อัมพร วัฒนวงศ์


               ตี 4 เช้าวันนี้ เปิดทีวีชมรายการดีที่ช่องเนชั่น มีการสัมภาษณ์ ดร.อัมพร วัฒนวงศ์ ที่ทางรายการนำเทปมาเสนอซ้ำ จดข้อความไว้ที่เศษกระดาน เกษียณอายุปี 2540 มีแรงบันดาลใจมาตั้งมูลนิธิฯ ฟื้นฟูและพัฒนาช่วยเหลือเด็ก คนพิการและครอบครัว

               ได้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้งนี้ ค้นชื่อของท่าน จึงทราบว่า ท่านเป็นชาวบุรีรัมย์ และทำให้ทราบข้อมูลของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านยังเขียนหนังสือ พร้อมให้สัมภาษณ์สื่อสารมวลชนอีกจำนวนมาก ในวัยร่วม 70 ปีของ ดร.อัมพร วัฒนวงศ์ ทำคุณประโยชน์แก่สังคมไม่น้อยเลย ขอแสดงความยกย่องเพื่อเป็นเยี่ยงอย่างที่ดี

                

             ดร. อัมพร วัฒนวงศ์  ผู้เขียน  หนังสือ ดี ที่เลือกเกิดไม่ได้  ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของท่านใน-รายการทีวีอาสาออกอากาศทางช่อง TITV ในวันเสาร์ที่ 15 กันยายน เวลา 16.00-19.00 น. ในช่วงคนทำดี  อีกทั้งทาง ดร.อัมพรและมูลนิธิฟอร์เด็กได้รับรางวัล "องค์กรที่ทำคุณประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้อยู่ในภาวะยากลำบาก " จากสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ จาก กระทรวงสวัสดิการและพัฒนาสังคม ซึ่งจะมีการมอบรองวันกันในวันพุธที่19 กันยายน 2550 จากท่านนายกรัฐมนตรี 

เนื้อหา

         ดร.อัมพร วัฒนวงศ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการฟื้นฟูพัฒนาเด็กและครอบครัว(ฟอร์เด็ก)อดีต…เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน อาศัยตลาดสดเป็นที่ซุกหัวนอน ฆ่าตัวตาย 2 ครั้ง เกิดเป็นจุดหักเหพลิกจนชีวิตจนได้รับทุนไปเรียนเมืองนอก กลับมาทำงานจนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนสังคม จากมหาวิทยาลัยหลุยส์เซียน่า สหรัฐอเมริกา ค.ศ.1996 ในการทำงานได้ริเริ่มการทำงานที่ยังไม่มีในเมืองไทยมากมาย เช่น ก่อตั้งสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกในประเทศไทย,ริเริ่มทดลองปลูกยางพาราในภาคอีสาน,เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิซี.ซี.เอฟ คนแรกที่เป็นคนไทย นอกจากนี้ยังได้เป็นผู้บรรยายให้กับองค์กรต่างๆในประเทศแถบยุโรป มันเป็นสิ่งอัศจรรย์หรือเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ที่ว่าคนๆหนึ่งที่มีความรู้ประสบการณ์ไม่มาก เพียงแค่อ่านออกเขียนได้ ฐานะก็มีกินไปมื้อต่อมื้อเท่านั้น แต่เหตุใดที่บุคคลท่านนี้จึงสามารถสร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ได้อย่างมากมาย ชนิดที่เรียกได้ว่า พลิกตำราก็หาไม่เจอ ผลงานของท่านเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างมหาศาล

http://www.se-ed.com/News/ViewContent.aspx?IDTopic=488

คำสำคัญ (Tags): #น่ายกย่อง
หมายเลขบันทึก: 149469เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2007 04:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท