ใช้KM เป็นเครื่องมือในการทำงานพัฒนาการเกษตร ( 1 )


กำหนดเป้าหมายในการทำงานด้านการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดกำแพงเพชร

ใช้KM เป็นเครื่องมือในการทำงานพัฒนาการเกษตร ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

 

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 เวลา10.00-12.00 น. ณ.ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ผมมีโอกาสเข้าร่วมการประชุม เพื่อซักซ้อมความเข้าในการทำงานร่วมกัน ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยผู้แทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัด   ผู้แทนพัฒนาที่ดินจังหวัด  ผู้แทนชลประทานจังหวัด  ผู้แทนศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกำแพงเพชร  ประมงจังหวัด และ เกษตรจังหวัด

  ความเป็นมา 

  

               สืบเนื่องมาจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร  ได้มอบนโยบายให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัด   ได้ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชของเกษตรกร ให้ตรงกับศักยภาพความเหมาะสมของพื้นที่ และให้มีการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้เพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรด้วย  หากจะพูดตามความเข้าใจก็คือ  ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องการให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำจังหวัด ได้ทำงานเชิงบูรณาการ   หรือให้ทำงานร่วมกันนั่นเอง โดยยึดพื้นที่ ชุมชน  และเกษตรกร โดยให้มองศักยภาพของพื้นที่เป็นหลัก  มิใช่ต่างคนต่างทำ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรต้องคุยกัน  และวางแผนการทำงานร่วมกัน  หากมีการกำหนดเป้าหมายในการทำงานด้านการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดกำแพงเพชร  เฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เมื่อลงปฏิบัติงานตามกรอบ บทบาท ภารกิจ ของแต่ละหน่วย นั้น แยกส่วนกันทำ โดยไม่ได้คิดเป็นองค์รวม หรือการคิดเชิงระบบแล้วคงจะสำเร็จยาก เพราะฉะนั้นจึงมีการกำหนด โจทก์ขึ้นมา ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำจังหวัด ซึ่ง อาจจะเป็นในรูปของคณะทำงาน ขึ้นมา  โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อหาแนวทางในการแนะนำ ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตของเกษตรกร (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้ที่ดินตามศักยภาพความเหมาะสมกับการเพาะปลูกเดิมของเกษตรกร

   

การเตรียมการและสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน

   

1. นำผลการวิเคราะห์ของข้อมูลข้อมูลการเกษตรเชิงแผนที่ โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม การเพาะปลูกพืชของกรมพัฒนาที่ดิน เปรียบเทียบกับข้อมูลศักยภาพความเหมาะสมการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ (ข้าว) เพื่อหาพื้นที่ที่ทำการเกษตรไม่เหมาะสมเป็นรายอำเภอ

  

2. ทำการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากซ้อนทับแผนที่ (Overlay ) โดยวิธีเดินสำรวจด้วยเครื่องกำหนดตำแหน่งบนโลก GPS ( Global Positioning System ) เพื่อหาเกษตรกรเจ้าของที่ดิน/เกษตรกรที่ทำประโยชน์ในดินที่ทำการเกษตร ไม่เหมาะสม

   

3. ประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้เกษตรกรเป้าหมาย รับทราบข้อมูล สถานภาพการทำการเกษตร ของตนเอง และสุ่มตัวอย่างเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ

  

4.  ประชุมสัมมนาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ได้รับทราบรายละเอียดขั้นตอนดำเนินงาน และสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน ในระดับพื้นที่ กับเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด

  5. การกำหนดแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ระหว่างเดือนธันวาคม 2550-มิถุนายน 2551   โดยจะต้องมีการสร้างทีมงาน ผู้ปฏิบัติเพื่อดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์   การสนทนากลุ่ม และการสังเกต   พร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพควบคู่กันไปด้วย   และสำคัญที่เน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและชุมชนในพื้นที่เป้าหมายเป็นหลัก 

 

 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนอกรอบครั้งที่1 

                   จากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 ณ.ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ที่ผ่านมา  ถือว่าเป็นการเริ่มต้นแห่งความร่วมมือกัน   ระหว่างหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำจังหวัดประกอบด้วย   ผู้แทนเกษตรและสหกรณ์  ประมง  ชลประทาน   พัฒนาที่ดิน   ศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าว   เกษตรจังหวัด   จึงนับว่าเป็นการเริ่มต้นคิดกันในเชิงบวก ด้วยการแลกเปลี่ยน และหาแนวทางที่จะทำงานร่วมกัน  น่าจะพอมองเห็นงานที่จะทำร่วมกัน  หรืองานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ หากจะมองด้าน KM   ก็พอจะมองส่วนของหัวปลาคืออะไรและ ก็พอจะมองเห็นทีมงานที่จะทำงานร่วมกัน แต่ก็คาดหวังว่า แต่ละท่านน่าจะมาจากใจจริง หรือได้รับมอบหมายให้มาด้วยใจรักในงานที่จะทำงานร่วมกัน  พอจะมองเห็นเหล่า  คุณอำนวย  จากหน่วยงานต่างๆ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในครั้งนี้  และมีข้อสรุปร่วมกันก็มีการยกร่างแผนปฏิบัติงานร่วมกัน   แนวทางการทำงานร่วมกัน   การคัดเลือกพื้นที่ที่จะดำเนินการ   ตลอดจนการกำหนดวงเงินงบประมาณ ที่จะใช้ในการดำเนินการเป็นต้น   นับว่าเป็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

  ข้อสังเกตในเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้

              ความจริง เป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้มองเห็นแวว เหล่าคุณอำนวยของแต่ละหน่วยงาน  หากได้สร้างบรรยากาศที่ดีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  ซึ่งหาดูได้ยากในองค์กรของรัฐ  แม้จะพยามพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร โดยใช้ KM  เป็นเครื่องมือในการทำงานก็ตาม   แต่ในขณะเดียวกัน   หัวใจสำคัญ อีกประการหนึ่งก็คือ การพัฒนาองค์กรให้เป็นLO   ต้องควบคู่กันไปกับ KM  และต้องกระโดดข้ามหลุมดำที่เป็นทั้งหลุมใหญ่และหลุมเล็กให้ได้เสียก่อน    ถึงจะพัฒนาไปสู่ KM ตามธรรมชาติ หรือKM  สวมลงในงานปกตินั่นเอง    แต่ผมเองก็คาดหวังเช่นนั้น    แต่ก็ต้องเรียนรู้ไป และพัฒนาไปพร้อมๆกัน   หากจะถามว่ายากไหม ก็ขอตอบว่า จะว่ายากก็ไม่ยาก  จะว่าง่ายก็ไม่ง่ายเช่นกัน   แต่มีกิจกรรมให้ทำงานในเชิงรุก หรือมีเวทีปฏิบัติการ(Action )ร่วมกัน     ก็ดีกว่าตั้งการตั้งรับนะครับ   อย่างน้อยๆนักส่งเสริมการเกษตรระดับปฏิบัติการจะได้ทำงานอย่างมีเป้าหมายและการทำงานอย่างเป็นระบบ   เกิดการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ในการปฏิบัติงานในภาคสนาม  เกิดการทำงานเป็นทีมร่วมกับหน่วยงานอื่น  และการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดกำแพงเพชรน่าจะมีความเป็นไปได้สูง   หากเกิดการบูรณาการทุกระดับ   แต่ลึกๆในการจัดเวทีครั้งนี้เราไม่ได้เอ่ยถึงKM เลยครับ    แต่เรานำKM ไปเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันนั่นเองครับ   แต่เราตั้งความคาดหวังไว้ว่าน่าจะมีความเป็นไปได้สูงที่จะขยายแนวคิดของKM (สร้างเครือข่ายในการทำงาน) ไปสู่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำจังหวัดกำแพงเพชรได้ไม่ยากครับ  (โปรดติดตามตอนที่2) 

หมายเลขบันทึก: 153807เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2007 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

 P สวัสดีค่ะ ท่านพี่เขียวขจีมรกต

 

  • มีการวางแผน และการปฏิบัติงาน ที่เมื่อได้รับฟังแล้วน่าชื่นชมมาก ๆ ค่ะ
  • นำกระบวนการ KM มาใช้เพื่อพัฒนางานได้อย่างเป็นระบบ
  • ดีใจกับหน่วยงานการเกษตร ด้วยจริง ๆ ค่ะ ที่มี บุคลากรที่มีคุณภาพ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน และตั้งใจจริงอย่างท่านพี่

                                            "JasmiN"

 

  • ขอบคุณอ.Jasmin ที่ได้มาแวะเยือน
  • หากบริบทขององค์กรเอื้อต่อการพัฒนาเมื่อใด เราจะต้องเร่งดำเนินเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เมื่อนั้น เพราะว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีพื้นที่Action
  • การนำKM ไปเป็นเครื่องมือ ก็เช่นกัน สำคัญที่สุด คือการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและสร้างสรรค์งานร่วมกัน  และมีพื้นที่Action เช่นกันครับ

 

 

สวัสดีครับ พี่เขียว

  • มองรูปการณ์แล้วน่าจะไปได้ดี
  • แต่หน่วยงานอื่น..เขาเข้าใจ..จริงใจ..แค่ไหน
  • นั่นคือ..ตวามจริง..
  • ขอบคุณมากครับ
  • ขอบคุณครับพี่ไมตรีที่มาแวะทักทายกัน
  • เมื่อมีโอกาสก็ต้องลองครับพี่ไมตรี
  • เพราะว่ามีพื้นที่Actionแล้ว
  • เป้าหมายของเราก็คือ เข้าไปเรียนรู้ร่วมกับคนที่อยู่ในชุมชน
  • สำหรับทีมที่จะเกิดขึ้นคือผลพลอยได้ หากรวมทีมสำเร็จ ชุมชนก็ได้รับผลประโยชน์ หากสุดท้ายถ้ารวมทีมไม่ได้จริง เราก็จะได้รับคำตอบเช่นกัน งานนี้เป็นงานที่ท้าทาย ครับพี่ไมตรี
  • ยังไงหากมีความก้าวหน้าจะได้มาเล่าให้ฟังนะครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะพี่เขียวมรกต

         ดีใจที่ได้เข้ามาอ่านบล็อกของพี่ ในโอกาสหน้าคงได้แลกเปลี่ยนความรู้กับพี่ค่ะ เพราะปุยเองก็ทำงานด้านสหกรณ์ แต่ส่วนงานของพี่ทำเกี่ยวกับเกษตร และขออนุญาตนำบล็อกเข้าแพลนเน็ตค่ะ  ขอบพระคุณมากค่ะ

  • สวัสดีครับน้องปุย
  • รู้สึกยินดีมาก ที่เข้ามาแวะทักทายและลปรร.ครับ
  • เกษตรและสหกรณ์  ก็มีเป้าหมายเดียวกันครับคือเกษตรกรและกลุ่มอาชีพทางการเกษตร
  • ขอบคุณครับ

เครื่องมือๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆนะมีใหมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท