ความสุขของคนเรา ขึ้นกับชะตากรรม การกระทำ หรือสิ่งแวดล้อม


สัตว์ทั้งหลายต่างก็ปรารถนาความสุข ต้องการพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เร็วๆ นี้มีผลการศึกษาวิจัยพบว่า

<p>สัตว์ทั้งหลายต่างก็ปรารถนาความสุข ต้องการพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เร็วๆ นี้มีผลการศึกษาวิจัยพบว่า </p>

ความสุขของเราเกือบครึ่งเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้ในเวลาต่อไป

...

ท่านอาจารย์เชลดอน และลิวโบเมิร์สกี ทำการศึกษาพบว่า ความสุขของคนส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยสำคัญๆ ได้แก่

  • 50% > พันธุกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนแก้ไขไม่ได้ ยกเว้นบางกรณี เช่น เป็นโรคซึมเศร้า+ใช้ยาต้านซึมเศร้า เป็นโรควิตกกังวล+ใช้ยาคลายเครียด ฯลฯ
  • 40% > การกระทำในชีวิตประจำวัน
  • 10% > สถานการณ์ชีวิต เช่น ชีวิตบางคนราบเรียบดุจน้ำในทะเลสาบยามเช้า ชีวิตบางคนเต็มไปด้วยคลื่นใต้น้ำ หรือประเภท "เคราะห์ซ้ำกรรมซัด" ฯลฯ

...

อาจารย์ท่านทำการทดลองโดยให้อาสาสมัครฝึกเปลี่ยน "การกระทำ" และทดลองให้อาสาสมัครพบกับสถานการณ์ดีๆ ซึ่งเปลี่ยนคล้ายชีวิตที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ

ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยน "การกระทำ" หรือเปลี่ยนที่ "ตัวเรา" ส่งผลให้มีความสุขมากกว่าการเปลี่ยนสถานการณ์ หรือเปลี่ยนคนรอบข้างมากถึง 4 เท่า

...

แม้แต่คนที่พันธุกรรมไม่ดี เช่น เป็นโรคซึมเศร้าในหน้าหนาว ซึ่งฝรั่งหรือคนตะวันตกเป็นกันมากก็แก้ไขได้ที่ "ตัวเรา" มากถึงกว่า 70%

ตัวอย่างเช่น พอถึงหน้าหนาวซึ่งจะมีช่วงกลางวันสั้น กลางคืนยาว คนที่รักษาด้วยการ "รับแสง" ให้มากขึ้น โดยไปยืน เดิน หรือนั่งหน้ากล่องที่มีหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์(หลอดผอม)ผ่านแผ่นกรองส่วนใหญ่ก็มีความทุกข์น้อยลง มีความสุขมากขึ้น แสดงว่า แม้แต่พันธุกรรมที่ไม่ดีเท่าไรก็ปรับเปลี่ยนได้ที่ "ตัวเรา"

...

นอกจากนั้นการทำตัวเราให้มีความสุขมากขึ้นก็ทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ หลายวิธี เช่น

  1. ฝึกมองโลกในแง่ดี เริ่มต้นด้วยการมองหาแง่ดีของคนรอบข้าง และออกปากชมคนรอบข้างให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปเป็น เช่น เพิ่มเป็นวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร ฯลฯ ทุกวัน
  2. เวลาเห็นคนอื่นทำดี... ให้แสดงความชื่นชมยินดี (appreciation / อนุโมทนา) เช่น กล่าว "สาธุ สาธุ สาธุ (แปลว่า "ดีละๆๆ") หรือกล่าวว่า "ดีๆๆ" หรือ "ดีมาก" อะไรทำนองนี้
  3. เวลาชื่นชมการทำดีของคนอื่น... ให้เน้นชมการกระทำมากกว่าชมบุคคล และฝึกให้ชื่นชมได้ไม่ว่าคนอื่นจะเป็นผู้ใหญ่ผู้น้อย เป็นคนที่เรารัก คนกลางๆ หรือคนที่เราชิงชัง อย่าลืมว่า เราชื่นชมการกระทำดี ไม่ใช่ชื่นชมบุคคล
  4. นำเรื่องการทำดีของคนอื่นไปเล่าต่อ หรือบอกต่ออย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  5. "ลด-ละ-เลิก" การนำเรื่องการทำชั่วของคนอื่นไปเล่าต่อให้น้อยลง
  6. เวลาเราทำดี... ให้แสดงความชื่นชมยินดีเบาๆ เช่นกัน ทว่า... ควรทำเงียบๆ คนเดียว เพื่อป้องกันการไม่ให้การอนุโมทนานี้แปรสภาพ กลายเป็นการทำดีเพื่อหวังลาภ ยศ สรรเสริญ
  7. ฝึกกิจกรรมสมาธิ เช่น ฝึกกำหนดลมหายใจช้าๆ ไม่เกิน 10 ครั้งต่อนาที อย่างน้อยวันละ 10 นาที ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความสุขแล้ว ยังป้องกันโรคความดันเลือดสูงได้ในระดับหนึ่งด้วย
  8. ก่อนนอน... ให้ระลึกถึงการกระทำดีของเราในรอบวันให้ได้อย่างน้อย 1 อย่างก่อนนอนทุกคืน

...

เร็วๆ นี้มีการศึกษาการทำงานของสมองพบว่า เมื่อเรานำเรื่องการทำดีของคนอื่นไปเล่าสู่ กลุ่มเซลล์สมองของเราจะเกิดกระบวนการ "สร้างความสุขจากการทำดี" ขึ้นคล้ายๆ กับเวลาที่เราทำดีเอง เรียกว่า "mirror neuron" หรือการทำงานของเซลล์ประสาทแบบกระจกที่สะท้อนการทำดี 

การสรรเสริญการทำดีของคนอื่นนั้น... สามารถทำซ้ำได้บ่อยครั้งมาก ทำให้เกิดกระบวนการแห่งความสุขขึ้นมาได้หลายๆ ครั้ง หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน

...

เวลาเราเครียด เหงา หรือเศร้า... สมองของเราจะเกิดกระบวนการ "พายเรือในอ่าง" หรือเกิดกระแสประสาทจมปลักอยู่ในเรื่องร้ายๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้เกิดสารความทุกข์มากขึ้นเรื่อยๆ

ตรงกันข้ามถ้าเราหันมาฝึกชมคนรอบข้าง ฝึกกล่าวอนุโมทนาสาธุในการกระทำดีของคนอื่น ฝึกบอกต่อการกระทำดีของคนอื่น และลดการนินทาให้น้อยลง จะเกิดสารความสุขในสมองมากขึ้นเรื่อยๆ

...

นี่เป็นอานุภาพแห่งความสุขที่พวกเรามีสิทธิ์พบได้ในปัจจุบัน โดยเริ่มเปลี่ยนที่ "ตัวเรา"

อย่าลืมว่า คนเรามักจะทำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่คิดไว้เสมอ"

...

ถึงตรงนี้ขอให้พวกเรามีความสุขที่แสวงหามาได้โดยชอบธรรม และมีความสุขเป็นประจำทุกวันครับ

ที่มา                                                   

  • Thank Reuters & PsyBlog > Being Happy: Enjoyable activities beat improved life circumstances > [ Click ] , [ Click ] > November 23, 2007. / J of Happiness Studies. 7, 55-86, 2006. & Still in Manuscript 2007. > [ Click ]
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อรักษาโรค 
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้ 
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 26 พฤศจิกายน 2550. 

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 149584เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2007 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณกับบันทึกดีๆ ของอาจารย์ค่ะ

อ่านแล้วก็มีความสุขที่จะไปทำสิ่งที่เกิดความสุขต่อๆไป

เอานิทานเรื่อง แม่ผัวกับลูกสะใภ้ มาร่วมต่อยอดกับการสร้างความสุขจากการทำดี ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์จันทรรัตน์...

  • อ่านข้อคิดเห็นของอาจารย์แล้ว... นึกถึง VCD ไทเกก-ไทชิ(ชี่กง) ของอาจารย์ขึ้นมาได้เลย
  • ตอนนี้มี VCE ไทชิง่ายๆ จำหน่าย ผมลองทำตามดูแล้ว ยังจำท่าไม่ได้ ทว่า... ได้ข้อคิดว่า จริงๆ แล้วคิดท่าเองได้เรื่อยๆ เหมือนกัน
ขอบพระคุณคุณหมอวัลลภ  พรเรืองวงศ์ ครับ สำหรับการนำวิธีสร้างความสุขที่ง่ายและดีมานำเสนอให้ได้เรียนรู้  กระผมมักจะสร้างความสุขจากความประทับใจครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกระทำหรือธรรมชาติ ถ้าเห็นแล้วทำให้เกิดความสุขกระผมก็จะนำมาเขียนเล่าสู่กันอ่านในG2Kครับ  กระผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับกับบทความที่คุณหมอได้นำมาเสนอ แล้วคุณหมอคิดว่าคนที่มีวัยต่างๆกันจะมีวิธีการสร้างความสุขที่แตกต่างกันด้วยหรือเปล่าครับ

ขอขอบคุณ... คุณ "ไม่แสดงตน"...

  • คนวัยต่างๆ น่าจะมีความสุขความทุกข์ต่างกัน

เด็กๆ จะมีความสุขง่ายๆ และสั้นกว่าผู้ใหญ่ เช่น เมื่อได้ของกินอร่อยๆ ของเล่นที่ชอบ ได้ไปเที่ยว ฯลฯ

  • เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น... มีวุฒิภาวะมากขึ้น ความสุขจะขึ้นกับการเรียนรู้ และการกระทำมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ผู้ใหญ่ที่ไปตามกระแสบริโภคนิยม จะมีความสุขที่อิงอาศัยวัตถุภายนอก ซึ่งความโลภมักจะโตเร็วเกินวัตถุ ทำให้ความสุข "ติดลบ" มากขึ้นเรื่อยๆ
  • ถ้าผู้ใหญ่เริ่มหันเข้ามาหาความสุขที่ไม่อิงวัตถุ เช่น ความสุขจากการทำดี ความสุขจากการให้มากกว่ารับ สมาธิ ฯลฯ อย่างนี้จะมีความสุขที่ยืนยาวกว่าเด็กมากทีเดียว...
  • ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ ที่นำความสุขมาให้
  • ความสุขอยู่ที่ตัวเราเองที่จะเปลี่ยนแปลง

ขอขอบคุณ... คุณ catwoman

  • ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ "ความสุขอยู่ที่ตัวเราเอง..."

เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงวัดป่าพุทธคยา รัฐพิหาร อินเดีย...

  • สมัยหนึ่งท่านพระอาจารย์วทัญญูรักษาการรองเจ้าอาวาส
  • ท่านเล่าว่า "แขก(อินเดีย)รอบๆ ชอบเปิดเสียงเพลงบูชาพระเจ้าดังตลบอบอวลเข้ามาในวัด ฝรั่งที่ไปขอพักไปฟ้องท่าน บอกท่านให้ออกไปพูดกับแขก(ซึ่งยากมากๆ)

ท่านบอกฝรั่งว่า "เปลี่ยนที่เขาเปลี่ยนยาก เปลี่ยนที่เราง่ายกว่า...

  • เปลี่ยนที่เรา ทำใจเราให้อดทน ทนต่อสิ่งที่ทนได้ยากให้ได้
  • ว่าแล้วท่านก็ไม่ยอมไปพูดกับแขก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท