สัตตศิลา (ตอนที่ ๑ การเปลี่ยนผ่านการศึกษา)


การเปลี่ยนผ่านการศึกษา คือกระบวนการเปลี่ยนแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย

             เช้าวันนี้ผมมาทำงานตามปรกติ แต่ก็รู้ว่าต้องรีบมาเช้าหน่อย เพราะ คณะศึกษาศาสตร์ มีงานสำคัญที่มีนักการศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก มารวมกันที่โรงละคร มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อที่จะประชุมเชิงปฏิบัติการ กลยุทธ์ขับเคลื่อนนวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านการศึกษา “สัตตศิลา” ซึ่งตอนแรกผมเข้าใจว่า ตักศิลา ซึ่งเคยได้ยินตอนเมื่อสมัยไปประชุม UKM ครั้งแรก ที่มหาสารคาม แล้วได้เข้าพักที่โรงแรมของเมืองการศึกษา แม้กระทั่งโรงแรมที่ดีที่สุด ก็ชื่อว่าโรงแรม “ตักศิลา”
        แต่คำว่า สัตตศิลา นี้มีความหมายว่า หลักเสาหินทั้ง 7 ซึ่งประกอบไปด้วย ผลของความรู้ที่ได้จากการวิจัย ภายใต้การนำของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวานิชย์ ซึ่งได้งบวิจัยจาก สกว. มา 100 กว่าล้าน ในการวิจัย การเปลี่ยนผ่านการศึกษา (Education Transformation) โดย ได้นักวิจัยส่วนกลางจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนำทีมโดย ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์  ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ ได้ทำการวิจัยและพบความรู้ในการเปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 


           การเปลี่ยนผ่านการศึกษาคืออะไร


                 การเปลี่ยนผ่านการศึกษา คือกระบวนการเปลี่ยนแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่มีความรู้มากมายผ่านช่องทางหลากหลาย ทั้งหนังสือ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ตในยุคสารสนเทศ โดยใช้หลักสัตตศิลา ที่ได้ค้นพบจากการวิจัย ขับเคลื่อนความรู้การเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรทางการศึกษา ซึ่งก็คือโรงเรียน โดยในรอบ ๓ นี้ มีโรงเรียนในโครงการที่เข้าร่วมจากจังหวัดพิษณุโลก และอุบลราชธานี

 

              ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านการศึกษามีอะไรบ้าง


                   การที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการศึกษาสามารถดำเนินการได้สำเร็จ โรงเรียนต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ทางการศึกษา ปรับระบบการเรียนรู้ และการปรับโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้


               ๑. การปรับกระบวนทัศน์ทางการศึกษา
              การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ คือการเปลี่ยน วิธีคิด เปลี่ยนปรัชญาการเรียนรู้ และการบริหารจัดการศึกษาใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

  • การเรียนรู้ที่เน้นการคิดเชิงระบบ
  • การใช้แนวคิดเชิงบูรณาการ
  •  การทำงานเป็นทีม

             ๒. การปรับระบบการเรียนรู้
             ๓. การปรับโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้

           อะไรต้องเปลี่ยนบ้าง

  1. คุณลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์
  2. การพัฒนาสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ
  3. การบริหารจัดการแบบบูรณาการ
  4. การจัดหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  5. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  6. การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ
  7. บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง


ความเห็น (3)
  • วันก่อนเปิดเว็บคณะศึกษาศาสตร์ มน. ก็ได้เห็นข่าวกิจกรรมนี้ ก็มีความรู้สึกว่าอยากไปฟัง แต่ตอนนี้ฝึกงานอยู่ไกล ไปไม่ได้
  • คุยกับน้องที่คณะ บางคนก็มีโอกาสได้ไปช่วยถ่ายภาพ หรือช่วยงานอื่นๆ ในกิจกรรมครั้งนี้ ก็หวังว่าน้องๆ ทั้งหลายจะไม่ก้มหน้าก้มตาถ่ายภาพอย่างเดียว อยากให้น้องๆ ตั้งใจฟังสิ่งที่วิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายถ่ายทอดด้วย แต่ไม่รู้น้องๆ จะฟังกันรึเปล่า
  • ส่วนตัวผมอยากไปฟัง พอเห็นบันทึกนี้ก็ดีใจมาก แล้วก็มาอ่าน
  • ขอบคุณครับ
  • (น่าจะมีการถ่ายทอดสดผ่านเว็บ)
  • ตามมาฟังคะ
  • เอแล้วอะไรๆมันน่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่มั้ยคะ
  • เพราะพ่อแม่ฝากความหวังไว้ที่ครูและโรงเรียนค่ะ

ถ้าตามหลักสัตตศิลา พ่อแม่ผู้ปกครองมีความสำคัญที่สุดครับ ผมฟังแล้วยังสะท้อนตัวเองว่า เรามีเวลาที่ทำกิจกรรมกับลูกน้อยไปครับ เพราะไปคิดฝากความหวังการศึกษาอยู่ที่ครู แต่ความจริงแล้ว ลูกจะเรียนเก่ง เรียนอย่างมีความสุข เป็นนักอ่าน ช่างสังเกตุ รู้จักค้นคว้าหรือไม่ อยู่ที่แม่แบบ พ่อแบบ ซึ่งก็คือพ่อแม่นี่เองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท