เชิงอรรถ "ว่าด้วยความยากจน"


คนในบริบทสังคมเดียวกัน จะมีรายจ่ายขั้นต่ำเพื่อการดำรงชีวิตในระดับใกล้เคียงกัน ใครมีรายจ่ายต่ำกว่านี้ (คิดทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน) แสดงว่า มีไม่พอกินแน่ๆ จัดเป็นคนจน

การวัดความยากจน(ทางเศรษฐกิจ) ดูได้หลายทาง   เช่น ด้านรายได้  ด้านรายจ่าย  ด้านสินทรัพย์กับหนี้สิน   แต่ไม่ว่าจะวัดด้านใดก็มีข้อพึงระวังในการตีความ

 ในประเทศพัฒนาแล้ว  คนจะมีรายได้ค่อนข้างแน่นอนก็มักจะดูด้านรายได้

การดูด้านรายจ่ายจะสัมพันธ์โดยตรงกับการกินการอยู่ซึ่งจะเชื่อมโยงโดยตรงกับสวัสดิการ

ประเทศกำลังพัฒนา  คนจำนวนมากมีรายได้ไม่แน่นอน  แต่รายจ่ายพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตนั้นมีอยู่แน่ๆ   ก็เลยใช้รายจ่ายขั้นต่ำเพื่อการดำรงชีวิต เป็นเกณฑ์   คนในบริบทสังคมเดียวกัน จะมีรายจ่ายขั้นต่ำเพื่อการดำรงชีวิตในระดับใกล้เคียงกัน  ใครมีรายจ่ายต่ำกว่านี้ (คิดทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน)  แสดงว่า มีไม่พอกินแน่ๆ  จัดเป็นคนจน

การดูด้านรายจ่ายจึงเหมือนจะไม่สนใจแหล่งที่มาของรายได้  ด้วยเหตุนี้  การมีญาติพี่น้องคอยช่วยเหลือ  มีกองทุนหมุนเวียนให้กู้ยืม  มีระบบสวัสดิการที่ทำให้เราสามารถใช้จ่ายขั้นต่ำเพื่อการดำรงชีวิตได้  ก็น่าจะถือว่ามีผลช่วยลดความยากจนได้....แต่อาจไม่ยั่งยืน  (ย่อหน้านี้เราตีความเอง)

ดร.สมชัยบอกว่า ประเทศไทยวัดความยากจนจากด้านรายได้   พบว่าปี 2549  มีคนจนประมาณ 10%    แต่หากวัดด้านรายจ่าย จะมีคนจนน้อยกว่านี้ 

ทว่า... "คนจน"  ก็มีหลายประเภท

ทั้ง "จนชั่วคราว"  "จนเรื้อรัง"  "เสี่ยงที่จะจน"

 บางครั้งเราก็มองความยากจนจากสาเหตุ  เช่นบอกว่า   คนจนคือคนที่ไม่มีที่ทำกิน

สาเหตุความยากจน มีทั้งจากพฤติกรรม จากกระบวนการ  จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม

ที่เรียกว่า "พฤติกรรมการใช้เงิน" นั้น อาจนำไปสู่การจนชั่วคราว  จนถาวร  หรือไม่จนก็ได้   เรื่องมันเกี่ยวๆพันๆกันอยู่

ความยากจนจึงเป็นเรื่องอีรุงตุงนังที่แก้ปมได้ยาก  บางคนไม่ได้ "จนจริง"  แต่ "จนโดยเปรียบเทียบ" ก็มี  ประเด็นหลังเป็นเรื่องของการกระจายรายได้และบานปลายไปเป็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมได้

ประเทศไทยลดความยากจนได้ก็จริง  แต่มีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้แย่ลงจนเลวร้ายติดอันดับโลก    ปี 2549  กลุ่มคนรวยสุดมีมากกว่ากลุ่มคนจนสุดถึง 16 เท่า

(ผู้สนใจสามารถหาอ่านงานของ ดร.สมชัย จิตสุชน  ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ  ดร.ปราณี ทินกร เพิ่มเติมได้)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 148298เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2007 01:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

"สาเหตุความยากจน มีทั้งจากพฤติกรรม จากกระบวนการ  จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม"

  • อยากฟังขยายความครับ...

 

 "จนชั่วคราว"  "จนเรื้อรัง"  "เสี่ยงที่จะจน"

 น่าสนใจดีคะ  แยกแยะประเภท....

สงสัยนะคะ.... 

๑. - ถ้าประเทศกำลังพัฒนา อย่างเรา ใช้ "รายจ่ายขั้นต่ำเพื่อการดำรงชีพ" เป็นเกณฑ์กำหนดคนจน และจะแสดงจำนวน "คนจน" น้อยลง (...เป็นmain ของการแก้ปัญหา)

๒. - แต่สาเหตุของความจนที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมีทั้ง เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค ที่บริโภคเกินตัวมีการเปรียบเทียบกับคนที่รวยกว่า และเกิดทั้งจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม ที่เปลี่ยนจากเกษตรเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งทั้ง ๒ สาเหตุ ล้วนทำให้มีการบริโภคที่ฟุ่มเฟื่อยมากขึ้น นำไปสู่ปัญหาหนี้สินและคิดไกลไปถึงการทำให้มีคนจนเพิ่มขึ้น และแน่นอนว่าเป็นจำนวนที่ต่างจากเกณฑ์แรก

ลักษณะเช่นนี้เราจะแก้ปัญหาตรงจุดไหน

 

ต้องขอบคุณอาจารย์มากนะคะ

การ load ข้อมูลเอกสาร ของ TDRI มาอ่าน ถึงจะสนใจแต่ก็ไม่ค่อยมีชีวา เท่าใดนัก

การเข้ามาอ่านสิ่งที่เล่าให้ฟังและอื่นๆ อีกมากมาย แบบนี้ รู้สึกรื่นรมย์มากๆ ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนและแลกเปลี่ยนความเห็นนะคะ

ขออนุญาตตอบรวมๆในประเด็นต่างๆที่ตั้งข้อสังเกตกันมา ค่ะ

ลักษณะ  สาเหตุ ผล ของความยากจนมีหลากหลายมากค่ะ  กลุ่มคนจนที่รัฐควรให้ความสนใจมากที่สุดคือ คนจนถาวร หรือจนเรื้อรัง   ซึ่งมักเป็นกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงโอกาสในหลายๆด้านอย่างคนอื่นเขา 

ส่วนจนเพราะพฤติกรรม เช่น ฟุ้งเฟ้อ  ติดอบายมุข  ถ้ามีกระบวนการทางสังคมที่กำกับดูแลได้ก็จะดี  เช่น  สังคมไม่ยกย่องคนตรงที่ความมั่งมี  ความหรูหรา   พฤติกรรมฟุ้งเฟ้อถูกรังเกียจ  ไม่ยกย่องคนรวยที่เป็นเจ้าของบ่อน ฯลฯ  ก็จะแก้ปัญหาได้บ้าง  

แต่ปัญหาสำคัญคือ  สังคมเราถลำไปตรงนั้นแล้ว จะแก้อย่างไร

ส่วนจนเพราะกระบวนการ ก็เช่น ถูกโกง  หรือการคอรัปชั่น  หรือการมีนโยบายที่ไม่เป็นธรรม ก็ทำให้เกิดคนรวย-คนจนได้

สำหรับจนเพราะโครงสร้างนั้น  มีตั้งแต่  ความเสี่ยงจากลักษณะการผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ต้องขึ้นกับดินฟ้าอากาศ    ลักษณะการตลาดของเกษตรกรรายย่อยที่จำเป็นต้องพึ่งพ่อค้าคนกลาง    หรือ  การที่ภาคเกษตรเติบโตช้ากว่าภาคอุตสาหกรรมและบริการเพราะเมื่อคนในประเทศมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นก็จะหันไปใช้จ่ายนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น (โดยกินข้าวได้เท่าเดิม)  หรือ แม้แต่โครงสร้างทางสังคมที่มีแบ่งชั้นวรรณะ    หรือแม้แต่ส่วนบุคคลที่พิการ สูงอายุทำงานไม่ไหว ลูกหลานไม่ดูแล  ก็สร้างปัญหาความยากจนได้ทั้งสิ้น

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท