Rebranding เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)


เราอาจจะสามารถทำความเข้าใจกับผู้คนในเรื่องนี้ได้มากขึ้น และยืนยันว่าสิ่งนี้มิใช่เพียงความเชื่อต่อๆกันมา อันเนื่องมาจากการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น (ในระดับโลก) อันเป็นผลมาจากการคีบเส้นผมเล็กๆนี้ออกจากตาของผู้คน!!

 

กลับมาอีกครั้งหลังจากไม่ได้กลับมานานแสนนานใน Gotoknow.org ผมไม่รู้ว่าเค้าไปถึงไหนกันแล้ว เห็นมีให้บริจาคเงินกันด้วย

ิเอาล่ะ เข้าประเด็นดีกว่าครับ

ผมมาเรียน M.A. in Development Economics ที่ University of East Anglia, Norwich.. เทอมแรกได้ลงเรียนวิชา Gender and Rural Livelihood

จากการเรียนวิชานี้ทำให้เห็นว่า จริงๆแล้วทางฝรั่งเองก็มีการพูดถึง 'Sustainable Livelihood' กันมาสักพักหนึ่งแล้ว ซึ่งในเมืองไทยอาจจะพอทราบกันแล้วก็ได้แต่ผมไม่ค่อยได้ยินคนพูดถึง

ผมคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง โดยอาจจะมิได้เกี่ยวข้องกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นัก ออกจะหนักไปทางสังคมวิทยา มานุษยวิทยา เสียมากกว่า  

Sustainable livelihood พูดถึงหลักๆเกี่ยวกับเรื่องยุทธศาสตร์ที่ครัวเรือนในประเทศโลกที่สามใช้เพื่อลดความเสียง ความเปราะบาง ความไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงหรืออุปสรรคที่จะเข้ามา ได้  (ลด Vulnerability นั่นเอง)

ศัพท์ที่ตรงกันข้ามเรียกว่า Resilience หรือแปลว่า ปรับตัวได้ ยืดหยุ่นได้ ผมเห็นคำนี้ UNDP ใช้ในการอธิบายเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงในโบชัวร์ของ UNDP ด้วย

 

ทีนี้กลับมาที่เศรษฐกิจพอเพียง ผมสนใจเรื่องนี้ค่อนข้างมาก อาจเป็นเพราะได้เริ่มเส้นทางงานวิชาการก็คลุกคลีอยู่กับเรื่องนี้บ้าง

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ชื่อ "เศรษฐกิจพอเพียง" นั้นเป็นอุปสรรคกับการรับรู้ของผู้คนอย่างมาก ทั้งตัวนักวิชาการเอง คนทั่วไป และชาวต่างชาติ เนื่องจาก คำภาษาอังกฤษก็ใช้คำว่า Sufficiency Economy

คำนี้สื่อไปในทางว่า เราจะปิดประเทศหรือ? เป็นขั้วตรงข้ามกับทุนนิยมหรือ? เราจะรอดได้อย่างไร หรือทำกิจกรรมกับประเทศอื่นๆได้อย่างไร ? ฯลฯ อันเป็นข้อถกเถียงทั้งโจ่งแจ้งและในใจของหลายๆคน รวมถึงนักวิชาการและอาจารย์เอง

...กระทั่งในคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์เองก็ต้องยอมรับว่ามีความเข้าใจลักษณะนี้อยู่มาก

ผมว่ามันเหมือนเส้นผมบังภูเขานะครับ .. ถ้าเราขยับเส้นผมนี้ออกเสียอาจจะทำให้ผู้คนเข้าใจมันมากขึ้น สนใจมันมากขึ้น และมาพัฒนามันมากขึ้นก็ได้

 

... หรืออย่างน้อย เมือ่ได้ยินชื่อก็สื่อความได้ชัด 

 

ผมคิดว่า คำที่เหมาะ หากมองที่หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะเป็นคำว่า Resilience Economy นี่แหละครับ ...หรือเศรษฐกิจยืดหยุ่น เศรษฐกิจที่ปรับตัวได้ ...  

ในพระราชดำรัสของในหลวงในหลายโอกาส ได้ระบุถึงการไม่ได้เป็นขั้วตรงข้ามของระบบเศรษฐกิจใดๆ แต่เป็นหลักให้ประเทศไทยก้าวไปในโลกาภิวัฒน์อย่างมั่นคง ...

 

ด้วยชื่อ Resilience Economy จะทำให้คนเข้าใจมันได้ชัดขึ้น และผมคิดว่า นักวิชาการเองอาจจะตั้งโจทย์ได้ชัดเจนขึ้นด้วย และสามารถมองเรื่องนี้เป็นประเด็นในเชิงของการอธิบายปรากฎการณ์ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับการรับมือความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจและสังคม อันน่าจะเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังที่กล่าวข้างต้น

Resilience Economy จะทำให้พื้นที่ของเรื่องนี้เปิดกว้างเข้าหาภาคเอกชนได้มากขึ้น และง่ายขึ้น เพราะทุกคนทุกองค์กรย่อมอยากมีภูมิคุ้มกันเพื่อจะได้แข็งแรงและยืนหยัดในโลกธุรกิจได้ก็ได้ นำมาสู่การศึกษาวิธีการรับมือความผันผวนในภาคธุรกิจ

...และสิ่งนี้น่าจะเกิดเช่นเดียวกันในภาคเกษตร หรือแม้กระทั่งภาควิชาการหรือภาคประชาสังคมเองเสียด้วยซ้ำ!!!

และจากการศึกษาข้างต้นเหล่านั้นจะนำมาสู่การศึกษาที่เป็นรูปธรรม แบบเรียนรู้จากการปฏิบัติ แบบยังไม่มีกรอบก่อนศึกษาว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการรับมือกับความผันผวน คืออะไร ตรงกับหลักการที่ใช้กันอยู่คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขหรือไม่ ... 

จุดนี้จะเป็นการตรวจสอบแนวคิดเดิม และทำให้แนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง" เดิมแข็งแกร่งขึ้น ...

เราอาจจะสามารถทำความเข้าใจกับผู้คนในเรื่องนี้ได้มากขึ้น และยืนยันว่าสิ่งนี้มิใช่เพียงความเชื่อต่อๆกันมา อันเนื่องมาจากการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น (ในระดับโลก) อันเป็นผลมาจากการคีบเส้นผมเล็กๆนี้ออกจากตาของผู้คน!!

 

ผมไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ผมเขียนนี้จะระคายเบื้องพระยุคลบาทหรือระคายใจของผู้ที่จงรักภักดีอย่างยิ่งหรือไม่ ... แต่ผมปรารถนาดี และตั้งใจที่จะทำให้แนวคิดดังกล่าวพัฒนาและแพร่หลาย มิใช่แต่เพียงในประเทศไทย แต่ในโลกได้ง่ายขึ้น 

พร้อมทั้งเพื่อทำให้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิเป็นเพียง Dogma หรือสิ่งที่ไม่สามารถแตะต้องได้ ผมมิอาจเอื้อมคาดเดาพระราชดำริของในหลวง แต่ผมคิดว่าหากคนที่ทำงานกับพื้นที่และมีความต้องการที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างจริงจังย่อมต้องการให้มีคนพัฒนาและสานต่อแนวคิิดของเขาอยู่แล้ว

 

คำถามสำคัญที่อาจจะต้องตอบก็คือ Sufficiency Economy = Resilience Economy ที่ผมเสนอเอาไว้หรือเปล่า??? 

 

หมายเลขบันทึก: 147328เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตามมาอ่าน
  • อาจารย์หายไปนานมาก
  • คิดถึงๆๆๆ
  • เลยเอาคนนี้มาฝาก
  • เผื่อสนใจ
  • คนนี้
  • แล้วก็คนนี้
  • อิอิอิๆๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์

คำว่า Resilience  หรือ การปรับตัว ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของ "ภูมิคุ้มกัน"  (การมีภูมิคุ้มกันที่ดี  เบื้องต้นคือ การพึ่งตนเอง เรื่องที่สองคือ การปรับตัว สามารถพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงได้) 

เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่านั้น

ใช้ Resilience economy ก็อาจจะยังไม่ครอบคลุมค่ะ  

มีบางคนบอกว่า เป็น moderate economy ค่ะ 

หวังว่าอาจารย์คงสบายดีนะคะ   ได้รับทราบข่าวคราวของอาจารย์จากหลายๆคนแถวท่าพระจันทร์ค่ะ

 

ขอบคุณ อ.ปัท และคุณขจิตฝอยทองครับ :D ผมเลยได้คิดต่อเลย ... เดี๋ยวไว้จะลองโพสต์ต่อไปและขอรบกวนให้ช่วยตบแต่งความคิดด้วยคร้าบ 

 เผื่อจะได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันสำหรับ dissertation ของปริญญาโท และปริญญาเอกบ้าง :D 

สวัสดีครับอาจารย์

ผมไม่คิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นขั้วตรงข้ามกับทุนนิยมนะครับ แต่เป็น complement ของทุนนิยมต่างหากครับ

แต่ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ที่ว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั้นโดยหลักการเหมือนกับเศรษฐกิจยืดหยุ่นที่ปรับตัวได้

แต่ปัญหาของทั้งสองอย่างที่ผมเห็นเหมือนกันนะครับ ก็คือคำนิยามครับ

เราสามารถนิยามคำว่า พอเพียง และยืดหยุ่นได้อย่างไร บางคนถึงใช้คำว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังไงครับ เพราะพอเป็นปรัชญา เราก็ไม่จำเป็นต้องนิยามคำว่า พอเพียง หรือ ยืดหยุ่น ออกมา แต่เพราะเราใส่คำว่าปรัชญา และเพราะคำว่าพอเพียง รวมไปถึงยืดหยุ่น นั้นเป็น qualitative term ดังนั้นการปฏิบัติ มันก็ดูจะยากเกินไปสักหน่อย เพราะเราไม่รู้นี่ครับว่า อย่างไหนถึงเรียกว่าพอเพียง อย่างไหนถึงเรียกว่ายืดหยุ่น

แต่ผมคิดว่าอาจารย์กับผมมองอะไรคล้ายๆกันอยู่อย่าง ตรงที่อาจารย์เขียนว่า "ทุกคนทุกองค์กรย่อมอยากมีภูมิคุ้มกันเพื่อจะได้แข็งแรงและยืนหยัดในโลกธุรกิจได้ก็ได้ นำมาสู่การศึกษาวิธีการรับมือความผันผวนในภาคธุรกิจ"

เพียงเลยมอง keyword ของเศรษฐกิจพอเพียงไปที่ risk management ครับ

ผมเคยเขียนลงในคำตอบในบันทึกผมอันหนึ่งครับว่า ถ้ามองบางมิติโดยเฉพาะในเชิง quantitative เศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะคล้ายๆกับ risk management problem ครับ

ถ้าสังเกตให้ดี โดยหลักการของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงจะคล้ายๆกับ risk diversification เพราะเราไม่ต้องการยัดไข่ลงไปในตะกร้าหนึ่งใบ (put eggs in one basket) เพราะนั่นจะทำให้เราค่อนข้างอ่อนไหว (sensitive) กับเหตุการณ์ใดๆที่ส่งผลเสียต่อเรานะครับ

เมื่อเรากระจายความเสี่ยงออกไป ก็ย่อมทำให้เราสามารถที่จะปรับตัว มีแรงต้านต่อความผันผวนมากกว่า

อ่านถึงตรงนี้ผมคิดว่าอาจารย์คงเข้าใจความหมายของผมแล้วใช่ไหมครับว่าทำไมผมถึงคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นส่วนเติมเต็มให้กับคำว่าทุนนิยม

ขอบพระคุณครับ

ต้น

 

 

 

 

สวัสดีคุณชล

มาอ่านบ้างแล้ว

สนุกดี ผมอาจจะไม่ค่อยได้เอาไปใช้นะ

แต่เชื่อเถอะว่าผมจะแอบเอามันไปใช้โดยไม่ีรู้ตัว

ที่ทำตอนนี้คือ อ่านไปก่อน

 

ได้เจอทีเดียวเองน้อ 

สวัสดีคะอาจารย์
ขณะนี้ที่ทำงาน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2) ก็เป้นหนึ่งในหลากหลายส่วนราชการที่จะต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปขยายผล เหมือน ๆ กัน แต่ในความหมายที่ตัวเองเข้าใจ น่าจะหมายถึงการดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่ในความพอดี หากมีเวลา ความคิด ความรู้ ที่เหลือเฟือก็ขยายผลเป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาสังคม ตนเองและเศรษฐกิจต่อ ๆ ไปได้ ซึ่งถือเป็นการดำเนินชีวิตที่ไม่ก้าวกระโดด จนเกินไปนัก
       อาจารย์คิดว่า ความคิดของบุคลากรธรรดา ๆ คิดถูกหรือเปล่า

โอ้ว ผมก็เป็นบุคลากรธรรมดาเหมือนกันครับ :)

 ผมเห็นด้วยสิ่งที่พี่กาก้าเขียนทั้งหมดเลยครับ

อีกประการนึงที่อยากจะเสริมก็คือ เวลาทำอะไร ควรศึกษาให้ลึกซึ้งรอบด้าน มีเป้าหมายที่อยู่บนฐานของคุณธรรม และมุ่งหมายประโยชน์แก่ส่วนรวม รวมทั้งมีแผนสำรองหรือแผนรองรับเหตุไม่คาดฝันด้วยครับ  

ุคุณชลโดยส่วนตัวแล้ว ผมนิยมทฤษฎีเล็กๆ ของ

E. F. Schumacher (1911-1977) ไม่ได้พอเพียงซะทีเดียว 

 

แต่เห็นได้ชัดในมุมนี้ว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยควรใช้เทคโนโลยีขนาดกลาง

ที่มีความเหมาะสมกับท้องถิ่น ไม่ใช่ทุนมากจนเกินไป และทรัพยากรที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดในการพัฒนา คือ ทรัพยากรมนุษย์

เราเป็นกลุ่มผู้ประดิษฐ์ คิดค้น และนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น การให้การศึกษา จึงมีความสำคัญแก่มนุษย์

แต่ว่าต้องไม่ใช่แค่ถ่ายทอดองค์ความรู้ หรือเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เราต้องพัฒนาให้เกิดความไตร่ตรอง ตระหนัก และมีปัญญาในการนำไปใช้

 

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอาจจะถูกเรียกว่า  Sustainable livelihood, Resilience Economy, Sufficiency Economy and moderate economy ก็ตาม

สุดท้ายตัวทฤษฎี ของมันคงหนีไม่พ้นความเชื่อมโยงกับแนวคิดทุนทางสังคม ที่ประเทศเรามองข้ามกันมาน๊าน นานแล้ว  

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท