งานแต่งงาน_วิถีชุมชนที่กำลังลบเลือนหาย


งานแต่งานแบบวิถีชุมชนเป็นมากกว่าการจัดงาน แต่เป็นพิธีกรรม และวัฒนธรรม ที่หล่อหลอมให้การมีครอบครัวสมบูรณ์แบบ

ผมไม่ได้เขียนบันทึกมาหลายวัน เพราะมีประชุมที่โรงแรมที่คิดค่าบริการ Internet แพงมาก (ชั่วโมงละ 300 บาท) จะต่อด้วยมือถือก็ช้าซะเหลือเกิน หลังจากออกจากโรงแรมมาเมื่อวานกะว่าจะหาเรื่องเขียนก็จนแล้วจนรอดก็บ่ได้เขียนเหมือนเดิม มาวันนี้ต้องเดินทางมางานแต่งงานญาติๆ ฝั่งทางคุณภรรยาที่อยุธยา พอมาถึงสิ่งแรกที่นึก คือ ต้องเขียนบันทึกให้ได้ เพราะเป็นบรรยากาศที่ไม่ได้เห็นมานาน ซึ่งเป็นที่มาของบันทึกนี้ แม้ Internet จะช้าด้วยการต่อ GPRS ผ่านโทรศัพท์ก็ยอม  

เรื่องของเรื่อง คือ หลังจากขับรถบนถนนหลวงมาประมาณชั่วโมงครึ่งจาก กทม. ป้าที่มาด้วยกันซึ่งเป็นคนเดียวที่รู้เส้นทางก็พาเลี้ยวเข้าซุ้มประตูวัดแถบชนบทที่สัมผัสได้ถึงวิชีวิตที่เรียบง่าย ผ่านตลาดชุมชน และทางหลวงชนบทเรียบคลองอีกกว่า 5 กิโล ก่อนจะเลี้ยววกไปวนมาตามป้ายชื่องานที่เจ้าภาพเขียนติดไว้เป็นระยะๆ แล้วก็เลี้ยวลงสู่ถนนลูกรังที่รถไม่สามารถสวนทางกันได้เรียบคลองหน้าน้ำหลากไปอีกประมาณ 2 กิโล เห็นจะได้ สักพักเริ่มได้ยินเสียงเพลงลูกทุ่งโชยมาพร้อมกับลมที่พัดยามกำลังเข้าสู่เหมันต์ฤดู แล้วก็เริ่มมองเห็นที่มาของเสียงนั้น พร้อมกับเต็นผ้าใบสัก 2-3 ตัวเห็นจะได้ ทันที่ที่เลี้ยวรถเข้าสู่บ้านเจ้าภาพ คุณย่า คุณยาย คุณป้า คุณน้า คุณอา ที่กำลังสาละวนอยู่กับการเตรียมงานและอาหารการกินจิปาถะ ก็มองมาที่รถ ตอนที่ผมก้าวลงรถใจหนึ่งก็กลัวๆ เพราะเหมือนกับเป็นคนแปลกหน้าของทีนี่ แต่อีกใจหนึ่งก็อดที่จะรีบเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศที่ไม่สามรถพบได้ในเมืองใหญ่ที่ได้ขึ้นชื่อว่ามีความเจริญยิ่งนัก  

หลังเก็บข้าวของเรียบร้อย ก็ลงมานั่งกินขนมจีนมื้อเช้ากับคุณย่า และป้าๆ รสชาตินั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะของทุกอย่างที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นของคาว ของหวาน ญาติๆ ช่วยกันทำทั้งนั้น จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็คงเพียงอุปกรณ์ทุ่นแรงบางอย่าง เช่น เครื่องบดเนื้อ อะไรประมาณนั้น ทุกท่านลองนั่งนึกดูกับบรรยากาศรอบๆ ที่เป็นท้องทุ่งนายามน้ำหลาก ข้าวกำลังออกรวง และลมหนาวพัดมาเป็นระยะ ฟังเพลงลูกทุ่งไปพราง รสชาติของธรรมชาติ ของอาหาร ของมิตรภาพและความอบอุ่นในเครือญาติ จะขนาดไหน 

บรรยากาศที่บรรยายมานี้เป็นเพียงวันเตรียมงานเท่านั้น พรุ่งนี้เป็นวันงานจริงๆ ผมจะเก็บเรื่องราวดีๆ นี้มาบันทึกในโอกาศต่อไปครับ   

นึกแล้วก็อดที่จะคิดไม่ได้ว่าบรรยากาศแบบนี้จะได้เห็นไปได้นานขนาดไหน และลูกหลานเรา จะได้ซึบซับไปบ้างหรือเปล่า โดยเฉพาะบรรยากาศของความเอื้ออาทร อยู่กันแบบญาติมิตร ช่วยกันคิดช่วยกันทำ เพราะนั่นน่าจะเป็นหนทางการพัฒนาทุกๆ ด้านให้เกิดความยั่งยืนมากที่สุด 

ด้วยรัก  

หมายเลขบันทึก: 145452เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2007 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • อ่านแล้วนึกภาพตาม
  • น้ำใจความรักความอบอุ่นแบบเครือญาติ
  • ยังมีให้เห็นทั่วไปตามชุมชนชนบท
  • โดยเฉพาะเวลามีงานสำคัญต่าง ๆ
  • ผิดกับในเมืองที่อาศัยความสะดวกสบาย
  • ใช้บริการโรงแรมหรือสโมรสรต่าง ๆ
  • ขอบคุณค่ะ  คุณคน กทม.  ด้วยกัน 

จริงครับ P RAK-NA  เห็นด้วยอย่างยิ่ง

  • แล้วทำอย่างไรให้วิถีชุมชนกับการพัฒนาไปพร้อมๆ กันได้
  • เราจะมีวิถีการสืบทอด เล่าเรื่องราว ให้รุ่นต่อๆ ไปได้อย่างไร
  • ขอบคุณคนบ้านเดียวกันที่แวะมาเยี่ยมเยียนกันเสมอครับ

ด้วยรัก

  • ตามมาขอบคุณ
  • ที่แวะไปทักทายบ่อยๆๆ
  • ตอนนี้อยู่ที่มหาสารคาม
  • หรือที่ไหนครับผม

เรียน อ.ขจิต

  • ตอนนี้ผมอยู่ที่ กทม. ครับ ทั้งที่ทำงาน และที่พัก แต่ทะเบียนบ้านยังเป็นคนมหาสารคามอยู่
  • ช่วงนี้ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล กำลังพัฒนาหลักสูตรมหาบัณฑิตแนวใหม่ ซึ่งมีแนวคิดว่าอยากให้เป็นหลักสูตรทางไกล ผ่านระบบ online ผมจึงกำลังศึกษาระบบว่าจะใช้ช่องทางที่เป็นสื่อกลางด้วยระบบใดระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ รวมถึงผู้สนใจทั่วไป
  • webblog เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะผมเองก็ใช้บริการอยู่ และมีการแลกเปลี่ยนกันได้กว้างขวาง 
  • มีอะไรอาจารย์ก็ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

การแต่งงานสมัยนี้เจ้าของร้านโต๊ะจีนรวยครับ

เจ้าของงานไม่ต้องเตรียมอะไรมาก นอกจากเงิน

วัฒนธรรมเดิมๆที่มาช่วยกันขูดมะพร้าว ทำขนมจีนเริ่มหายไปแล้ว

สวัสดีครับ P

 

  • เป็นไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปครับ
  • แต่อย่างน้อยๆ อย่าเปลี่ยนวัฒนธรรมของการครองเรือนก็แล้วกันครับ

ด้วยรัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท