เมืองน่าอยู่


เมืองน่าอยู่

เมืองน่าอยู่   คือเมืองที่ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข มีความสุขกายสุขใจในที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มีน้ำดื่มน้ำใช้และอาหารสะอาด มีรายได้ที่พอเพียงต่อการครองชีพ และได้รับบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมทั่วถึง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการสืบทอดรักษาและปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเมืองที่พัฒนาให้กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ได้เล็งเห็นว่า กระบวนการเมืองน่าอยู่เป็นก้าวสำคัญในการดำเนินงาน  จึงได้กำหนดกระบวนการพัฒนาเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพขึ้น โดยมี 

องค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ  ได้แก่

1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายและแผนการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ

2.เจ้าหน้าที่หรือบุคคลากรที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพได้รับการอบรม/ประชุม/สัมมนาเกี่ยวกับเมืองน่าอยู่/การบังคับใช้กฎหมาย

3.มีภาคีเครือข่ายหรือผู้นำชุมชน เข้ามาส่วนร่วม ในการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ

4.มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีการศึกษาดูงานในระดับเทศบาล

5.มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางด้านสุขภาพ

ขั้นตอนการดำเนินงานเมืองน่าอยู่สู่เมืองไทยแข็งแรง

1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับ เทศบาล/ อบต.รับหลักการเมืองน่าอยู่ มีนโยบายและแผนการดำเนินงาน ด้านการส่งเสริมสุขภาพ  ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม

2.มอบหมายผู้รับผิดชอบหลักที่ชัดเจนในการประสานงาน ภายในและภายนอกองค์กร

3.ค้นหาภาคีร่วมในการพัฒนา จากองค์กร ต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนประชาชน เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน วัด ฯลฯ

4.ส่งเสริมพลังชุมชนและภาคีต่างๆ จัดตั้งกลุ่มชนรม และให้กลุ่มต่างๆมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตลอดจนการสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มชนรมต่างๆ

5.จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อใช้ในการประเมินผล และพัฒนางานต่อไป

6.เทศบาล/อบต.ประเมินตนเองในการดำเนินงานตามกระบวนเมืองน่าอยู่ และส่งแบบประเมินตนเอง ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อขอรับการประเมินรับรอง

7.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดออกประเมินรับรองเทศบาล/ อบต.ที่ขอรับการประเมินและส่งรายชื่อองค์กรที่ผ่านการประเมินรับรองให้ศูนย์อนามัยที่ 7

8.ศูนย์อนามัยที่  7 ออกเยี่ยมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกับ เทศบาล/ อบต.ที่ผ่านการประเมินรับรอง                                                               

ตัวชี้วัดหลัก               

1. เทศบาลผ่านเกณฑ์ด้านกระบวนการเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ ร้อยละ 65  

 2. องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ผ่านเกณฑ์กระบวนการเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ ร้อยละ 40               

3.เจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อย่างน้อยแห่งละ 1 คน)ได้รับการอบรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม(ขั้นพื้นฐาน)ร้อยละ 30ของ อปท.               

4. โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีการจัดการมูลฝอยติดเชื่อตาม พรบ.การสาธารณสุข พงศ. 2535 ร้อยละ 15               

5. เทศบาลออกเทศบัญญัติด้านอาหารปลอดภัย ตาม พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ร้อยละ 74               

ตัวชี้วัดรอง               

1. สถานที่ราชการ(ที่ว่าการอำเภอ)ได้มาตรฐานสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน ร้อยละ 30               

2. สถานที่แต่งผลเสริมสวยและสถานบริการสปา ได้มาตรฐานการสุขาภิบาล ร้อยละ 10               

3.การพัฒนาการท่องเที่ยว                     

 - โรงแรมระดับ 5 ดาว ในจังหวัดเป้าหมายการท่องเที่ยว ได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์โรงแรงน่าพัก ร้อยละ 50                               

-  สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้รับการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ 12 แห่ง (ศูนย์ละ 1 แห่ง)

คำสำคัญ (Tags): #เมืองน่าอยู่
หมายเลขบันทึก: 149303เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2007 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
แฮ่ะๆๆ พี่อึ่งพิมพ์เร็วจัง
  • มาเชียร์ เชียร์
  • ทำงานเมืองน่าอยู่
  • อนาคต พี่อึ่ง มีเครือข่าย ... เพียบ
  • แล้วจะหาเวลาว่างได้มั๊ยเนี่ยะ
  • ถ้าถามถึง..เมืองน่าอยู่..
  • ต้องพี่อืง...สุดยอด...ๆ
  • ชื่นชมและคอยติดตามผลงานนะคะ
  • แต่ตอนนี้..มีเรื่องขอร้องค่ะ
  • เอารูปตอนร้องเพลงเพื่อชีวิต
  • จะเห็นตัวตนพี่อึง..ของแท้...
  • นะคะ นะ

แบบประเมินตนเองเมืองน่าอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท