ฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี


หัวใจนักปราชญ์ประกอบด้วย สุ จิ ปุ ลิ

อยู่ที่การฟังเป็น  วันนี้ผมจะขอนำเสนอเรื่องของการฟัง ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจนักปราชญ์ ประกอบด้วย สุ จิ ปุ ลิ ซึ่งสุคือการฟัง   จิ คือการคิด    ปุ คือการถามหรือกระตุ้น   ลิ คือการเขียนและจดบันทึก ในปัจจุบันนี้สังคมเรา   ในหน่วยงาน  องค์กรเรา ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวเดียวกันก็ตาม มักจะมีเรื่องที่ไม่เข้าใจกันอยู่มาก และมีแนวโน้มจะทวีมากขึ้นเรื่อยๆ    หากเราลองวิเคราะห์ดูแล้ว  สาเหตุแรกน่าจะมาจากขาดการฟัง หรือว่าฟังแล้วฟังไม่เป็นนั่นเอง 

  จุดประสงค์ของการฟัง 

 

 

              การฟังที่ดีผู้ฟังจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ไว้ในใจเสียก่อน โดยทั่วไปมักมีจุดประสงค์ใหญ่ๆ 3 ประการคือ(1) ฟังเพื่อให้เกิดความรู้และความรอบรู้ (2) ฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม ซึ่งเป็นที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังมีวิจารณญานในการฟังเป็นสำคัญ  คือฟังอะไรแล้ว  ต้องเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักไตร่ตรองว่า สิ่งที่ตนได้ฟังมานั้นมีเหตุผลสมควรเชื่อถือหรือไม่ อันเป็นการฝึกให้เป็นคนสุขุมรอบคอบ ไม่เชื่อในสิ่งใดอย่างงมงาย  (3) ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน และซาบซึ้ง เป็นการฟังด้วยความนิยมชมชอบ  ผู้ฟังจะได้รับทั้งความสนุกสนาน และความเพลิดเพลิน การฟังอย่างนี้ถือเป็นการตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด

  

การเป็นผู้ฟังที่ดี

  

            การฟังเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตของบุคคลทั่วไป   เราควรจะทราบของการเป็นผู้ฟังที่ดี  มีดังนี้

 

1.  มีสมาธิในการฟัง   การมีสมาธิเป็นสิ่งจำเป็นในการฟัง ผู้ฟังต้องตัดความวิตกหรือความกังวลใจต่างๆออกจากจิตใจให้หมด  ฉะนั้นทุกครั้งที่ฟังเรื่องใดก็ตาม ผู้ฟังต้องหมั่นฝึกความมีสมาธิให้แก่ตนเอง  พยายามพุ่งความสนใจไปในเรื่องที่ตนกำลังฟังนั้น

  

2.  ตั้งจุดมุ่งหมายในการฟัง  ในการฟังแต่ละครั้ง ผู้ฟังควรตั้งจุดมุ่งหมายไว้ว่าจะฟังเพื่ออะไร  เช่นฟังเพื่อจับใจความสำคัญ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน เป็นต้น  การฟังอย่างไร้จุดมุ่งหมายย่อมเสียเวลาในการฟัง

   

3.วิเคราะห์เจตนาของผู้พูด คือต้องรู้จักวิเคราะห์เจตนาของผู้พูดว่า ผู้พูดมีความประสงค์อย่างไร มีสิ่งใดแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในเรื่องที่พูดหรือไม่

  

4. สนใจและจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังให้ได้  คือขณะฟังต้องรู้จักใช้สติปัญญาวิเคราะห์ดูว่า ผู้พูดกำลังพูดเรื่องอะไร ให้สารประโยชน์อะไรบ้าง เรื่องที่ฟังนั้นมีประเด็นสำคัญอย่างไร แล้วพยายามสรุปความคิดรวบยอดให้ได้

  

5. ต้องวางใจเป็นกลางไม่มีอคติใดๆต่อผู้พูด   การมีอคติและการจับผิดผู้พูดย่อมมีผลเสียมากกว่าได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับผิดเล็กๆน้อยๆ  เช่นการแต่งกาย การพูดซ้ำๆซากๆ ในบางคำ ฯลฯ เพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึก ว่าเรื่อที่กำลังฟังนั้นเป็นเรื่อน่าตำหนิ ควรสร้างเจตคติที่ดีต่อผู้พูดเสมอ การทำใจได้เช่นนี้ จะทำให้บรรยากาศการฟังเป็นไปอย่างราบรื่นและเข้าใจดี

  

6. ฟังด้วยความอดทนและตั้งใจฟัง   ต้องอดทนและตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ การฟังอย่างครึ่งๆกลาง หรือฟังเพียงบางตอน ย่อมทำให้ไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้อย่างสมบูรณ์

  

7. ฟังอย่างสำรวม ให้เกียรติผู้พูด และมีมารยาทอันดีงาม   นับเป็นคุณสมบัติของผู้ฟังที่ดี  การรู้ว่าสิ่งใดควรไม่ควร เช่นการลุกเข้าออก การทำเสียงเอะอะ นับเป็นกิริยาที่ไม่เหมาะสม ถือว่าไม่ให้เกียรติผู้พูด และเป็นการเสียมารบาทอย่างยิ่ง การฟังในห้องหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรลุกออก แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ควรทำความเคารพผู้พูดเสียก่อน ไม่พยายามถามสอด ควรฟังเรื่องที่ผู้พูด ต้องการพูดให้หมดแล้ว จะซักถามหรือแสดงความคิดเห็นก็ควรถามภายหลัง

  

8. ใช้ศิลปะในการฟัง  ผู้ฟังที่ดีไม่ควรฟังอย่างเดียว   ควรใช้ไหวพริบในบางโอกาส เพื่อช่วยให้ผู้พูดสามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดของตนไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทาง ตามที่ผู้ฟังต้องการโดยใช้คำถามนำไปสู่จุดที่ผู้ฟังต้องการ

 9. ขณะฟังควรบันทึกสิ่งสำคัญ  หากสงสัยหาโอกาสซักถามให้เหมาะสม   

10. หลังการฟัง ผู้ฟังควรมีเวลาคิดทบทวน   ว่าเรื่องราวต่างๆ ที่ฟังไปนั้นตรงกับข้อเท็จจริง และมีเหตุผลน่าเชื่อถือเพียงใด มีสิ่งใดจะนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่ และรู้จักนำความรู้หรือข้อคิดต่างๆที่ได้จากการฟังไปใช้ประโยชน์ ตามโอกาสอันสมควร

            ท้ายสุด เราคงจะต้องฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี เสียก่อน แล้วค่อยๆพัฒนาของการคิด    การถาม และการเขียน  สมกับเป็นการฝึกปฎิบัติตามหัวใจนักปราชญ์ ต่อไปครับ
หมายเลขบันทึก: 153033เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2007 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ

  • ผมคิดว่าจะนำเสนอเรื่องนี้แก่เจ้าหน้าที่ ในเวที DW
  • เดี๋ยวนี้ เขาฟังอย่างเดียวไม่จดไม่จำ ไม่คิด ไม่จับประเด็น
  • เลิกประชุม จบ ไม่รู้เรื่องซักอย่าง...เหนื่อย
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • ขอบคุณที่มาแวะเยือน
  • เห็นด้วยครับพี่ไมตรี ควรจะเริ่มต้นทำความเข้าใจกับบุคลากร ในเรื่องที่มันใกล้ตัวก่อน ในองค์กรเรา บางครั้งก็พบบริบท อย่างพี่ไมตรีว่าเหมือนกันครับ
  • ทำยังไงก็คงจะต้องพัฒนาไปจนถึงที่สุดครับพี่ หากเหนื่อยเราก็หยุดพักเอาแรงก่อน หายเหนื่อยเมื่อใด กำลังใจมา ค่อยสู้ต่อครับ
  • ขอให้กำลังใจแก่ทีมยะลาครับผม

สวัสดีครับพอดีแวะเข้ามาถึงเรื่อง การเป็นผู้ฟังที่ดี

พอดีได้สนทนากับรุ่นพี่ครับแล้วผมก็ได้ข้อคิดว่าตัวผมเองเป็นผู้ฟังที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควรเนื่องจากว่าเป็นคนที่ ถ้านึกคำถามได้เนี่ยก็จะถามเลยเพราะกลัวลืมด้วย

เลยอยากถามว่าพอจะมีวิธีแก้บ้างไหมครับ นอกจากการจดบันทึกเพื่อถามที่หลัง

ดีมากเลยครับ มีสาระน่ารู้จริงๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท