ประวัติเงาะโรงเรียน


เมืองเงาะ

เงาะโรงเรียน

เมืองเงาะอร่อย

เมืองร้อยเกาะ  เงาะอร่อย  หอยใหญ่  ไข่แดง  แหล่งธรรมมะ  หลายท่านทราบว่าเป็นคำขวัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี  อันบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ    เพื่อเผยแพร่ประวัติความเป็นมาของเงาะ  พันธ์โรงเรียน อันเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวสุราษฎรธานี  เนื่องจากผลตอบแทนที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกยางพาราหรือปาล์มน้ำมันที่ราคาดีในหลายปีที่ผ่านมา  ส่งผลให้พื้นที่ปลูกเงาะลดลงเรื่อยๆ  ก่อนจะเป็นเพียงตำนานแหล่งกำเนิดของเงาะโรงเรียนอันเลื่องชื่อ ทั้งรูปลักษณ์ สีสันสวย  รสชาติดี มีความหวาน  หอม กรอบเนื้อล่อน  ที่มีความแตกต่างกับเงาะโรงเรียนที่ปลูกนอกพื้นที่อำเภอบ้านนาสาร  จังหวัดสุราษฎรธานี  จึงได้รวบรวมข้อมูลประวิติความเป็นมาของเงาะโรงเรียนสังเขปดังนี้

เมื่อปี  พ.ศ.2469  นายเคหว่อง  ชาวจีน  สัญชาติมาเลเซียได้ย้ายภูมิลำเนาจากเมืองปีนังมาทำเหมืองแร่ดีบุก  ที่หมู่บ้านเหมืองแกะ  ตำบลนาสาร  อำเภอบ้านนาสาร  และได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกเป็นครั้งแรกที่ตำบลนาสาร  โดยปลูกบริเวณทางเหนือ  ใกล้กับอาคารบ้านพักหลายต้นต่อมานายเคหว่อง  ได้ล้มเลิกกิจการเหมืองแร่  และเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเมืองปีนัง  จึงได้ขายที่ดินจำนวน   18   ไร่ให้กับกระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)  ที่ดินแปลงดังกล่าวมีต้นเงาะโรงเรียนรวมอยู่ด้วยต้นหนึ่ง  ในสมัยนั้นโรงเรียนนาสารตั้งอยู่ที่วัดนาสาร ทางราชการจึงได้ย้ายโรงเรียนไปอยู่ตรงตรงบริเวณที่ซื้อใหม่เมื่อวันที่  17  พฤศจิกายน   พ.ศ.2479  และต้นเงาะที่นายเคหว่องปลูกไว้นั้นก็เจริญขึ้นเรื่อยๆจนกระทั้งติดดอก  ออกผลและเป็นเงาะเพียงต้นเดียวที่มีลักษณะพิเศษกว่าต้นอื่นๆ   คือ เมื่อสุกแล้วเปลือกผลมีสีแดง  ถึงแม้จะสุกสักเท่าใดปลายขนก็ยังคงมีสีเขียวอยู่  รูปร่างผลกลมรีเล็กน้อย  เปลือกบาง  เนื้อหนา  รสหวานหอม  กรอบและล่อน  จึงเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไป  ด้วยเหตุนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของเงาะพันธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในปัจจุบันและชาวบ้านขนามนามทั่วไปว่าเงาะพันธ์โรงเรียน

เมื่อ  ปี พ.ศ.2512  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี  นายชัช  อุตมารกูร  เกษตรกรผู้นำชาวสวนได้ทูลเกล้าถวายเงาะพันธุ์โรงเรียนต้นนั้นและขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อเงาะพันธุ์ใหม่  พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า ชื่อเงาะพันธุ์โรงเรียนก็ดีอยู่แล้ว  นับแต่นั้นเป็นต้นมาเงาะพันธ์โรงเรียนหรือเงาะโรงเรียนจึงเป็นชื่อที่เรียกกันตลอดไปจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและมีชื่อเสียงมากที่สุดในปัจจุบันบางท่านอาจคิดว่าเงาะอร่อยไม่จำเป็นต้องปลูกที่อำเภอบ้านนาสารอย่างที่กล่าวมาข้างต้น  ก็เลยอยากเชิญชวนให้มาพิสูจน์ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม  ของทุกปีมีเงาะโรงเรียนของสุราษฎร์ธานีปริมาณมาก  ท่านจะชิมความแตกต่างได้ถึงสวนดั่งเดิมของชาวอำเภอบ้านนาสารที่มีความยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยว  ซึ่งทุกปีมีชาวไทยและต่างประเทศมาที่บ้านนาสารจำนวนมาก  อ้อถ้าท่านอ่านแล้วอยากชิมเงาะขึ้นมาตอนนี้ล่ะก้อมีการผลิตเงาะนอกฤดูในบางอำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวางจำหน่ายบ้างไม่มาก  แต่ถ้าอยากชิมเงาะอร่อยต้องอดใจรอชิมตามฤดูกาลน่ะจะบอกให้

ร้านค้าชุมชนผลไม้สุราษฎร์ธานี

 

หมายเลขบันทึก: 150512เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2007 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

หวัดดีครับ คุณใจทิพย์

  • วันก่อนไปประชุมงานวิจัยที่ราชภัฏ เขาสืบค้นประวัติอำเภอบ้านนาสาร อย่างละเอียดยิบเลย มีประวัติเงาะโรงเรียนด้วย เสียดายที่เงาะต้นแรกไม่มีซะแล้ว มีแต่ภาพข่าวดำ เก่าๆ ให้ดูเท่านั้น
  • สรุปแล้วมันกลายพันธุ์หรือเปล่าครับ
  • ว่าแต่ ทานเงาะมากไม่ได้ น้ำหนักเพิ่ม ครับ
  • สวัสดีครับ
  • ผมก็ปลูกอยู่หลายต้น เพิ่มรู้ประวัติ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • สงสัยมานานแล้วว่าทำไมชื่อ เงาะโรงเรียน ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ดีๆ

สวัสดีคะ พี่ใจทิพย์

น้องต่ายที่มาอยู่ที่ เกษตร อ.กาญจนดิษฐ์ ค่ะ เงาะนาสารเกิดจากการกลายพันธุ์ใช่ไหมค่ะ

สวัสดีค่ะ

ดิฉันเป็นศิษย์เก่า โรงเรียนนาสารค่ะ (อย่าสับสนกับโรงเรียนบ้านนาสารนะค่ะ เพราะเป็นคนละโรงเรียนกัน) ตอนเป็นนักเรียนอยู่ครูเล่าให้ฟังถึงประวัติเงาะโรงเรียน ศิษย์เก่าที่นี่ทุกคนจะภูมิใจมากในเงาะโรงเรียนของเรา อร่อยไม่เหมือนที่อื่น สมัยเด็ก อาชีพหมายเลขหนึ่งของพ่อแม่ผู้ปกครองในยุคนั้น จะต้องมี ทำสวนเงาะ มาเป็นลำดับต้นๆ ค่ะ ไม่ได้กลับไปนาสารนานแล้ว คิดถึงมากๆ เลยค่ะ มีเรื่องราว ที่น่าจดจำมากมายค่ะ

ปี 2554  มีฝนตกมากตั้งแต่ 24  มีนาคมเป็นต้นมา  ฑโดยเฉพาะวันนี้  26  มีนาคม  2554  ไปดูสวนเงาะที่ควนสุบรรณ  อ.บ้านนาสารมา  เงาะโรงเรียนแตกยอดอ่อนหมดเลย  น่าจะมีเงาะอร่อยๆ ทานน้อยลงน่ะ  ราคาก็คงจะดีแน่  และหากสภาพฝนอย่างนี้  ปี  นี้เราอาจได้กินเงาะนอกฤดู(หลัง  กันยายน  2554)  มีเงาะกินนานกว่าเดิม  ชาววสวนก็ขายได้ราคาดีด้วย เงาะก็จะได้อยู่กับชาวนาสารตลอดไป  ไม่ถูกปลูกแทนด้วยยางพาราหรือปาล์มน้ำมันเหมือนปีนี้  สมกับคำขวัญจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มี  เงาะอร่อย 

ผมเป็นคนจังหวัดจันทบุรี ปลูกเงาะโรงเรียน70ต้น โดนพ่อค้าคนกลางที่ปากแซงกดราคาซะยับเยิน เก็บเกี่ยวผลผลิตปีนี้คงโค่นหมดสวน แซมทุเรียนหมอนทองไปแล้วร้อยกว่าต้น พอกันทีพ่อค้าใจดำ

ที่สุราษฎร์ฯปีนี้เงาะออกน้อยมาก แต่มีเงาะจากภาคตะวันออกมาขายที่ห้างโลตัส ราคา

ก.ก.ละ 14 บาท สงสัยมาจากจันทบุรี เงาะสุราษฎร์จะออกประมาณปลายมิถุนายน 2554 ไม่แน่ใจว่าราคาจะดีเหมือนปี 53 หรือเปล่า  หรือจะดิ่งตามจันทบุรี คงเสียกำลังใจเหมือนกันน่ะ

วันนี้ 14 ก.ค.54 มีเงาะจากสฎ. และภาคตะวันออก ขายในตลาดบ้านดอน ราคาห่างกัน ก.ก.ละ 5-10 บาท แล้วแต่สถานที่ขาย เงาะ โรงเรียนของสุราษฎร์ธานี(เงาะอร่อย ) ขายปลีก ก.ก.ละ 25 บาท  ราคาขายจากสวน 20  บาท

พวงรัตน์ พวงทิพย์

เดือน ก.ค.58 นาสารจัดงานวันเงาะโรงเรียน

เงาะโรงเรียนเป็นผลไม้ของอ.บ้านนาสาร

เป็นผลไม้ที่มีความเป็นมา (Story)น่าสนใจ

แต่คนเล่า ไม่รู้ว่าเล่าเพราะอ่านข้อมูลผิดๆ หรือฟังต่อแล้วผิดเพี้ยนตามธรรมชาติของการเล่า


  1. ปีนี้ผลผลิตเวาะโรงเรียนของจังหวัดสุราษฎร์ไม่มาก ดอกชุดแรกๆ เจอฝนหนัก เป็นความหวังราคาน่าจะดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท