อะไรคือสังฆทาน


การให้สบายใจกว่าการรับ การให้สิ่งที่มีประโยชน์หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ย่อมดีกว่าการให้ในสิ่งที่ไร้ประโยชน์

   ทานในพุทธศาสนามี ๒ อย่างคือ ปาฎิปุคลิกทาน และสังฆทาน พุทธองค์ตรัสว่า สังฆทาน มีผลชั้นเลิศ เพราะฉะนั้น ชาวพุทธจำนวนมาก (ทั้งพระและฆราวาส) ในประเทศไทย จึงมุ่งที่จะถวายสังฆทาน นี้คือหลักการและปรากฎการณ์ทางสังคมพุทธ

   วันนี้เป็นวันสำคัญของมหาวิทยาลัย เราได้นิมนต์พระมาเพื่อเจริญพระพุทธมนต์ สิ่งที่เราต้องเตรียม นอกจากธนบัตรที่ใช้แลกเปลี่ยนปัจจัย ๔ แล้ว เรายังต้องเตรียมสังฆทานอีกด้วย ผู้รับคำบังคับบัญชา เห็นว่า สังฆทาน คือ สังฆทาน จึงไปซื้อเครื่องดื่มรังนกมาจำนวน ๙ ชุด เมื่อผู้บังคับบัญชาเห็นรังนก จึงคิดว่า นี้ไม่ใช่สังฆทาน จึงมอบหมายให้ผู้รับคำบังคับบัญชาอีกชุดหนึ่ง ไปซื้อสังฆทาน (ถังสีเหลือง ภายในบรรจุสิ่งของต่างๆ)

   แล้วอะไรคือ "สังฆทาน"

   ทานที่จะมีผลดีเลิศคือ ๑) ผู้ให้บริสุทธิ์ ๒) ผู้รับบริสุทธิ์ ๓) ของนั้นบริสุทธิ์

   แล้วอะไรคือ "ความบริสุทธิ์"

   ------------- ? ------------------

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาและปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 15401เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับอาจารย์ สงสัยอาจารย์จะทดสอบความรู้ผมในฐานะนักศึกษาหรือเปล่า? (อาจารย์สอบเปรียญ๗ได้ )

ผมว่าผู้บังคับบัญชาของอาจารย์เข้าใจผิดไปเยอะครับกับคำว่าทานหรือสังฆทาน (ซึ่งไม่แปลกเพราะคนไทยส่วนใหญ่จะเข้าใจผิด ) 

คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า ทานคือการให้ โดยไม่หวังผลตอบแทน จะsynonym กับคำว่าเสียสละ ถ้าแปลอย่างภาษากฎหมาย นะใช่ครับ ถ้าแปลจากภาษาธรรมไม่ใช่ครับ

ทานในภาษาธรรมคือการแบ่งปันความสุข แบ่งปันความสงบ แบ่งปันความบริสุทธ์  เพราะการแบ่งปัน ยิ่งแบ่งปันจะยิ่งมากเพิ่มพูน จะดลกำลังใจ(พละ๕ )ให้ทำความดีสืบไป  ทานเป็นหนึงในบุญกิริยาวัตถุ๑๐

ถ้าเราหงุดหงิดงุ่นง่าน เราจะไปแบ่งปันความสุขกับคณะสงฆ์เขาได้อย่างไร? แบ่งปันความโกรธ ความหลงเสียไม่ว่า?

รูปแบบของสังฆทานคือแบ่งปันความสุข/สงบ แบ่งปันความบริสุทธิ์ ให้กับคณะสงฆ์อย่างไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง ให้เขามีกำลังในการทำความดี เจริญธรรมและพระพุทธศาสนาสืบไป  ไม่ใช่ไป feed ท่าน

จึงไม่จำเป็นต้องเป็นกระป๋องเหลืองจุของใช้ อย่างมักง่าย อย่างขาดความประณีตแต่ประการใด

เป็นเพราะสังคมไทยขาดการจัดการความรู้มานมนาน คนไทยส่วนใหญ่มักง่าย ขนาดอดีตนายกรัฐมนตรี(คุณอานันท์ ปันยารชุน )ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อทีวีว่า

คนไทยมีค่านิยมเสียที่พึงปรับปรุงคือขี้เกียจ(มักง่าย )

ขี้อิจฉา และขี้โม้

แผ่เมตตาให้ผู้บังคับบัญชาเถิดครับ มาฝึกฝนตนเองและเยาวชนกันดีกว่า ปล่อยเชาไปตามเวรตามกรรมเขาเถิดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท