โรงเรียนเกษตรกร....ตามบริบท...พัทลุง ( ตอนที่ .2 )


ลงทะเบียน ลงสำรวจ ร่วมวืเคราะห์ กำหนดแนวปฏิบัติ

การประชุมครั้งที่ 2 (การเรียนรู้ครั้งที่1).

ใช้เวลา 2.ชั่วโมงครึ่ง ถึง3 ชั่วโมง  ใช้แบบเก็บข้อมูลระบบนิเวศน์     ใช้กระดาษฟาง  ปากกาเคมี  เทปกาว  กระดานมีขาตั้ง หรือผนังบ้านก็ได้ครับ..

สถานที่ ใช้แปลงปลูกพืชเพื่อสำรวจระบบนิเวศน์ และการพัฒนาของพืช

1. ลงทะเบียนผู้เข้าเรียน(รอความพร้อม)

2. แบ่งกลุ่มย่อย 3-4 กลุ่ม แจกแบบเก็บข้อมูล  ใช้กระดาษฟาง  ปากกาเคมี  เทปกาว 

3  ชี้แจงวิธีการเก็บข้อมูลระบบนิเวศน์ในแปลงให้เข้าใจ

4. แยกย้ายลงแปลง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเขียนลงกระดาษฟาง พร้อมข้อเสนอแนวทางปฏิบัติ ใช้เวลาประมาณ  30 นาที 

5.  แต่ละกลุ่มนำเสนอ จนครบทุกกลุ่ม

6. ที่ประชุมวิเคราะห์ในภาพรวม และร่วมกันกำหนดแนวทางที่จะนำไปปฏิบัติในแปลงของตนเอง

7. หากมีประเด็นที่สรุปไม่ได้ ให้มอบหมายเป็นการบ้านหรือให้มีทำการพิสูจน์ทราบ

8. ประเมินผลการเรียนรู้โดยสุ่มให้เล่า...แนวทางที่ได้รับเพื่อนำไปปฏิบัติได้ ในครั้งนั้น

9. กิจกรรมเสริม เชิญวิทยากร หรือผู้รู้มาตอบหรือพูดคุยตามหัวข้อปัญหาตามแผนที่กำหนด ( 30 นาที)

10.นัดหมายการประชุมครั้งต่อไป

ผู้เรียน ได้รับอะไร.. 

 ได้แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องไปปฏิบัติในแปลงของตน 

 ได้ทราบข้อมูลการแก้ปัญหาในประเด็นที่กำหนดจากวิชาการเสริม

การเรียนรู้ครั้งที่ 2  และครั้งที่ 3..4..5..6 ต่อไป ก็ใช้ขั้นตอนเดียวกัน... ครับ

สรุปขั้นตอน...คือ                

1.สำรวจแปลง

2.วิเคราะห์และสรุป แนวทางที่จะนำไปปฏิบัติ

3.กิจกรรม / วิชาการเสริม 

นี่เป็นแบบฉบับย่อของโรงเรียนเกษตรกรจังหวัดพัทลุงปีที่แล้ว.... นะครับ ส่วนปีนี้โรงเรียนทั่วไปใช้แบบเดิม..... แต่โรงเรียนเน้นหนัก...ก็ต้องว่ากันเต็มรูปแบบ....ครับ

หมายเลขบันทึก: 147310เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2007 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท