วิจัยวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 2


การวิจัยแบบง่ายเพื่อครูวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน

  1. เลือกประเด็นปัญหา/คำถามวิจัยของผู้เรียนที่สำคัญที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน
  2. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  3. วางแผนการวิจัย
  4. ลงมือปฏิบัติ (สร้างนวัตกรรม) พร้อมรวบรวมข้อมูล
  5. วิเคราะห์ข้อมูล  เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ
  6. สรุปผล
  7. แลกเปลี่ยนข้อค้นพบกับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ หรือ       เผยแพร่ผลการวิจัย

วิจัยแบบง่าย : วิจัยที่เหมาะกับครูวิทยาศาสตร์

  • ไม่ทำให้ครูมีภาระมากเกินไป
  • ไม่เป็นงานที่แปลกแยกจากการจัดการเรียนรู้ตามปกติ
  • เป็นการวิจัยที่มีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน
  • สอดคล้องกลมกลืน เกิดประโยชน์กับการจัดการเรียนรู้ปกติ

ลักษณะการวิจัยแบบง่าย

  • เป็นการวิจัยที่ครูทำในการจัดการเรียนรู้  แก้ปัญหา/พัฒนา
  • เป็นการวิจัยเรื่องที่มีขอบเขตเล็ก ๆ ใช้เวลาน้อย มีกระบวนการไม่ซับซ้อน
  • เป็นการวิจัยที่เขียนรายงานการวิจัยเพียงไม่กี่หน้า

ขั้นตอนสำคัญการวิจัยแบบง่าย

  1. กำหนดประเด็นของการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา
  2. กำหนดวิ๊ธีการแก้ปัญหา  หรือการพัฒนา
  3. สร้างสื่อ/นวัตกรรม ทดลองใช้ ปรึกษาครูชำนาญการพิเศษ/       เชี่ยวชาญ สาขา วิทยาศาสตร์
  4. นำสื่อ/นวัตกรรมไปใช้กับผู้เรียนที่มีปัญหา/พัฒนา และรวบรวมข้อมูล
  5. นำข้อมูลมาวิเคราะห์  และสรุปผลที่เกิดขึ้น
  6. เขียนรายงานผลการศึกษา/วิจัยด้วยความยาวไม่กี่หน้า
  7. นำเสนอตัวอย่างสื่อ/นวัตกรรม  และผลงานของผู้เรียน(ถ้ามี)   ในภาคผนวก

การเขียนรายงานการวิจัยแบบง่าย

  •  ชื่อเรื่องที่ทำการวิจัย
  •  ที่มาของปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
  •  เป้าหมายของการวิจัย หรือการพัฒนา
  •  วิธีการหรือขั้นตอนสำคัญของการแก้ปัญหา  หรือการพัฒนา
  •  ผลของการแก้ไข  หรือพัฒนา
  • ข้อเสนอแนะ
  • ภาคผนวก

ประโยชน์ของการวิจัยแบบง่าย

  • ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีระบบ  น่าเชื่อถือ
  • ครูมีทักษะการวิจัยและเป็นพื้นฐานสู่การวิจัยขั้นสูงหรือเป็น      นักวิจัยต่อไป
  • ครูมีผลงานทางวิชาการที่ชัดเจน ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนางาน และพัฒนาวิชาชีพครู (เลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น)
  • ครูมีระบบและวิธีการจัดการเรียนรู้อย่างครูมืออาชีพ
  • ส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้

การวิจัยแบบง่ายสามารถนำเสนอเป็นผลงานทางวิชาได้โดย

..............รวบรวมผลการวิจัยแบบง่ายในกลุ่มสาระการเรียนรู้          วิทยาศาสตร์ หลาย ๆ ชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกันแล้วสังเคราะห์เป็นงานวิจัยใหญ่หนึ่งเรื่อง.............

..............สรุปองค์ความรู้ ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษาแนวทางการ     แก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรือพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ สามารถนำไปพัฒนา หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหานักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป............

              ขอเป็นกำลังใจและยินดีเป็นที่ปรึกษาการทำผลงาน ทางวิชาการให้ครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา  ทุกท่าน

                                                             นราวัลย์  กาญจนะประโชติ

หมายเลขบันทึก: 147308เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2007 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ข้อเขียนนี้เป็นประโยชน์มากต่อการศึกษาในวงกว้าง  ทั้งต่อผู้ที่กำลังคิดจะทำวิจัยในชั้นเรียน นักวิขาการศึกษา  ศึกษานิเทศก์  และผู้สนใจทั่วไป.....ขอเป็นกำลังใจเขียนเป็นวิทยาทานและ นำความรู้ประสบการณ์ที่ฝังลึก(Tacit  Knowledge) มาเล่าขานผ่านเวที "โลกไร้พรมแดน" แห่งนี้ เพื่อพัฒนาการศึกษาชาติต่อไป....

น้องวิชัยคนเก่งเจ้า

        กรุณาทำหัวเรื่องของ Weblog ให้ป้านราสวย ๆดังนี้      นะคะ " วิทยาศาสตร์น่ารู้.......สู่มืออาชีพ"   

                                             ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

                                                       ป้านราวัลย์

ขอบคุณน้องวิชัยคุณครูคอมฯ ของป้ารา

       ขอบคุณมากสำหรับหัวเรื่อง Blog สวยมากเหมาะสมกับชื่อเรื่องแล้วค่ะ  โอกาสหน้าจะรบกวนใหม่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท