สนุกกับภาษาไทย – ภาษาอัชฌาไศรย ๒๑. ประวัติศาสตร์กับการศึกษาวรรณคดีไทย (๒๐)


5 สรุป
         ผมเป็นนักประวัติศาสตร์ จึงอดไม่ได้ที่จะมองวรรณคดีในมิติประวัติศาสตร์เสมอ คือศึกษาวรรณคดีไทยโดยมุ่งเน้นที่เนื้อหาและการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่ออธิบายประสบการณ์ด้านต่างๆ ของมนุษย์ ผมพอใจที่จะทำความเข้าใจเนื้อหาวรรณคดีจากภายใน เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีเกียรติจึงไม่เห็นผมพูดถึงเลยว่า จะใช้ทฤษฎีอะไรศึกษาวรรณคดี ผมเชื่อว่า นำทฤษฎีตะวันตกเข้ามามองวรรณคดีไทยเมื่อใด ก็คงหมดสนุกเมื่อนั้น การมองของนักประวัติศาสตร์จึงเป็นการมองจากภายในออกมา นักประวัติศาสตร์สนทนากับหลักฐานเอกสารอื่นๆ ของเขาได้อย่างไร ก็ต้องสนทนากับวรรณคดีที่เขาศึกษาได้อย่างนั้น หลักการคือ นักประวัติศาสตร์ต้องเข้าใจวรรณคดีอย่างที่คนเขียนหรือคนในสังคมของผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นเข้าใจความคิดหลักที่ผมพยายามถ่ายทอดในที่นี้คือ การศึกษาวรรณคดีไทยต้องอยู่ในบริบทที่กว้างขวางเกินกว่าความชื่นชนสุนทรียรสเพียงอย่างเดียว

         ความสำเร็จของวรรณคดีไทยอยู่ที่การทำให้สังคมเห็นความสำคัญของวรรณคดีเก่า การทำให้คนในสังคมร่วมสมัยเห็นความสำคัญของวรรณคดีเก่า ขึ้นอยู่กับการเชื่อมโยงวรรณคดีเก่านั้นไปสู่บริบทของการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทย และความต่อเนื่องของธารวัฒนธรรมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน.

         ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้กรุณาให้เกียรติฟังการบรรยายในครั้งนี้   ผิดพลาดประการใดท่านก็คงให้อภัย เพราะเชิญนักประวัติศาสตร์มาบรรยายเรื่องวรรณคดีไทย นักประวัติศาสตร์จะรู้เรื่องวรรณคดีไทยดีกว่าท่านผู้ศึกษาโดยตรงนั้นคงเป็นไปไม่ได้.

         ผมใคร่ขอขอบพระคุณที่ติดตามฟังและขอจบการบรรยายแต่เพียงนี้ครับ.

         เป็นอันจบการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ประวัติศาสตร์กับการศึกษาวรรณคดีไทย” โดย ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร     ต่อไปจะเป็นเรื่อง “ชายคาภาษาไทย”

วิจารณ์ พานิช
๑๙ ต.ค. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 146563เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2007 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อะไรกันว่ะเนี่ย

ไม่เห็นมีไรเลยอ่ะ

เขียนอะไรไม่รู้เรื่อง

เขียนเกี่ยวกับตัวเองทั้งนั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท