วาระแห่งชาติ


ธรรมาภิบาล
 วาระแห่งชาติด้านธรรมาภิบาลแก้ปัญหาการโกงได้หรือ ?บาว_นาคร เนื้อหา ของวาระแห่งชาติ ด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และ การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ที่ได้อ่านมานั้นได้อ้างถึง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ด้วย ซึ่งมีความตอนหนึ่งที่ว่า  เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย โดยตลอดมานานกว่า 30 ปี เป็นการชี้แนะแนวทาง การดำรงอยู่และการปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกและสรรพสิ่งต่างๆ ในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นทางสายกลางที่พอประมาณ ใช้หลักวิชาการที่มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ ความรอบคอบ ระมัดระวัง และ คุณธรรมเป็นพื้นฐาน โดยเงื่อนไข คุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ แบ่งปัน และไม่ตระหนี่การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้เพื่อสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธาเป็นหลักการสำคัญที่จะช่วยวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินอย่างสุจริต เป็นธรรม และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง รัฐบาลจึงนำแนวคิดและเป้าหมายตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดเป็นวาระแห่งชาติด้านจริยธรรมธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ วาระแห่งชาตินี้ มีเป้าหมายเพื่อปรับให้ภาคราชการทำงานด้วยความตระหนักในหลักคุณธรรม มีจริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำงานด้วยความสุจริตโปร่งใส ประหยัด ใช้หลักความรู้ หลักเหตุผล เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีจิตสำนึกในการทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยในระยะเริ่มต้นจะสร้างและใช้กลไกของรัฐผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งระบบ เพื่อก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนสำหรับวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐนี้ มีสาระครอบคลุมยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ อย่างสมดุล ทั้งในส่วนของรูปแบบการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและประมวลจริยธรรม จรรยาบรรณ อย่างจริงจัง (Compliance-based approach) และรูปแบบการเสริมสร้าง กระตุ้น ยกระดับ ให้หน่วยงานภาคราชการและตัวข้าราชการเกิด ความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาโดยเฉพาะการเตรียมตัวและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถไตร่ตรองใช้เหตุผลอย่างรอบคอบ มีการปฏิบัติราชการได้อย่างเหมาะสม กล้าเผชิญกับสิ่งที่ได้ตัดสินใจและกระทำไป ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ดูแลป้องกันรักษาปกป้องไม่ให้การปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติตนเกิดความเสียหายหรือเกิดความเสี่ยงต่อความไม่ดีงามใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น (Integrity-based approach) โดยมีเป้าประสงค์สำคัญๆ รวม 2 ประการ ได้แก่1. ลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเพื่อสร้างความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริตลดความสูญเสียและขจัดรูรั่วไหล ในการปฏิบัติราชการ2. สร้างจิตสำนึกในการประพฤติชอบ ให้ยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ ความสุจริต ซื่อตรง เที่ยงธรรม เป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติรวมถึงการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด เกิดความคุ้มค่า มีคุณภาพมาตรฐาน ถูกต้อง ตอบสนองความต้องการของประชาชน และมีความรับผิดชอบต่อสังคมอนึ่ง เพื่อให้การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติเกิดผลครอบคลุมทั้งระบบ จำเป็นต้องขยายผลวาระแห่งชาติในรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน ให้องค์การภาครัฐในทุกรูปแบบได้นำวาระแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติสำหรับรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนควรกำหนดให้มีการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การปรับปรุงระบบการประเมินผลรัฐวิสาหกิจให้ครอบคลุมในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงการจัดตั้ง คณะกรรมการธรรมาภิบาลในทุกรัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน เพื่อยกระดับจริยธรรมและธรรมาภิบาล ในรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการปรับปรุงการบริหารงานขององค์การเหล่านี้ในด้านความสุจริตโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานในการกำกับดูแลตนเองที่ดี มีการเผยแพร่ข้อมูล ตอบสนองความต้องการของประชาชน และเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงยุทธศาสตร์ ไม่กี่ด้านของวาระแห่งชาติ หากพิจารณาอย่างละเอียดแล้วก็จะเห็นว่า เป็นแนวคิดที่ดีมาก แต่การนำไปสู่การปฏิบัตินั้นจะได้ผลอย่างไรต้องรอดูต่อไปเพราะว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นฝังรากลึกมายาวนานในสังคมไทย ยุทธศาสตร์เพียงที่วางไว้หรือการวางแผนดำเนินงานให้ได้ผลนั้นภายใน ปีหรือสองปีไม่สามารถแก้ได้หรอกที่สำคัญต้องสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการหาแนวทางป้องกันการคอร์รัปชั่นทุกประเภทและสร้างจิตสำนึกให้กับเด็กและเยาวชนในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ดังนั้น การบัญญัติวาระแห่งชาติขึ้นมาเพื่อออกกฎหมายต่างๆ มาป้องกันหรือบังคับใช้ก็เป็นแค่เพียงมาตรการหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง
หมายเลขบันทึก: 147495เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท