ถามตอบเรื่องพุทธเศรษฐศาสตร์


หลักปรัชญาพุทธจึงเป็นเพียง “ทางเลือก” ในปัจจุบัน

เราเชิญศาตราจารย์อภิชัย ดร. พันธเสนมาบรรยายเกี่ยวกับพุทธเศรษฐศาสตร์ให้กับนักศึกษาภาคภาษาอังกฤษ    ต่อมาเราจึงได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักศึกษา

  

นักศึกษาชาวตะวันตกคนหนึ่งถามเราว่า   เราคิดว่า พุทธเศรษฐศาสตร์จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ไหมกับสังคมปัจจุบัน

   

ต่อไปนี้คือคำตอบของเรา....

  พุทธเศรษฐศาสตร์อธิบายว่า เป้าหมายของชีวิตคือ การแสวงหาความสงบสุข   แต่เศรษฐศาสตร์กระแสหลักอธิบายว่า  เป้าหมายคือการได้รับความพอใจสูงสุด ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด      

ข้อเท็จจริงคือ  จากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน   คนรู้ใหม่อาจไม่เคยรู้จักว่า ความสงบสุข  คืออะไร  รู้แต่ว่า ความสนุกสนาน ความพอใจคืออะไร     หากไม่รู้จักความสงบสุข ก็คงยากที่จะถือเอาความสงบสุขเป็นเป้าหมายของชีวิต  

  

แต่เมื่อเขาผ่านชีวิตมากขึ้น ผ่าน  ความทุกข์  มากขึ้น   ก็อาจจะต้องมองหาทางออก   และเมื่อนั้น  เขาอาจเริ่มมองหาความสงบในชีวิต   อีกทางหนึ่งคือ  ให้คนรุ่นใหม่ได้ทดลองปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจว่า  ความสงบสุขคืออะไร    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรียนรู้จากการปฏิบัติ   ด้วยเหตุนี้  หลักปรัชญาพุทธจึงเป็นเพียง ทางเลือก  ในปัจจุบัน

  นอกจากนี้ทฤษฎีตะวันตกพยายามสร้างความเป็นเจ้าของ เพราะเชื่อว่าความเป็นเจ้าของทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะ ทำให้ดีที่สุด   ระบบกรรมสิทธิ์จึงเกิดขึ้น 

   

แต่พุทธไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น   ไม่สะสมทางวัตถุ   จึงมีความหมายตรงข้ามกับการสร้างความเป็นเจ้าของอย่างสิ้นเชิง ...

  ไม่มีใครเป็นเจ้าของอะไรโดยแท้   

 ความไม่นิ่ง  ทำให้ชีวิตไม่สงบ  และง่ายที่จะตกเข้าสู่บ่วงทุกข์  

 สิ่งเหล่านี้ อาจต้องเข้าใจด้วยตนเอง

  
หมายเลขบันทึก: 145771เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2007 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สำหรับอ่านเข้าใจ แจ่มแจ้งดี ต้องขอขอบคุณที่ให้ความรู้
  • แต่ถ้าผมเป็นฝรั่ง อาจจะงง เพราะอาจไม่เคยมีฐานคิดเรื่อง การไร้อัตตามาก่อน
  • เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างเป็นนามธรรม แต่เวลาเรียนรู้มีจำกัด การจะรู้ให้เข้าถึงจึงยาก จึงน่าจะมีการสอนควบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ (เล็กๆ)ไปด้วยกันนะครับ

น่าเสียดายที่มีแต่แนวคิด

การแปลงมาเป็นรูปธรรมดูเหมือนจะห่างไกล

และต้องการความกล้าหาญเป็นอย่างมาก

น่าเสียดาย...น่าเสียดาย

น่าสนใจดีคะ บรรยากาศการเรียนแบบนี้ ประเด็นก็ดีคะ

หน่อยว่า การตั้งคำถาม เป็นสิ่งที่ดีมาก

     คำถาม ทำให้เกิดการคิด และร่วมกันตอบไปพร้อมๆกัน

สวัสดีค่ะคุณยอดดอย

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

เวลาสอนอาจารย์อภิชัยท่านพยายามอธิบายพุทธเปรียบเทียบกับหลักวิทยาศาสตร์  น่าสนใจมาก

เศรษฐศาสตร์พยายามอธิบายพฤติกรรมคนแบบวิทยาศาสตร์ (แนวเก่า คือ นิวตันกับดาร์วิน)  บางมิติจึงหายไป

 

 

 

เรียนคุณชิน

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เริ่มจาก "ข้อสมมุติ" เรื่องเป้าหมาย (ความพอใจ หรือกำไร ) และข้อจำกัด (ทรัพยากร) แต่ก็ยังถอดรูปออกมาเป็นพฤติกรรมการบริโภค  การผลิต การแลกเปลี่ยน และอื่นๆที่จับต้องได้

ในทางกลับกัน  ถ้าเราเริ่มจากสิ่งที่ทุกคน "จับต้องได้"  คือ  "ทุกข์"  เราคงจะสร้างรูปธรรมของปรัชญาเชิงพุทธออกมาเป็นการหาแนวทางพ้นทุกข์ได้กระมังคะ ...

เพิ่งคิดออกว่า ...คงต้องไปเสนออาจารย์อภิชัยว่า แทนที่จะตั้งเป้าหมาย "หาความสงบสุข" (ที่ผู้คนไม่รู้จัก) น่าจะตั้งเป้าหมายเป็น "หาแนวทางพ้นทุกข์"  น่าจะง่ายกว่า

แต่.. ที่จริงก็ยากอยู่ดีค่ะ .. คนเขียนเองก็ยังไม่หลุดเลย..

 

 

คุณหน่อยคะ.. สวัสดียามเย็นค่ะ

คำถามดีๆมาจากเด็กฝรั่ง  เด็กไทยนั่งเงียบค่ะ  เป็นความ "สงบนิ่ง" ที่ไม่พึงปรารถนาเท่าไร

 

กำลังอ่าน "พุทธเศรษฐศาสตร์" ของอ.อภิชัย อยู่พอดี

แต่เดิมตอนเราเรียน คงแยกความคิดระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์ ออกจากกัน แม้ว่าจะมีคำบอกว่า "พุทธศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์" แต่ก็ไม่ประจักษ์

แต่เมื่อมาศึกษา สิ่งที่เป็น "พุทธ" มากขึ้น ได้ตระหนักเลยว่า แท้จริงแล้วล้วนเป็นเหตุและผลทั้งสิ้น

ฟังดูง่าย แต่เอาเข้าจริง ใช้เวลาทำความเข้าใจเหมือนกัน

รู้สึกดีค่ะที่ได้มีโอกาสรู้จัก Blog นี้

ขอบคุณค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะคุณ piglet

ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ  คงจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นกันอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท