งและลูกเรือทุกคน จะต้องระมัดระวังด้านความปลอดภัยให้แก่
ผู้ตรวจสอบหรือผู้สังเกตการณ์ทุกคนไว้ก่อน
      26.ก่อนออกจากเขตน่านน้ำทำการประมงพม่า เรือประมงต่างชาติต้องผ่านการตรวจสอบครั้งสุดท้ายที่ท่าเรือหรือสถานที่ที่กำหนด

      27. ภายหลังการตรวจสอบครั้งสุดท้าย เรือต้องออกจากเขตน่านน้ำทำการประมงพม่า
โดยตรง และไม่ทำการประมงหรืออยู่ในสภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงก่อนออกจากน่านน้ำ

     28. เงินค่าประกันความเสียหายหรือความปลอดภัยที่ผู้ประกอบการได้วางไว้ จะนำมาใช้จ่ายเป็นค่าปรับหรือค่าชดเชยใด ๆ ซึ่งเป็นผลเกิดจากการกระทำของเรือต่างชาติได้
     29.ผู้ประกอบการต้องนำเงินประกันความเสียหายมาวางเพิ่มเติมให้ครบเต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ ในกรณีที่เงินค่าประกันดังกล่าวถูกใช้จ่ายไป
     30. ห้ามใช้อวนลากปลาและอวนลากกุ้ง ที่มีขนาดตาอวนก้นถุงเล็กกว่า 2.50 นิ้ว
และห้ามใช้อวนล้อมที่มีขนาดเล็กกว่า 4 นิ้ว
     31.ห้ามเรือประมงขนส่งปลาที่ยังมีชีวิตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมประมง

     32. เจ้าของเรือต้องรับผิดชอบรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบทะเบียนเรือ
     33.ต้องแจ้งตำแหน่งเรือในแต่ละวันเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังอธิบดีกรมประมง หรือ
สำนักงานที่เกาะสอง หรือสำนักงานใหญ่ที่กรุงย่างกุ้งทุกวัน รายงานดังกล่าวควรระบุว่าเรือกำลังเดินทางไปยังพื้นที่ทำการประมง อยู่ในพื้นที่ทำการประมง หรือกำลังเดินทางออกจากพื้นที่ทำการประมงไปยังจุดตรวจที่เกาะสอง
    34. ระยะเวลาเวลาทำการประมงใน 1 รอบ ที่ทำการตรวจก่อนเข้า (check in) และตรวจก่อนออก (check out) ไม่ควรเกิน 1 เดือน (30 วัน) ในเขตน่านน้ำประมงพม่า
    35. จากจุดตรวจที่เกาะสอง สามารถเดินเรือผ่านไปยังแนวอาณาเขตได้โดยผ่านจุดตรวจที่อยู่ทางเหนือตรงไปเกาะ 5เกาะและเกาะ Cock burn
   36. เรือประมงทุกลำต้องติดตั้งระบบสัญญาณ VHF ช่อง 6
http://www.navy.mi.th/thaiasa/boat33.html

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15402เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท