วัฒนธรรมการผูกเสี่ยว วัฒนธรรมการหาข้าว การแบ่งปันในสังคมอีสาน


ซึ่งวัฒนธรรมแบบนี้ มีในวัฒนธรรมการผูกเสี่ยว ซึ่งเรียกว่า วัฒนธรรมการหาข้าว

วัฒนธรรมการผูกเสี่ยว วัฒนธรรมการหาข้าว การแบ่งปันในสังคมอีสาน

อิศรา ประชาไท 

 บทนำ

                การถักทอผ้าไหมในภูมิภาคอีสาน ได้สืบสานมาจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน รุ่นแล้วรุ่นเล่าต่อเนื่องกันมา สืบต่อมาถึงปัจจุบัน ทั้งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายทั้งไท-ลาว ไท-ญ้อ ผู้ไท ตลอดจนไท-เขมร และกลุ่มอื่น ๆ อีกมากมายต่างสืบทอดความรู้ อาจจะบอกว่า เป็นองค์ความรู้ ที่ต่อเนื่องเรียนรู้สืบต่ออย่างไม่รู้จบสิ้น  บางแหล่งบางที่ก็เลิก หรือ หยุดไป เนื่องจาก การถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อนกับคนรุ่นใหม่ ขาดหายด้วยเหตุผลของ ระบบการศึกษาสมัยใหม่ ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ทั้งเชยแสนเชย และไม่ได้เงิน ไม่ได้เงินต้องมาทนนั่งหลังขดหลังแข็งบนกี่ กว่าจะเสร็จแต่ละพับแต่กี่ก็ใช้เวลานานพอสมควร สู้เข้ากรุงเทพฯ เป็นสาวโรงงาน รายได้เห็นชัด ๆ ว่าเท่าใด สำคัญ แสงสี ของ ไฟ ฟ้า นีออน ดูจะทำให้หน้าตาไม่หมองคล้ำ ตากแดดตากลมเหมือนอยู่บ้านนอก ที่สำคัญ ผลิตออกมาก็ขายลำบาก ช่วงหนึ่งก็พัฒนาเป็นสินค้าของชุมชนก็พอดูดี มีการสั่งซื้ออยู่บาง แต่พอรัฐบาล One Tambol One Product ต้องยางแตกตกเหวเพราะถูกโจรปล้น พ้นซวยก็อยู่กับชาวบ้านทอผ้าเหมือนเดิม ประเทศนี้ก็แปลกแสนแปลก ประเทศที่เจริญแล้วรัฐบาลเก่าไปรัฐบาลใหม่มาอันไหนดี ๆ งาม ที่ทำให้ประชาชนเงยหน้าอ้าปากได้ เขาก็สานต่อและพัฒนาให้ดีขึ้น อันไหนห่วยไม่ดีงามเขาก็พัฒนาให้ได้คุณภาพ  แต่ปัญหาของประเทศนี้ก็คือ ยุบ ทำให้พังไปเลย ดับและก็ตายในที่สุด จริง ๆ แล้ว วิถีแห่งการทอผ้าของคนพื้นถิ่นอีสาน คงจะตายยากอยู่เพราะถึงแม้ไม่ทำให้เป็นสินค้าชุมชนหรือท้องถิ่น หรือเรียกอะไรก็แล้วแต่  มันก็ยังคงต้องผลิต ต้องทำ ต้องจำหน่าย เพราะมันเป็นวิถีชีวิต การพึ่งพาตนเองอย่างชาญฉลาด การคิดค้นการแก้ปัญหาการดำรงอยู่ในวิถีชนบท  การพึ่งตนเองทำมานานแล้ว หลายชั่วอายุคน หลายรุ่น พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อการอยู่รอดของครอบครัว

 

                           ข้าว คือ สิ่งที่เกื้อกูลระหว่างคนชนบทกับคนเมือง

 

การพึ่งตนเองและการแบ่งปันซึ่งกันและกัน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ผมจำความได้ว่า พอโตพอรู้ความ ผมก็เห็นแม่นั่งอยู่บนกี่ทอผ้าไหม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผ้ามัดหมี่ แม่เลี้ยงไหมเองเป็นบางครั้งแต่ส่วนใหญ่จะซื้อเส้นไหมของญาติที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เพราะที่นั้นสาวไหมได้เส้นไหมเรียบเล็กและดี แม่ไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงเพราะลูก 11 คน เป็นภาระสำคัญในการดูแลและเลี้ยงดู แต่แม่จะทำการย้อมและดำเนินการตามกระบวนการถักทอด้วยตนเองทั้งหมด วิชาทอผ้าหรือภาษาบ้านเราเรียกว่า การต่ำหูก การมัดหมี่ แม่เรียนรู้จากยาย และถักทอผ้าข้าวของเครื่องใช้ด้วยตนเอง  ผมเห็นแม่ย้อมไหม มัดหมี่ จนชินตา   ครอบครัวเรามาอยู่ในเมืองต้องช่วยตนเองทุกอย่าง  แม่กับพ่อจึงต้องช่วยกันทำทุกอย่างแม้ว่าพ่อจะเป็นครู แต่ลูก 11 คน ถือว่า หนักและสาหัสเอาการ ครอบครัวเรามีสวนเล็ก ๆ ใกล้ห้วยคะค้าง ติดกับวิทยาลัยครูไว้สำหรับปลูกผักไว้กินและขาย  พ่อกับแม่ตื่นแต่เช้า </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">พาพี่ชายและพี่สาวไปรดน้ำผัก ตัดผักกาดขาว ผักคะน้า ผักบุ้ง ไปขายที่ตลาด แม่ไปขายเอง สาย ๆ ช่วงผมยังไม่เข้าโรงเรียน แม่ก็จะมีขนมจากตลาดมาฝากผม เป็นข้าวปาดสีเขียวคล้ายศิลาและ ขนมเปียกปูนมาฝากเป็นประจำ พี่ ๆ พากันไปโรงเรียนแล้ว  ผมก็ยังต้องอยู่รอแม่กลับจากตลาด  แม่ขายไม่นานเพราะผักของเราไม่เยอะและต้องบอกว่า สด สะอาด บางทีก็เป็นของแปลก </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">แม่ วันสู่ขวัญครบปี่ 84 ลูกหลานต่างมาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง  ยายมะลิจันทร์ บุญเสริม ช่างทอผ้าผู้เลี้ยงลูกด้วยความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจน เติบใหญ่ถึง 11 คน                                                                                       </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="right"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="right"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="right"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="left">ในสมัยนั้น เช่น มีขนุนลูกใหญ่ ๆ มีหน่อไม้ที่เรียกว่า ไผ่หวาน ไปขายด้วย ซึ่งที่อื่นไม่มี ยิ่งไผ่ตง บ้านเราดูจะเป็นบ้านแรก ๆเอามาปลูกและขายแลกเปลี่ยนในตลาดมหาสารคามเป็นเจ้าแรก ๆ ดังนั้น ถ้าของจากสวนยายมะลิจันทร์ ละก้อ เดี๋ยวเดียวก็หมด</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                นอกจากจะปลูกผักแล้วสิ่งที่ แม่ทำตลอดก็คือการทอผ้า  ผ้ามัดหมี่คือสินค้าสำคัญที่ทำให้ลูก ๆ ได้เรียนหนังสือจนจบ   และได้เป็นครูกันทุกคน เพราะสมัยก่อนอาชีพครู คืออาชีพที่ดีที่สุด มีเกียรติมีศักดิ์ศรี และมีบารมี แม่ทอผ้าได้ผ้า กี่หนึ่งทอเสร็จ ก็จะได้ผ้าม้วนใหญ่ ตัดออกมาเป็นผืน ๆ ซึ่งเรียกว่า  ต่ง  ก็จะเอาไปขายให้คนรู้จักแม่เดินตลาดเอง ขายตรงแบบสมัยปัจจุบัน ขายให้บรรดา ภรรยาข้าราชการในจังหวัด ภรรยาอาจารย์ ครูด้วยกัน  ก็นานพอสมควรกว่าจะขายผ้า กี่นั้นหมด แต่ก็หมดเพราะผ้ามัดหมี่แม่ทอสวย ได้เป็นเงินมาและแม่ก็เก็บไว้ ครั้นเปิดเทอม เงินที่แม่ขายผ้าขายผักได้ก็นำไปจ่ายค่าเทอมให้ลูก  เงินเดือนพ่อไม่ต้องพูดถึง พอใช้จ่ายในครัวเรือนก็ไม่พอแล้ว  และที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งซึ่ง แม้ครอบครัวเราไม่ได้ทำนา แต่เราก็มีข้าวกินตลอดทั้งปี  พืชผักสวนครัวทั้งในสวนที่บ้านและในสวนห้วยถูกจัดนำมาไว้แบ่งเป็นส่วน ๆ พร้อมกับผ้าไหม และผ้าขะม้า ผ้าผืน ตลอดจน หมากพลู มะพร้าว กล้วย อ้อย ถูกจัดเตรียมไว้ หลังจากที่เพื่อนบ้าน  พ่อเสี่ยว แม่เสี่ยว เกี่ยว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                                สวนห้วยคะค้าง ของยายมะลิจันทร์ที่ใช้ปลูกผัก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ข้าวขึ้นเล้าและได้กระทำพิธีเปิดเล้าเรียบร้อยแล้ว  พ่อกับแม่ ก็จะเดินทาง พาพวกเราไปเยี่ยมบ้านพ่อเสี่ยวแม่เสี่ยว บ้านญาติในชนบท เอาของที่เตรียมไว้ไปต้อน ไปฝาก นอนคืน พักอยู่บ้านญาติถามทุกข์ถามสุข ครั้นถึงวันกลับ  พ่อเสี่ยวแม่เสี่ยว ญาติต่าง ๆ ก็จะสีข้าวสาร ใส่กระสอบปุ๋ย ใส่ภาชนะ ครุถัง ตะกร้า มาให้สุดแล้วแต่ พ่อเสี่ยวแม่เสี่ยวจะมอบให้ ไม่มีการบอกว่า ผัก ผ้าไหม  1 ก.ก. แลกข้าวสารได้ 1ก.ก. ไม่มีการเอาเปรียบ ไม่มีการบอกว่าจะเอาเท่านี้เอาเท่านั้น ให้เท่าไรก็เอาเท่าที่ให้ ซึ่งวัฒนธรรมแบบนี้ มีในวัฒนธรรมการผูกเสี่ยว ซึ่งเรียกว่า วัฒนธรรมการหาข้าว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ถือเป็นการพึ่งพากันของคนในท้องถิ่น ระหว่างเสี่ยวต่อเสี่ยว ระหว่างคนเคารพรักกัน แม้เสี่ยวไม่ใช่ญาติ แต่ความสัมพันธ์ลึกซึ้งมากกว่าญาติ  ซึ่งจะมีไปถึงลูกถึงหลาน และจะต้องช่วยเหลือกัน และจะสานต่อเป็นรุ่น ๆ ไป บ้านผมมีข้าวกินก็เพราะพ่อเสี่ยวจัดหาให้แบ่งให้ทุกปี ครั้นลูกพ่อเสี่ยวเข้ามาเรียนหนังสือในจังหวัดก็มาพักบ้านผม พ่อแม่ผมก็ดูแลดุจลูกตัวเอง สังคมแบบนี้เป็นสังคมเอื้ออาทร มีคุณธรรม พึ่งพาแบบไม่เอารัดเอาเปรียบ เสียดายเหลือเกินว่าอีกไม่นานก็คงหายไปจากวิถีครอบครัววิถีชุมชนไทย ในยุคปัจจุบัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            หลังจากที่ลูก ๆ เรียนหนังสือจบกันหมด แม่ก็เลิกทอผ้าเพราะสู้ไม่ไหวในเรื่องสายตา  ผมมีพี่สาวถึง 6 คน รับราชการกันหมด ไม่มีใครเลยที่ได้สานต่อวิชาทอผ้าจากแม่เลย วิชาความรู้ดังกล่าวโดยเฉพาะการย้อมสี ให้สีไม่ตกก็คงสูญหายไป ลวดลายที่เคยออกแบบและผลิตเป็นผ้าไหมไปขายส่งลูกเรียนก็คงหมดไปด้วย ที่ดินสวนห้วยที่ติดกับวิทยาลัยครูซึ่งปัจจุบันก็คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่เคยปลูกผักส่งลูกเรียนจนจบ ก็ได้บริจาคให้วิทยาลัยครูไปนานแล้ว เพราะพ่อเป็นอาจารย์รุ่นแรก ๆที่นั้น ก็คิดว่าไม่ได้ทำอะไรแล้วการเข้าการออกไม่ค่อยสะดวก ต้องผ่านที่ของวิทยาลัย สู้มอบให้เป็นสมบัติของสถาบันการศึกษาเล่าเรียนดีกว่า  ปัจจุบันผ่านไปเมื่อวันวาน  โอ้โห  ปรับเปลี่ยนมีทางเข้าออกอย่างสวยงามพร้อมกับอาคารหอประชุมใหม่เพื่อเตรียมสำหรับการรับพระราชทานปริญญาของนักศึกษาในอนาคต สวยงามจริง ๆ </p>                ปัจจุบันแม่ผมอายุเกือบ 85 ปี พ่อได้เสียไปหลายปีแล้ว แม่ยังพอเดินเหินไปไหนได้บ้าง  ความโชคดีของท่านก็คือ  ลูกทั้ง11 คน เสียชีวิตไปแล้ว 1 คน เหลืออยู่ 10 คน มีครอบครัวกันหมดแล้ว  แม่มีหลานถึง 29 คน  มีเหลน 12 คน และส่วนใหญ่ทุกคนอยู่ในภาคอีสาน ผมไม่รู้ว่าสิ่งที่พ่อแม่พาให้พวกเราอยู่รอดโดยการเลี้ยงชีพโดยการหาอยู่หากินโดยปลูกผัก ต่ำหูก ทอผ้า เหล่านี้เข้าข่าย การพึ่งตนเอง การดำรงอยู่แบบพอเพียง หรือไม่  แต่สิ่งหนึ่งที่ผมรู้ก็คือ วิถีชีวิตแบบนี้ ชาวอีสานในชนบท ได้สืบต่อทำมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการพึ่งพา ด้วยระบบ วัฒนธรรมการผูกเสี่ยว วัฒนธรรมการหาข้าว  มันทำให้สังคมมีความเป็นอยู่อย่างสันติสุข  มีสันติภาพอย่างแท้จริง และสำคัญที่สุด ก็คือ การแบ่งปัน และ การเสียสละ  คือ การให้ด้วยน้ำใจที่บริสุทธิ์  

หมายเลขบันทึก: 146065เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2007 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เข้ามาทำความรู้จักคุณยายเพิ่มขึ้นค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

  • สวัสดีครับอาจารย์ วรรณศักดิ์พิจิตร
  • อ่านด้วยความออนซอนตื้นตัน คุณแม่ของท่านครับ
  • คนมีนาเขาว่าทุกข์ส่ำใด๋  แต่คนชนบทที่บ่มีนายิ่งลำบากกว่า  หาบเกลือสินเธาว์ ไปแลกข้าวบ้านแม่เสี่ยวกับเอื้อย เดินข้ามโคกและทุ่ง 4-5 หมู่บ้าน ปั้นข้าวบ่ายกับปิ้งปลาแดกอึ่ง มาตามทาง ยังจำได้ครับ ผมตั้งแต่น้อย (เหลือแต่ยังบ่จกข้าววัดครับ)
  • อ่านของอาจารย์แล้วก็อยากเล่าสู่ท่านฟัง
  • เยี่ยมมากครับผม

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • เข้ามาสะออนด้วยคน ค่ะ
  • เสียดายวิถีชีวิตการพึ่งพากันของคนในชนบทที่นับวันจางหายไป กลายเป็นวัฒนธรรมเมือง ที่มองกันที่ความคุ้ม หรือไม่คุ้ม มากกว่า

ว้าว

  • ลงรูปได้แล้ว ดีใจกับท่านอาจารย์ด้วยครับ
  • ตามอ่านนะครับ

สวัสดีครับ

  • อ่านแล้วก็ต้องบอกอย่างที่หลายๆ ท่านว่า เป็นตาออนซอน จริงๆ ครับ กับความเป็นมาแบบวิถีชีวิตบ้านเรา...อ่านไปก็คิดถึงบ้านไปครับ
  • ภาพเก่าๆ แบบนี้ในอนาคตคงหาดูไม่ได้แล้ว ลูกหลาน คงซึมซับได้ยาก ทำอย่างไร ถึงจะทำให้คนรุ่นหลังๆ นี้ได้เห็นคุณค่า สิ่งดีดีเหล่านี้บ้าง ก็จะดีเหมือนกันครับ

ด้วยความเคารพรัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท