หลักการทรงงาน"ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"ตอนที่ 4


มูล สำนักงาน กปร. งานนิทรรศการ 60 ปี ครองราชย์

   สวัสดีครับ...มาพบกันอีกแล้วทุกค่ำคืนตอนที่ 3 ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า"ไม่ติดตำรา" มาติดตามอ่านกันดูต่อไป นะครับ

        ไม่ติดตำรา

           การพัฒนาตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลม และรอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน คือ"ไม่ติดตำรา" ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย

        ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด

        ในเรื่องของความประหยัดนี้ ประชาชนชาวไทยทราบกันดีว่าเรื่องส่วนพระองค์ก็ทรงประหยัดมากดังที่เราเคยเห็นว่า  หลอดยาสีพระทนต์นั้นทรงใช้อย่างค้มค่าอย่างไรหรือฉลองพระองค์แต่ละองค์ทรงใช้อยู่เป็นเวลานาน ดังที่นายสุเมธ  ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธีชัยพัฒนา เคยเล่าว่า

      "กองงานในพระองค์โดยท่านผู้หญิงบุตรี  วีระไวทยะ  บอกว่าปีหนึ่งพระองค์เบิกดินสอ 12 แท่ง เดือนละแท่ง ใช้จนกระทั่งกุด ใครอย่าไปทิ้งของท่านนะจะกริ้ว เลยประหยัดทุกอย่าง เป็นต้นแบบทุกอย่าง  ทุกอย่างนี้มีค่าสำหรับพระองค์หมด  ทุกบาททุกสตางค์จะใช้อย่างระมัดระวัง  จะสั่งให้เราปฏิบัติตามด้วยความรอบคอบ"

        ขณะเดียวกันการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร ทรงใช้หลักการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้ในสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ มาแก้ปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก  ดังพระราขดำรัสตอนหนึ่งว่า

   "ให้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก  โดยปล่อยให้ขึ้นเอง ตามธรรมชาติ จะได้ประหยัดงบประมาณ"

              ทำให้ง่าย-Simplicity

                ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทำให้การคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ ดำเนินไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยาก  ซับซ้อน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศในส่วนรวม ตลอดจนสภาพทางสังคมของชุมชนนั้นๆ  ทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย  อันเป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้กฏแห่งธรรมชาติเป็นแนวทางนั้นเอง แต่การทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นสิ่งง่ายนั้นเป็นของยาก ฉะนั้นคำว่า "ทำให้ง่าย"หรือ"Simplicity" จึงเป็นหลักคิดสำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศในรูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

           การมีส่วนร่วม

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เป็นนักประชาธิปไตย  จึงทรงนำ"ประชาพิจารณ์" มาใช้ในการบริหารเพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน  ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

          "...สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น  รู้จักรับฟังความคิดเห็น  แม้กระทั้งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด  เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้น  แท้ที่จริงคือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย  มาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั้นเอง..."

   ครับ... ผมเองจะต้องไปราชการที่จังหวัดสุพรรณบุรี หลายวัน  กลับมาค่อยว่ากันต่อ ยังมีเรื่องที่น่าสนใจ หลายเรื่อง หลายประเด็น ขอบคุณมาก .. สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 146951เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีครับคุณไมตรี
  • ชอบพระราชดำรัสตอนนี้มากครับ
  • "...สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น  รู้จักรับฟังความคิดเห็น  แม้กระทั้งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด  เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้น  แท้ที่จริงคือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย  มาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั้นเอง..." 
  • โดยเฉพาะสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
  • จะต้องหนักแน่นและทำใจให้กว้างขวางไว้ก่อนครับแล้วสิ่งดีๆจะตามมา
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ P บัวชูฝัก
  • พระราขดำรัส พระบรมราโชวาท
  • ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • ผ่านการศึกษาทดลองมาแล้ว
  • คนไทยน่าจะนำไปคิดตรึกตรอง
  • และนำมาปฏิบัติ ในยามที่บ้านเมือง เป็นเช่นนี้
  • ครับ..ขอบคุณมาก

คุณเกษตรยะลาครับ

บทความชุดนี้ดีจริงๆครับ ชื่นชมครับ ชื่นชม..

 สวัสดีครับ Pท่านอัยการ

  • ผมอ่านกี่ครั้งๆก็ไม่เบื่อ
  • มันกินใจครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณพี่ไมตรี

  • ติดตามมาอ่านต่อครับ
  • เล่าเรื่อง สุ 1000 ด้วยก็ได้ครับ

  สวัสดีครับ P หนุ่มร้อยเกาะ

  • เรื่องที่สุพรรณ...ปล่อยให้คนอื่นเล่าดีกว่า
  • ขอบคุณมาที่ติดตามอ่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท