บทเรียนจากการ "สอนงาน" (9 สรุปบทเรียนของการ Coaching)


ผลที่เกิดขึ้นจากการสอนงาน หรือ Coaching ก็คือ ช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและช่วยให้เจ้าหน้าที่มีทักษะในการทำงานส่งเสริมการเกษตร.....

   [8 การใช้ Coaching ใน KM] 

     การสอนงาน หรือ Coaching ในงานส่งเสริมการเกษตร หมายถึง  เป็นการช่วยเหลือหรือถ่ายโอนประสบการณ์และความรู้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถเกี่ยวกับวิธีการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการทำบทบาทของตนเองกับเกษตรกรได้บรรลุผล  มีประสิทธิภาพ  มีประสิทธิผล  และมีความสุขกับการทำงาน 

     การสอนงาน หรือ Coaching  ที่ได้ผล นั้นมาจากการช่วยเหลือ  การให้คำแนะนำ  การให้กำลังใจ  และการให้โอกาสในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอย่างเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพ  ถ้าพบว่าผลที่เกิดขึ้นไม่บรรลุผลก็เสมือนว่าเป็นบทเรียนให้เรียนรู้ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่มีความรู้ที่ถูกต้องในการทำงาน  นอกจากนี้ การสอนงาน หรือ Coaching ยังเป็นวิธีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ที่ง่าย  ประหยัด  มีประสิทธิภาพ  มีประสิทธิผล  และมีความสุข

     หลักการในการสอนงาน หรือ Coaching ได้แก่  มีการค้นหาศักยภาพเพื่อกำหนดเป้าหมาย  มีการเสริมศักยภาพตามคุณลักษณะเพื่อให้เปล่งศักยภาพออกมาเต็มที่แล้วนำมาเป็นศักยภาพขององค์กร  และมีการให้ข้อมูลย้อนกลับ

     องค์ประกอบหลักในการสอนงาน หรือ Coaching  ประกอบด้วย 

        1.  Coach  คือ  ผู้ที่ทำหน้าที่สอนงาน เรียกว่า  โค้ช   ซึ่ง “การเป็นโค้ช”  ไม่ใช่แค่การสอนงาน แต่จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ถูกสอนงาน  และใช้กระบวนการฟัง  สังเกต  เรียนรู้  จับประเด็น  และให้ข้อมูลย้อนกลับในเรื่องผลงานที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกและด้านลบแก่ผู้รับการสอน ฉะนั้นจึงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์  ส่วนองค์ความรู้ที่ ผู้สอน หรือ Coach  ควรจะต้องมี เช่น  ทักษะในเรื่องของการทำบทบาท Facilitator,  ทักษะในเรื่องของการจัดการเรียนรู้,  ทักษะในเรื่องของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรบุคคล,  ทักษะในเรื่องอื่น ๆ ตามความจำเป็น ได้แก่  การบริหารจัดการ  และการสื่อสาร  เป็นต้น  ทั้งนี้เพราะ ผู้สอน หรือ Coach  จะต้องเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์หรือความรู้ที่ฝังลึกจากผู้มีประสบการณ์สูงกว่าไปยังผู้ด้อยประสบการณ์กว่า (วิจารณ์  พานิช  2550 : Gotoknow.Org)
        2.  Coacher คือ  ผู้ที่ทำหน้าที่ถูกสอนงาน เรียกว่า  ผู้ถูกโค้ช  โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ ลูกน้อง  แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่า ผู้ถูกสอนงาน หรือผู้ถูกโค้ช อาจจะเป็นเพื่อหรือใครก็ได้ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานในเรื่องนั้น
        3.  วิธีการและเครื่องมือการสอน (Coach) คือ  วัสดุ  อุปกรณ์  และวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้ เรียกว่า  สื่อการเรียนรู้ หรือสื่อการเรียนการสอน  ได้แก่  สถานการณ์จริง  การฝึกปฏิบัติ  และอื่น ๆ

       ผลที่เกิดขึ้นจากการสอนงาน หรือ Coaching  ก็คือ  ช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและช่วยให้เจ้าหน้าที่มีทักษะในการทำงานส่งเสริมการเกษตร  ทำให้เกิดความพึงพอใจและมีความสุขในการทำงานหรือปฏิบัติงาน  ช่วยในการพัฒนาสัมพันธภาพในระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน  และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการจัดฝึกอบรม.

         

         

คำสำคัญ (Tags): #การสอนงาน
หมายเลขบันทึก: 152800เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2007 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

  • ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว
  • โดยเฉพาะศัพย์เทคนิคต่างๆ เช่นโค้ชชิ่ง
  • และเกร็ดเล็กเกล็ดน้อย
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับอ.ศิริวรรณ
  • เห็นด้วยกับความหมายและผลที่เกิดจากการCoaching .
  • ใช่ครับได้ผลกว่าการฝึกอบรมแน่นอน
  • ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท