องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


นโยบายพรรคการเมือง
ทิศทางองค์กรปกครองท้องถิ่นกับนโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง

บาว_นาคร          ทิศทางที่จะพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสังคมไทยโดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชนโดยเฉพาะกลุ่ม องค์กรชุมชนท้องถิ่น  เป็นฐานในการพัฒนาสังคมไทยและการพัฒนาสังคมไทยจะต้องกระจายอำนาจให้แก่องค์กรท้องถิ่นมากกว่าที่จะคิดรวมศูนย์อำนาจโดยยึดกลไกส่วนราชการที่มาจากส่วนกลางเป็นศูนย์กลาง          นโยบายของพรรคการเมืองควรเน้นการสร้างสังคมไทยในอนาคต และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระจายอำนาจให้แก่องค์กรท้องถิ่น ร่วมสร้างองค์กรปกครองท้องถิ่นให้เข้มแข็งโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน แต่จุดอ่อนขององค์กรท้องถิ่นและภาคประชาชนส่วนหนึ่งมักจะเคยชินอยู่กับการรับการให้บริการจากรัฐบาลและพรรคการเมืองมากกว่า การพึ่งตนเองได้ ซึ่งนโยบายของพรรคการเมืองที่โหมโฆษณาในช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบแนวทางประชานิยมเสียส่วนมาก ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีวิธีคิดแบบคอยรอรับ รอขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝ่ายเดียว           อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสังคมประเทศชาติในสภาวะที่สังคมไทยมีวิกฤติแห่งความแตกต่างในวิธีคิดอยู่หลายประเด็นโดยเฉพาะความไม่เข้าใจในเรื่องของหลักการประชาธิปไตย ดังนั้น การส่งเสริมให้ประชาชนได้มีกระบวนการเรียนรู้  สำหรับภาคประชาชนและองค์กรท้องถิ่นเป็นเรื่องที่จำเป็น จะต้องร่วมกันสร้างพลังประชาชนให้มีความคิดเพื่อสร้างองค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง เช่น การรื้อฟื้นระบบการศึกษาใหม่ เพื่อส่งเสริมการศึกษาที่เน้นชุมชนท้องถิ่นและการปฏิบัติงานที่ดีๆ ในท้องถิ่นให้มีระบบการศึกษาเป็นหลักสูตรของท้องถิ่นเอง ในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นถือว่าเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการพัฒนาประชาธิปไตยฐานราก  การส่งเสริมให้องค์กรท้องถิ่นรู้จักประเมินผลตนเองในการทำภารกิจ อำนาจหน้าที่ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและยึดหลักความโปร่งใส ตามหลักการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล  โดยมีกลุ่มองค์กรภาคประชาชนคอยตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพในการบริหารงานขององค์กรท้องถิ่น ส่วนการยกย่ององค์กรท้องถิ่นที่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ควรมีการจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับองค์กรท้องถิ่นที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและให้รางวัลจูงใจในการดำเนินงานแบบโปร่งใสไร้ทุจริต  สุดท้ายการปฏิรูปองค์กรปกครองท้องถิ่นใหม่ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลให้มีจำนวนน้อยลงเพื่อการพัฒนาองค์กรปกครองท้องถิ่นโดยให้มีการยกฐานะเป็นเทศบาลทุกพื้นที่  การส่งเสริมองค์กรท้องถิ่นต้นแบบที่ปลอดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง  องค์กรท้องถิ่นที่มีความซื่อสัตย์สุจริต  องค์กรท้องถิ่นที่มีความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งระหว่างองค์กรท้องถิ่น  กระบวนการในเชิงนโยบายของพรรคการเมืองที่นำเสนอต่อสังคมส่วนหนึ่งต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมที่เริ่มต้นจากองค์กรท้องถิ่นเป็นหลักและควรนำนโยบายลงสู่องค์กรท้องถิ่นในแนวทางการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะองค์กรท้องถิ่นที่แสดงสมรรถนะในการบริหารงานองค์กรท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้ให้ความสำคัญกับการปกครองท้องถิ่นโดยได้บัญญัติไว้ในหมวด 14 มาตรา 282 290 ซึ่งความสำคัญของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและการปกครองตนเองของชุมชนท้องถิ่นล้วนเป็นสิ่งที่ควรที่พรรคการเมืองทุกพรรคน่าจะมีนโยบายหลักเพื่อพัฒนาการปกครองท้องถิ่นให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น    
หมายเลขบันทึก: 147493เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท