ข้าวหอมมะลิไทย(ตอนจบ)


ข้าวดีของไทย ไปทั่วโลก

       ครับวันนี้มาว่ากันต่อด้วยเรื่องข้าวหอมมะลิไทย และเทคนิคต่างๆในการทดสอบว่าพันธุ์ ไหนแท้หรือปลอม ลองอ่านกันดู นะครับ หลังจากติดค้างมาหลายวันและคั่นรายการด้วยดอกกล้วยไม้สวย ไปแล้ว หนึ่งบันทึก

     ความหอมของข้าวหอมมะลิไทย ดังกล่าวจากตอนแรก ข้าวหอมมะลิไทยมีความหอมเหมือนใบเตย ความหอมนี้ไม่ไดมีเพียงในเมล็ดข้าว แต่จะพบได้ทั้งใน ต้นใบ และเมล็ดทุกระยะของการเจริญ เพราะในวันนี้ข้าวหอมมะลิไทย การเติบโตของต้นข้าว ในแปลงตกกล้า ในช่วงที่เข้าตั้งท้อง ข้าวออกดอก จนก่อนเก็บเกี่ยว ซึ่งกลิ่นหอมนี้จะเป็นสารหอมระเหยออกมาจากต้นข้าวและใบข้าว โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนและแสงแดดจ้า เพราะวันที่อากาศร้อน น้ำในต้นที่ระเหยออกจากใบจะนำความหอมออกมาด้วยเช่นกัน ดังนั้นความหอมที่อยู่ในเมล็ดข้าว หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว การเก็บรักษาความหอมนี้ สมควรต้องเก็บในที่มีอากาศเย็น เพื่อหยุดการระเหยของความหอมออกไปจากเมล็ดข้าวในโรงเก็บ และในขณะนี้ได้มีการพัฒนาการเก็บรักษาผลผลิตข้าวหอมมะลิไว้ให้ได้นานมากกว่า 1 ปี เป็นการเก็บรักษาไว้ในสภาพที่มีการเป่าลมเย็นผ่านชั้นล่างของโรงเก็บ ให้อุณหภูมิชั้นล่างเย็นถึง 16 องศาเซลเซียล และอากาศชั้นบนกองเก็บมีอุณหภูมิประมาณ 18-19 องศาเซลเซียล

ความแตกต่างของข้าวหอมมะลิไทย กับข้าวหอมพันธุ์อื่นๆ จะต้องจำแนกให้ได้โดยเฉพาะวิธีง่ายและรวดเร็วเพราะในวันนี้ ข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในระดับโลก ด้วยความพิเศษของคุณลักษณะต้องตาต้องใจผู้บริโภคทั้งภายในและต่างปะเทศและยังนำเงินตราต่างประเทศได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท การปลอมปนเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดภายในประเทศหรือต่างประเทศ เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข

การจำแนกความแตกต่างของข้าวหอมมะลิพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และกข 15 ในวันนี้มีวิธีทางเคมีและทางชีวภาพที่ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก แต่วิธีทางกายภาพต้องใช้ความชำนาญเฉพาะตัวจากประสบการณ์ของผู้ใกล้ชิด และการถ่ายทอดความชำนาญพิเศษนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

       มีเก็ดความรู้ เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณานำไปใช้ฝึกฝน ทดสอบความสามารถในการจำแนกข้าวหอมมะลิ จากข้าวหอมมะลิอื่นๆ และข้าวขาวทั่วไป โดยวิธีการสัมผัส ขอเรียกวิธีนี้ว่า ขาว-นวล-เนียน-แป้งข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

1. ตรวจดูเมล็ดข้าวในถุงบรรจุ หรือดูจากพื้นข้าว จากความยาวเรียว ความใส ของเมล็ดข้าวสาร มีจุดขาวของท้องไข่น้อย หรือเกือบไม่พบ ดูจากสีของเมล็ดข้าวสาร จะมีสีขาวใสและนวลเนียนสม่ำเสมอเกือบทุกเมล็ด

2.ตรวจดูจากการสัมผัส ใช้มือลูบนวลของแป้งข้าวทั้ง 2 ชนิด จากนั้น ลูบบนนิ้วที่มีนวลแป้งข้าวติดอยู่

ถ้าเป็นข้าวหอมมะลิไทยแท้ นวลแป้งที่อยู่บนนิ้วจะเนียนละเอียดจนสัมผัสรู้สึกไม่สะดุดเม็ดแป้งแต่อย่างใด

- ถ้าไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทย การสัมผัสนวลแป้งจะรู้สึกสะดุด สัมผัสพบเมล็ดแป้งเล็กๆอยู่บนนิ้วสัมผัส

3. ตรวจดูจากการดมความหอม เป็นวิธีที่เคยใช้ แต่ขณะนี้ความน่าเชื่อถืออาจลดลง เพราะความเชื่อมั่นในเชิงการค้า ต้องการความมั่นใจในเชิงวิทยาศาสตร์มากกว่า

หมายเหตุ กข 15 ข้าวหอมมะลิคู่แฝด เป็นข้าวที่มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ จากข้าวหอมมะลิ พันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 โดยวิธีชักนำให้เกิดการกลายพันุ์ จนได้พันธุ์ข้าวที่มีลักษณะความนุ่มและหอมเหมือนกัน ข้าวพันธุ์นี้สามารถออกดอกและสุกก่อนข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 10-15 วัน ด้วยเหตุเพราะเก็บเกี่ยวไม่ทัน

    ครับคงจะสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์แก่นักส่งเสริมการเกษตรและสมาชิกบ้างในการเลือกซื้อข้าวหอมมะลิ ขอบคุณมาก สวัสดีครับ…………

หมายเลขบันทึก: 153605เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • สวัสดีค่ะ
  • คราวนี้หละได้ทานข้าวหอมมะลิของแท้แน่นอน
  • ขาว  นวล  เนียน  หอม  ของแท้  ฟันธง
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลและคำแนะนำค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่เกษตรยะลา

  • เรื่องข้าวนี่
  • ไม่ธรรมดาเลยนะคะ
  • ที่ปางมะผ้า มีศูนย์วิจัยข้าวด้วยค่ะ
  • ยายกาแฟก้เลยพึ่งรู้ว่ามี
  • กรมข้าวด้วย
  • ข้างที่เขาทดลอง ที่นี่
  • เห็นมีหลายสายพันธ์มากค่ะ
  • ไปปั่นจักรยานเกือบทุกวัน
  • ช่วงนี้ศูนย์วิจัย เริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว
  • เลยดูแหว่ง ๆ ไป
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีครับ..ครูรักษ์      P

  • น่ากลัวจะหาข้าวหอมมะลิไม่เจอ
  • มีแต่ข้าวผสม ข้าวมะลิ 5%
  • ครูรักษ์ ชอบ....กินข้าวหอมใบเตย  แทนก็ได้
  • เลือกเป็นแน่นะ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ   หมอกุ้ง   P

  • กรมการข้าวมีมาก่อน พศ.2500
  • ต่อมายุบรวบกับกรมกสิกรรม
  • ตั้งเป็นกรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อ 2521
  • และเมื่อปีที่แล้วตั้งกรมการข้าวขึ้นมาใหม่
  • เดิมสถานีทดลองข้าว ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว
  • อยู่กับกรมวิชาการเกษตร ศึกษาวิจัย ค้นคว้า ทดลอง เรื่องข้าว ทั่งระบบ
  • หอยโข่งแต่งงานแล้วยัง ครับ
  • ขอบคุณมากครับ ว่าเสียยาว

สวัสดีครับคุณเกษตรยะลา

                  ถ้าหากเราเอาความหอมของต้นใบข้าวหอมมะลิไปทำอย่างอื่นได้บ้างจะดีครับ...

                                         ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ  นายช่างใหญ่

  • บ้านเราปลูกแล้วไม่หอมครับP
  • เอาจากส่วนอื่น  มาใช้ได้คงจะดี
  • รอเก็บเกี่ยวผลผลิตดีกว่า
  • เอาจากใบเตยดีกว่า  มั่ง
  • เป็นข้าวเฉพาะที่ เฉพาะถิ่น
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ

 ชอบกินข้าวหอมมะลิ หุงร้อนๆ กลิ่นหอมฉุย คลุกน้ำพริก กินกับผักต้ม และปลาทูทอด ก็อร่อยเหาะ

  แต่นายช่างใหญ่บอกว่าจะดีกว่านั้น ถ้าสกัดความหอม ของต้นใบข้าวหอม ดีเหมือนกันนะ แล้วอย่าลืมจดลิขสิทธิ์ ก่อนใครๆจะมาฉวยโอกาสเสียก่อนล่ะ

สวัสดีครับ  หมอ

  • กินข้าวหอมมะลิ หอม เหนียว นุ่ม  ชอบ
  • เลือกซื้อให้ได้ตามมาตรฐานP
  • ระวังข้าวปลอมปน
  • นายช่างคิดที่ทำงานใหม่..ก่อน.. เร็วๆนี้
  • ขอบคุณมาก
  • สวัสดีครับพีไมตรี
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่นำมาแบ่งปัน
  • เมื่อได้อ่านและทำความเข้าใจกับข้าวหอมมะลิแล้ว ทำให้ผมนึกถึงอดีตเมื่อ2 ปีที่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนมูลนิธิฮักเมืองน่าน จ.น่าน โดยคุณดอกเสี้ยวเป็นผู้ประสาน และเขาเปิดโอกาสให้นักวิจัยชุมชนเป็นผู้นำเสนอพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเป็นผู้ผสมพันธุ์และทำการวิจัยพันธุ์ข้าวเอง พบว่า มีพันธุ์ข้าวเหนียวหอมมะลิ ครับพี่ไมตรี รวงใหญ่ เมล็ดยาว แต่เป็นข้าวเหนียวนะครับ
  • หากสนใจเชิญลปรร.กับคุณดอกเสี้ยว ณ.เมืองน่านได้นะครับ

สวัสดึครับ                P

  • ขอบคุณมากที่เข้ามาแลกเปลี่ยน
  • ข้าวเหนียวหอมมะลที่เมืองน่าน รวงใหญ่
  • เมล็ดยาว  กลิ่นหอม น่าสนใจ นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท