เทคนิคการปรับพฤติกรรมผู้ป่วยสูงอายุที่มาใส่ฟันปลอม


Context   การแนะนำผู้สูงอายุใช้กระดาษทรายน้ำแก้ไขฟันปลอมบริเวณที่เจ็บด้วยตนเอง
Critical Issue
Story  Telling
แหล่งข้อมูล
การแนะนำให้ผู้ป่วยใช้กระดาษทรายน้ำขัดผิวฟันปลอมบริเวณที่เจ็บด้วยตนเอง
การใส่ฟันปลอมในผู้สูงอายุ   โดยปกติใช้เวลามาประมาณ  5 ครั้งยังไม่นับรวมการแก้ไขถ้าหากใส่ไม่พอดี  ทำให้ผู้สูงอายุเบื่อในการเดินทางมาพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขฟันปลอมและเลิกใช้ฟันปลอมในที่สุด  ซึ่งในการแก้ไขฟันปลอมในแต่ละครั้งใช้เวลาที่แก้ไขบริเวณที่เจ็บไม่นาน  ได้แนะนำและสอนให้ผู้ป่วยใช้กระดาษทรายน้ำ ชิ้นแล็กๆ  ขัดผิวฟันปลอมเบาๆบริเวณที่เกิดอาการเจ็บ  พร้อมกับให้กระดาษทรายน้ำไปกับผู้ป่วย  1 ชิ้นด้วย
 
Context   การลัดคิวการแก้ไขฟันปลอมให้กับผู้สูงอายุ
Critical Issue
Story  Telling
แหล่งข้อมูล
การลัดคิวการรักษาผู้ป่วยผู้สูงอายุที่ต้องมาแก้ไขฟันปลอมหลายๆครั้ง
หลังจากที่ผู้สูงอายุใส่ฟันปลอมไปแล้ว  ในกรณีที่ใส่ฟันปลอมไม่พอดีจะต้องมาแก้ไขฟันปลอมหลายๆครั้ง  แต่ละครั้งใช้เวลาการแก้ไขไม่นาน  แต่เวลาที่รอรับการรักษานาน  เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุไม่ต้องคอยนานและเกิดความรู้สึกที่ดีในการแก้ไข  และใช้ฟันปลอมตลอดไป  เนื่องจากสุขภาพของผู้สูงอายุไม่เหมาะที่จะนั่งรอรับการรักษานานๆ  ทันตแพทย์จึงลัดคิวเพราะการแก้ไขฟันปลอมจะใช้เวลาสั้นๆ  ทันตแพทย์จึงลัดคิวให้ผู้ป่วยผู้สูงอายุก่อน  โดยแจ้งให้ผู้ป่วยที่นั่งรอรับการรักษาทราบก่อนที่จะลัดคิวให้
Context   ผู้ป่วยที่สูญเสียฟันหลังมานานสามารถกลับไปสู่ตำแหน่งรอยกัดสบและ
                        ใช้ฟันปลอมบดเคี้ยวได้
เป้าหมาย         ทันตแพทย์สามารถใช้วิธีฝึกกล้ามเนื้อขากรรไกรให้แก่ผู้ป่วยเพื่อช่วยใน                                การบันทึกรอยกัดสบที่ถูกต้องเหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันหลัง                         มานานได้
Critical Issue
Story  Telling
แหล่งข้อมูล
ทันตแพทย์สามารถบันทึกรอยสบตามระยะความสูงของใบหน้า (vertical  Dimension)ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมใกล้เคียงกับความเป็นจริง
-  ผู้ป่วยหญิงอายุประมาณ 70 ปี ต้องการใส่ฟันปลอมทั้งปากมานาน  ทันตแพทย์สังเกตเห็นว่าผู้ป่วยยื่นขากรรไกรล่างมาข้างหน้าตลอดเวลา  ทั้งในขณะพูดและบดคี้ยวทันตแพทย์จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องฝึกกล้ามเนื้อ  2  สัปดาห์ก่อนนัดมาพิมพ์เหงือก 
ทันตแพทย์ได้อธิบายพร้อมแสดงขากรรไกรล่างให้เห็นว่าขากรรไกรยื่นเป็นอย่างไร  พร้อมแจ้งกับผู้ป่วยว่าหากทำฟันปลอมให้ทันทีอย่างที่ผู้ป่วยตั้งความคาดหวังไว้ผู้ป่วยจะไม่สามารถสบกัดขากรรไกรบน ล่าง ใน
ทันตแพทย์หญิงสโรชรัตน์ ปิตุวงศ์    
กลุ่มงานทันตกรรม  สถาบันประสาทวิทยา
Critical Issue
Story  Telling
แหล่งข้อมูล
ตำแหน่งที่ถูกต้องได้ และส่งผลเสียให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เมื่ออธิบายผู้ป่วยแสดงความยินดีที่จะให้ความร่วมมือ  โดยทันตแพทย์บอกกล่าวให้ผู้ป่วยกลับไปฝึกอ้าหุบๆ  วันละ 3 ครั้งๆละ  30  นาทีเป็นเวลา  2  สัปดาห์  ผลของการฝึกทำให้ผู้ป่วยขากรรไกรหย่อนในวันที่ผู้ป่วยกลับมารับบริการขั้นต่อไป  ผู้ป่วยสามารถให้ความร่วมมือด้วยการให้ผู้ป่วยหงายเงยหน้าขึ้นไปอีกเล็กน้อยก็ทำให้ผู้ป่วยสามารถกัดแท่งขี้ผึ้งตามรอยกัดสบในตำแหน่งที่ขากรรไกรถอยหลังไปกัดสบด้วยฟันหลังได้ด้วยตัวเอง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14755เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ถ้าเป็นผู้สูงอายุแล้วละก็ น่าเห็นใจนะคะ เพราะว่า ถ้าท่านต้องรอคอยการใส่ฟัน ก็คงจะนาน ยิ่งอายุกว่า 70 ปี คงมีความลำบากน่านับประการ เป็นเราก็คงลัดคิวให้สักหน่อย ... คนไข้ท่านอื่นคงไม่ว่ากันนะคะ เพราะคิดว่า เป็นการเอื้อเฟื้อให้ท่านละค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท