บูรณาการ Six Sigma, R2R, และ Lean ตอน 1


ปีนี้ โครงการส่งเสริมหัวหน้าหน่วยงานของคณะฯ ผ่านการทำโครงการพัฒนางาน มีกรอบการทำโครงการ ให้มุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ  และประกาศว่า หากโครงการใด ใช้กระบวนการหรือเครื่องมือ Six Sigma หรือ lean หรือ R2R  ก็จะได้แต้มบวกเพิ่ม !!

เห็นประกาศดังกล่าวแล้ว ก็ได้แต่ อุทาน (ในใจ) แทนหัวหน้างานหลายๆ คน...
โอ๊ะ  โอ๋ !  มีเครื่องมือตั้งหลายอย่าง เอ.. จะใช้อะไรดีหล่ะ?   หรือ  จะเลือกใช้เครื่องมืออะไรได้หล่ะ ก็ยังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร และทำอย่างไร ?  

เมื่อประมาณเดือนสองเดือนก่อน  ทางคณะฯ ได้เชิญ นพ.สิทธิศักดิ์  พฤกษ์ปิติกุล  จาก บริษัท ADLI  เจ้าพ่อคุณภาพคนคุ้นเคยของ มอ.  มาบรรยายเรื่อง Six Sigma ให้พวกเราฟัง 1 วันเต็มๆ  ทำให้ได้เข้าใจแนวคิดการพัฒนาคุณภาพงานตามกระบวนการของ Six Sigma พอสมควร  และ วิเคราะห์ได้ว่า กระบวนการดังกล่าว คือก็  R2R นั่นเอง

Six Sigma เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพประสิทธิภาพงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการกำหนดเป้าหมายผลลัพธ์ของกระบวนการเป็นค่าหนึ่ง  ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการ ประเมินโดยการ นับจำนวนผลผลิตที่มีตำหนิ (defect) หรือ ผิดพลาด ต่อผลผลิต 1 ล้านชิ้น (parts-per-million, ppm)  สำหรับบริการที่ไม่ได้วัดผลงานเป็นจำนวนชิ้นงาน ก็วัดเป็น จำนวนความผิดพลาดต่อหนึ่งล้านโอกาส (defect per million opportunities)  ระดับที่ดีที่สุดที่เป็นที่ใฝ่ฝันกันคือ 6 Sigma ซึ่งเทียบได้กับจำนวน defect 3.4 ในล้านโอกาส

กระบวนการพัฒนาของ Six Sigma มี 5 ขั้นตอนย่อว่า  DMAIC 

  • D= define  กำหนดปัญหา
  • M= measure วัดปัญหา และ ปัจจัยต่างที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ
  • A = analyze  วิเคราะห์ข้อมูลจากการวัดเชิงสถิติ รวมทั้งวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุแห่งปัญหา 
  • I = Improvement  ปรับปรุงกระบวนการ ตามผลการวิเคราะห์ และวัดผลหลังการปรับปรุง
  • C = control  รักษากระบวนการที่ปรับปรุงแล้วให้ดีค่อไป 

กระบวนการ  DMAIC ของ Sig Sigma เน้นการวัดผล ด้วยข้อมูลตัวเลขที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรง   มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ  เพื่อสรุปผลว่าอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา  แบบนี้ ก็คือ Routine to Research  (R2R) ดีๆ นี่เอง

เมื่อได้คำตอบว่าอะไรเป็นสาเหตุแห่งปัญหาจากการวิเคราะห์ข้างต้นแล้ว ก็นำผลสรุปนั้น กลับมาปรับปรุงกระบวนการ  จึงน่าจะเรียกได้ว่า นำผลวิจัย มาใช้จริง หรือ เป็น Routine to Research to Routine  (R2R2R)  แล้วก็เป็นวงจรการปรับปรุงการทำงานประจำด้วยกระบวนการวิจัยที่ไม่รู้จบนั่นเอง

แล้ว Lean หล่ะ เกี่ยวข้องกับ Six Sigma อย่างไร

โปรดติดตาม ในบันทึกต่อไปนะคะ…

 

หมายเลขบันทึก: 151652เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับกับความรู้เรื่อง Sig Sigma

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท