เปิดใจคน...วิเคราะห์พุทธิจริต...


อ่านหนังสือ "จริต ๖" ของ ดร. อนุสร จันทพันธ์ และ ดร. บุญชัย โกศลธนากุล แล้วอยากตัดบางตอนมาฝากเพื่อนๆ ครับ

บรรยากาศการทำงานของทีมกิจกรรมบำบัด ม. มหิดล กำลังสร้างวัฒนธรรมหนึ่ง คือ "เวลาของการเปิดใจ" กำหนดกติกาให้ฟังความคิดเห็นทั้งบวกและลบที่สะท้อนถึงความรู้สึกที่ได้ร่วมกันทำงานแล้วเกิดปัญหา โดยฝ่ายหนึ่งรับฟังอย่างใช้สติและพิจารณาข้อผิดพลาดของตนเองว่าจะแก้ไขปัญหาระหว่างเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร จากนั้นสลับฝ่ายที่ฟังมาบรรยายความรู้สึกและความคิดเห็นถึงข้อผิดพลาดของฝ่ายที่พูดตอนแรก จากนั้นทั้งสองฝ่ายต้องไม่นำความรู้สึกเปิดใจครั้งนี้ไปเป็นข้อติดใจกัน ต้องให้อภัยและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกัน

วิธีนี้เป็นเทคนิคหนึ่งของกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม ที่ผมกำลังใช้บริหารงานกับพวกน้องๆ กิจกรรมบำบัด ม. มหิดล เพื่อร่วมกันสร้างคุณภาพของหลักสูตรและคลินิกอย่างมีความสุขและมีสัมพันธภาพที่ดี

ก่อนมาถึงการสร้างบรรยากาศแบบนี้ ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้อ่านหนังสือ "จริต ๖" ของ ดร. อนุสร จันทพันธ์ และ ดร. บุญชัย โกศลธนากุล และพยายามสังเกต "จริต ๖" ของเพื่อนๆ ที่ทำงาน เพื่อปรับตัวเองให้ทำงานได้ด้วยความดีและมีใจที่เป็นสุขกับพวกเค้า

บางตอนที่อ่านแล้วกินใจ ขออนุญาตผู้เขียน นำมาเสนอในบล็อกนี้คือ

  • การยึดมั่นในตัวกูของกูเหมือนเป็นต้อหินบังตาทำให้มองสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเองบิดเบือน ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง การวิเคราะห์จึงผิดพลาดไปด้วย
  • พุทธิจริตเป็นผู้ต้องการพัฒนาขัดเกลาจิตใจของตัวเองตลอดเวลา จึงได้เห็นปัญหาและคิดหาวิธีการแก้ไข
  • การรับความคิดเห็นใหม่ๆ ทำให้บุคคลที่เป็นพุทธิจริตสามารถพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
  • แม้ว่าพุทธิจริตจะมีความสามารถในการเรียนรู้สูงและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆได้ชัดเจน แต่หากมีอัตตาก็ไม่สามารถเข้าใจหรือตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเองได้ถูกต้อง

 

หมายเลขบันทึก: 146978เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับAjarn Dr. Pop

น่าจะมีการทำวิจัยด้านกิจกรรมบำบัดของจริตผสมด้วยนะครับ เพราะจริงๆแล้ว คนเราส่วนใหญ่ไม่ได้มีเพียงจริตเดียว

ผมคิดว่า ถ้ามีงานวิจัยด้านนี้ออกมาจะเป็นประโยชน์แก่สังคมในวงกว้างครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับคุณข้ามสีทันดร

เป็นความคิดที่น่าสนใจครับ คนเรามีจริตประสมจริงๆ ครับ แต่มีจริตหลักๆที่แสดงออกมาในสถานการณ์และเวลาที่ต่างกัน

การฝึกกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม เน้น self-management & psychosocial participation เพื่อให้ผู้ป่วยหรือคนทั่วไปเข้าใจจริต (self-interest and performance) ของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งมีงานวิจัยในต่างประเทศแล้วครับ

ในไทย เรายังขาดผู้เชี่ยวชาญกิจกรรมบำบัดด้านจิตสังคม เพราะผมเพิ่งจบโดยตรงมาคนแรก คงต้องขอความร่วมมือหาเครือข่ายงานวิจัยซักพักหนึ่งครับ

 

ตัวน้องเองมีจริตประสม เด่นคือพุทธิจริต(มีการพัฒนาจิต วิญญาญ ตัวเองตลอด เปิดใจกับข้อแนะนำต่างๆนำมาปรับใช้) และรองคือ ศรัทธาจริต (มุ่งหวังจากพัฒนาคนอื่นและสังคมรอบตัวให้ดีขึ้น) แต่ที่ผ่านๆมาก่อนจะรู้ตัวเองว่ามีจริตแบบนี้เป็นเหมือนคำพังเพยที่ว่า ไม่รู้เขา ไม่รู้เรา รบร้อยครั้ง แพ้ยับเยินทุก ครั้ง (แอบดัดแปลงนิดหน่อยค่ะ) ทำให้จิตใจหม่นหมองทุกข์มากกว่าสุข สงสัยตลอดทำไมคนทั่วๆไปจึงไม่สามารถหรือไม่ต้องการพัฒนาจิตวิญญาญตนเองกันบ้างหรือ จะได้ช่วยให้การใช้ชีวิต การทำงาน และครอบครัวดีขึ้น ไม่ต้องประสบชะตากรรมที่เลวร้าย เหมือนประสบการณ์เก่าๆในอดีตของพวกเขาไม่เคยสอนอะไรเขาเลยหรือ เราจึงเดือดร้อนอยากไปเปลี่ยนแปลงคนเหล่านั้น จนได้อ่านหนังสือ จริต 6 ศาสตร์ในการอ่าใจคน ทำให้รู้ตัวเองว่า จริตเรามันเป็นแบบนี้ ชอบคิดชอบรู้สึกแบบนี้ (อายุ 31 แล้วยังไม่เคยรู้จักตัวเอง แต่เที่ยวไปรู้จักคนอื่นไปทั่ว มัวไปอยู่ใหนมาน๊าเรา) จึงรู้ข้อด้อยตัวเองด้วยว่าเป็นแบบนี้ สุดท้ายจึงทราบสาเหตุที่ทำให้ทุกข์ เพราะเราไม่รู้เขา ไม่รู้เรา ไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล ไม่รู้กาล ไม่รู้ประมาณ คือสรุปว่าไม่เคยมีธรรมมะข้อ สัปปุริสธรรม 7 ในใจสักนิดเลย จึงสมควรแล้วที่เดินหลงทางไปขนาดนั้น จากนี้เรารู้เรา ต้องหัดรู้เขา จะได้ปรับตัวให้ถูกจริต การทำงานร่วมกันจะได้ราบรื่น และเปิดใจนำธรรมมะข้ออื่นๆมาพัฒนาตัวเองให้ครองสติ มีการตัดสินใจที่ดีกว่านี้ขึ้นเรื่อยๆ และฝึกเมตตา การให้อภัย การให้ทานแบบสัตบุรุษ และการทำลายอัตตาในตัวเอง ผู้เขียนแนะนำว่า ให้ฝึกส่องใน ไม่ส่องนอก บ่อยๆ

เรื่องจริตมีการกล่าวไว้อย่างพิสดารในปฏิสัมภิทามรรค โดยพระสารีบุตร คัมภีร์วิมุตติมรรค คัมภีร์วิสุทธิมรรค และอภิธรรมาวตาร หากต้องการเข้าถึง Original ด้วยการทำวิจัย เชิญดูได้จากคัมภีร์ดังกล่าว

ขอบคุณมากครับท่านธรรมหรรษา และคุณ nattha

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท