เรื่องเล่าจากเกาหลี : กิมจิ..กิมจิ..ตอนที่ 9 กลับสู่โซลชมพระราชวังเคียงบอก-พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเกาหลี


หากจะพิจารณาให้ดีแล้ว มีพระราชวังบางแห่งที่ปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้วครับ เหลือไว้แต่พื้นดินที่เป็นฐานของพระราชวัง นั่นเพราะในสมัยที่กองทัพองค์จักรพรรดิ์ของประเทศญี่ปุ่นบุกยึกครองเกาหลี ทหารญี่ปุ่นได้เผาพระราชวังแห่งนี้ไปบางส่วน เขาก็เลยนำเชือกมาขึงบอกตำแหน่งเดิมไว้ ว่าเคยมีพระราชวังอยู่ในที่นี่ หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็เข้ายึดครองเกาหลีใต้เป็นเวลากว่า 30 ปี จนถึง ค.ศ.1945 ก่อนจะถูกขับไล่ไป หลังญี่ปุ่นพ่านแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

พระราชวังเคียงบอก (Gyeongbokung Palace) เป็นหนึ่งในสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่ต้องเดินทางไปชมกันแน่นอนครับ พระราชวังเคียงบอกเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี ซึ่งสถาปนาโดยราชวงศ์โซยอน (Joseon Dynasty: 1394-1910) ก่อสร้างเมื่อ ค.ศ.1394 โดยจักรพรรดิ์เทโจว (King Taejo) ซึ่งจะเปิดให้เข้าชม 3 รอบด้วยกันครับ คือ เวลา 09.30 น. 12.00 น. 14.00 น. และ 15.00 น.

พระราชวังแห่งนี้เป็นพื้นที่กว้างขวางมากครับ ทราบว่ามีพระราชวังย่อยๆ อยู่ภายในเขตพระราชฐานอีกหลายสิบแห่ง เพื่อให้เป็นที่ประทับของบุคคลสำคัญต่างๆ เช่น พระมเหสี เหล่าประยูรญาติ เป็นต้น ภายในพระราชวังเราจะพบสถาปัตยกรรมสไตล์เกาหลี ทั้งสถาปัตยกรรมฝาผนังที่ดูแตกต่างจากสถาปัตยกรรมบ้านเราค่อนข้างมาก และสถาปัตยกรรมบนไม้สลักต่างๆ ที่ประกอบเป็นพระราชวัง

สถานที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชื่นชมการถ่ายภาพของนักท่องเที่ยวมากที่สุด คือ สถานที่เรียกประชุมเหล่าขุนนาง ซึ่งกว้างใหญ่มาก ที่แห่งนี้มีที่ประทับขององค์จักรพรรดิ์ และตำแหน่งต่างๆ ของเหล่าขุนนางให้ได้ชมด้วย ว่าจริงๆ แล้วใครอยู่ตรงไหนบ้าง ผมจำได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นฉากหลักของ

ภาพยนตร์เรื่อง King and The Clown ที่ลีจินกี พระเอกหน้าหวานแสดงเป็นนักแสดงละครเร่ ที่สวยและมีความสามารถ จนจักรพรรดิ์ประทับใจ โปรดให้เป็นนักแสดงส่วนพระองค์ เขาก็ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นฉากหลักของภาพยนตร์ด้วย

หากจะพิจารณาให้ดีแล้ว มีพระราชวังบางแห่งที่ปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้วครับ เหลือไว้แต่พื้นดินที่เป็นฐานของพระราชวัง นั่นเพราะในสมัยที่กองทัพองค์จักรพรรดิ์ของประเทศญี่ปุ่นบุกยึกครองเกาหลี ทหารญี่ปุ่นได้เผาพระราชวังแห่งนี้ไปบางส่วน เขาก็เลยนำเชือกมาขึงบอกตำแหน่งเดิมไว้ ว่าเคยมีพระราชวังอยู่ในที่นี่ หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็เข้ายึดครองเกาหลีใต้เป็นเวลากว่า 30 ปี จนถึง ค.ศ.1945 ก่อนจะถูกขับไล่ไป หลังญี่ปุ่นพ่านแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

การที่ญี่ปุ่นเข้ามาปกครองเกาหลีนั้น ทำให้เกิดบาดแผลเป็นรอยลึกระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้กันมานานพอสมควรครับ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 ชาติที่มักจะขัดแย้งกันเสมอ กลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ แต่ปัจจุบันความบาดหมางตรงนี้เริ่มเบาบางลงแล้วครับ โดยเฉพาะสำนึกของคนรุ่นใหม่ ที่ถือว่า ญี่ปุ่นและเกาหลีคือเพื่อนบ้านกัน

เราจะสังเกตเห็นว่า มีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางมายังเกาหลีใต้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว วัยนักเรียนนักศึกษาที่ต่างก็มาชื่นชมมรดกของชาวเกาหลี นอกจากนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ชาวไทยอย่างพวกเรา แล้วยังมีเกาหลีใต้ ที่มักจะพาเด็กๆ ในโรงเรียน เดินจูงมือกันเป็นกลุ่มๆ หน้าตาน่ารักมั๊กมากครับ โดยเฉพาะสมาคมคนรักเด็กทั้งหลาย วัยก็ 2-5 ขวบครับ นักท่องเที่ยวชอบกันใหญ่เลยครับ หันมาถ่ายภาพกับเด็กๆ กันทั้งนั้นเลยครับ

ย้อนไปก่อนเข้ามาชมพระราชวังนิดหนึ่งครับ จะมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเกาหลีให้ได้ชมก่อนครับ ด้านหน้าพิพิธภํณฑ์จะมีวัดขนาดใหญ่อยู่ด้วยครับ ทางเดินสองข้างทางประกอบด้วยไม้แกะสลักเป็นผีสางเทวดาที่คอยเฝ้ารักษา เหมือนผีบ้านผีเรือนที่คอยคุ้มครองเจ้าของบ้านนั่นแหละครับ ดูวัดแห่งนี้ใหญ่โตทีเดียวครับ

ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเกาหลีใต้ หรือ National Folk Museum of Korea เป็นพิพิธภัณธ์ที่แสดงวิถีชีวิตพื้นบ้านดั้งเดิมของชาวเกาหลีใต้ในช่วงราชวงศ์โจวชอน เช่น การแต่งกายของราชวงศ์ต่างๆ การทำนา การทำสวน การทำกิมจิ วัตถุโบราณต่างๆ มากมาย ซึ่งทำให้เราเข้าใจรากเหง้าของชาวเกาหลีมากขึ้น

มาบริเวณแห่งนี้แล้ว ระหว่างทางเดินทางไปพระราชวังเคียงบอก ก็อย่าลืมเลยไปยังอนุเสาวรีย์สันติภาพของชาวเกาหลีด้วยนะครับ ซึ่งสร้างเป็นประติมากรรมนกฟินิกซ์ ซึ่งสร้างอยู่ในวงเวียนอยู่สุดขอบถนนครับ ฉากหลังก็เป็นภูเขาหินแกรนิตตั้งตระหง่านอยู่อย่างน่าเกรงขาม

ส่วนถนนที่เข้าสู่พระราชวังแห่งนี้ เรียกว่า ถนนเซจองโน เป็นถนนที่เขาห้ามถ่ายภาพครับ โดยเฉพาะจุดที่ผ่านทำเนียบผู้นำเกาหลีใต้ เขาตรวจอย่างเข้มงวดครับ อย่าคิดว่าจะรอดพ้นสายตาเจ้าหน้าที่ไปได้ครับ เหตุที่เขาต้องระวังมาก เพราะเกรงว่าสายลับเกาหลีเหนือจะแฝงตัวมาในคราบนักท่องเที่ยว เข้ามาเพื่อถ่ายภาพนำไปเป็นข้อมูลทางการทหาร เขากลัวมากๆ ครับ


คำสำคัญ (Tags): #เกาหลีใต้
หมายเลขบันทึก: 151347เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2007 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท