ที่มา...ที่ไปของจานแดง


ระลึกความหลังเกี่ยวกับการจัดการความรู้

    ได้เข้าไปเยี่ยมบล็อก beyond KM ของอาจารย์ประพนธ์  ในหัวข้อเรื่อง องค์กรตอนนี้ ใช้ Management เกินขนาด แต่ขาดภาวะผู้นำ  ผมรู้สึกว่าหลายองค์กรตอนนี้ ใช้ Management เกินขนาด แต่ขาดภาวะผู้นำครับ

    ดิฉันได้ตอบบล็อก อาจารย์ว่า จริงๆแล้วภาวะผู้นำน่าเริ่มสอนตั้งแต่เยาว์วัยกันก็น่าจะดี  เพราผู้บริหารนั้นเราไม่สามารถเลือกได้  อย่างน้อยถ้าให้เรียนรู้มาตั้งแต่เด็กๆ  คนที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารก็มีสิ่งที่สังคมต้องการติดตัวมาบ้างนั่นคือ "ภาวะผู้นำ"

    อาจารย์ประพนธ์ตอบว่า  “เห็นด้วยกับคุณจานแดง (Red-plate) เป็นอย่างยิ่งครับว่าเรื่องนี้น่าจะต้องพัฒนามาตั้งแต่เยาว์วัย(ช่วงนี้เป็นช่วงหลังไมค์นะครับ: . . . ทำไม มลฤดี ใช้นามแฝงว่าจานแดงล่ะครับ? . . . !)

    ได้ตอบคำถามอาจารย์เรื่องนามแฝง
  • เริ่มจากคำว่าจาน พจนานุกรมหมายถึง ภาชนะใส่สิ่งของต่างๆไว้สำหรับรับประทาน ก็เปรียบเมือนตัวเราเวลาเราหาความรู้เราต้องเตรียมพื้นที่ทั้งใจ และสมองไปรับความรู้ ความคิด ประสบการณ์ใหม่จากคนอื่น แต่พื้นที่ยอมมีจำกัดตามลักษณะจาน   อยู่ที่เราจะเลือกอะไรใส่จาน
  • ส่วนคำว่าแดง เป็นชื่อเล่นค่ะ  ดังนั้นจานแดงเปรียบเหมือน มลฤดีค่ะ
  • แต่ประเด็นที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นยุทธวิธีทางทหารที่เราจะไม่ใช้ชื่อจริงเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

      ประเด็นที่เขียนบล็อกนี้เพื่อที่ระลึกความหลัง

    เริ่มจากอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด เป็นผู้ทีทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ว่าการจัดการความรู้คืออะไรตั้งแต่ปลายปี 2547 โดยได้มีโอกาสเข้าไปร่วมโครงการการจัดการความรู้ในกลุ่มโรงพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง  ได้เรียนรู้การนำไปใช้ เครื่องมือต่างๆมากมาย กลยุทธ์ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัจจัยแห่งความล้มเหลว  ปฏิสัมพันธ์ของคนในการทำ KM  

     และสิ่งที่สำคัญได้เพื่อน (จริงๆ) ต่างที่ ต่างวัย เช่น คุณไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ(มน.) คูณสุกานดา เมฆทรงกลด(รพ.พิจิตร) คุณ เกษราภรณ์ ภักดีวงษ์ (โรงพยาบาลบ้านตาก) และอีกมากมายที่อยู่ในความทรงจำที่ไม่ต้องจำ(อยู่ในใจตลอดเวลาในฉายา "คุณอึด" จริงๆ สคส.เรียกว่าคุณอำนวย)    

        ขอขอบคุณอจารย์ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจเครื่องมือKMในวิจัยป.โท(จบแล้ว)  อาจต้องรบกวนอาจารย์อีกตอนป.เอก    

      สุดท้ายคงกราบขอบพระคุณ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช  ขอบคุณคุณธวัช  คุณอ้อ และทีมงานสคส.ทุกคน ที่เอื้อทั้งความรู้ ความเป็นกัลยาณมิตรในทุกๆ ด้าน

      สรุป การเรียนรู้ KMของดิฉันเกิดจากการเรียนรู้จากการนำไปปฏิบัติจริง โดยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องดังนี้  

  • การนำไปใช้จริงในงานระจำ และระดับทีม PCTในรพ. ที่ประสบความสำเร็จคือ KM in Med Error, KM in Perioperative, KM in C3THER ซึ่งขณะนั้นมีหน.PCT คือ คุณหมอธัญญ์ อิงคะกุล และทีมงานเภสัช และพยาบาล (ดา, แป๋ว,อิ๊ด,ติ๊ก......)
  • ทำวิทยานิพนธ์ในป.โท เรื่อง ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการความรู้ของพยาบาลกองทัพบก
  • เป็นทีมวิทยากร HKM และถูกเชิญไปเล่าประสบการณ์คุณอำนวย

      การเรียนรู้ KM คือรางวัลอันยิ่งใหญ่ทีดิฉันได้มีโอกาสได้รู้จักและใช้  เพราะที่สามารถตอบโจทย์(ที่แก้ยากในองค์องค์กร) KMไม่ทำ ไม่รู้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 152360เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2007 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

เพิ่งทราบเหมือนกันค่ะ ว่าเป็นกลยุทธทางทหารเพื่อป้องกัน รักษาความปลอดภัย

เพิ่งมารู้จัก KM จาก อ.ไพฑูรย์ ฝากความคิดถึงด้วยค่ะ ไม่ทำ ไม่รู้จักจริง ๆ ขอบคุณประสบการณ์อันล้ำค่าที่มอบให้ ขอบคุณจริงค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์เพชรน้อย

    จะบอกอาจารย์ไพฑูรย์ให้ค่ะว่าอ.เพชรน้อยฝากความคิดถึง และขอบคุณเกี่ยวกับประสบการณ์ KMที่มอบให้   อาจารย์ไพฑูรย์คงมีกำลังใจขึ้นเยอะเลยค่ะ  

  • มายิ้มๆๆ
  • ขอให้ทำปริญญาเอกต่อเสร็จเร็วๆๆนะครับ
  • เพิ่งทราบเหมือนกันว่าทำไมชื่อนี้

สวัสดีครับ..จานแดง

จริงๆมากเลยครับ km ไม่ลงมือปฏิบ้ติก็ไม่สามารถเข้าใจได้มากขึ้น...ตอนนี้ก็เลยคิดถึงจานแดงในเรื่องประสบการณ์มากเลยครับ

P 

ประสบการณ์หาได้จากการปฏิบัติจริงๆ รีบทำนะค่ะแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน

P

สวัสดี่ค่ะอาจารย์อ้อยขอบคุณค่ะที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะ ได้แวะชมปล็อกของอาจารย์เป็นประจำค่ะ  ได้ข้อคิดมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท