Safety First - 005 : เตาไมโครเวฟ ตอน พลาสติกที่ไม่ถูกโฉลก


 

ช่วงที่ผมเขียนคอลัมน์วิทยาศาสตร์ใน นสพ. อยู่นั้น มีแฟนคอลัมน์ท่านหนึ่งคือ คุณสุจิตรา ได้สอบถามเกี่ยวกับพลาสติกที่ใช้กับเตาไมโครเวฟมาดังนี้

ไมโครเวฟนี่ ถ้าเราใช้พลาสติก wrapper คลุมปากชามแล้วอุ่น พลาสติกส่วนที่ถูกอาหารไม่ละลาย แต่จะเป็นอันตรายหรือเปล่าคะ?… และอะไรที่เข้าไมโครเวฟได้อย่าสะดวกใจ เพราะช่วงหลัง ๆ ซื้อเมลามีน (ถูกและเบาดี) เห็นติดป้ายว่าเข้าไมโครเวฟได้หมดเลย มีวิธีทดสอบหรือเปล่าคะ?”

คำถามนี้สำคัญ + เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่อีกด้วย และจริง ๆ แล้ว เรื่องวัสดุอะไรเข้าไมโครเวฟได้ก็ไม่ใช่แค่เรื่องพลาสติกเท่านั้น แต่ในบันทึกนี้ ขอตอบเฉพาะที่ถามมาก่อน แล้วจะมีข้อมูลอื่นๆ ตามมาอีก (ถ้ายังสนใจอยู่) ะครับ

เรื่องพลาสติกกับเตาไมโครเวฟมี 2 ประเด็นหลัก คือ

หนึ่ง - พลาสติกนั้นทนความร้อนได้แค่ไหน?

สอง สารเคมีต่าง ๆ ที่อยู่ในพลาสติกจะละลายออกมาปนเปื้อนอาหารได้หรือไม่? และถ้าได้เป็นอันตรายแค่ไหน?

 

ประเด็นแรกคือ ทนร้อนได้แค่ไหนนี่สำคัญมาก เพราะว่าถ้าภาชนะพลาสติกเกิดเสียรูปบิดเบี้ยว (หรือแตกรั่ว) ก็จะทำให้อาหารหรือเครื่องดื่มหกเลอะเทอะและอาจเป็นอันตรายกับคุณได้

ผมขอตอบแบบปลอดภัยไว้ก่อนคือ ถ้าพลาสติกที่คุณใช้เป็นชนิดแข็ง ที่ทำจาก

  • โพลิโพรพิลีน (polypropylene หรือ PP - มีเลขสัญลักษณ์เลข 5 มีลูกศรล้อมรอบ 3 ดอก) อย่างนี้

  • โพลิคาร์บอเนต (polycarbonate หรือ PC - ไม่มีสัญลักษณ์) ที่ใช้ทำขวดนมเด็ก

ก็พอจะเชื่อได้ว่า ทนร้อนได้ดีพอสมควร <p align="center">
ส่วนพลาสติกเมลามีน (melamine) ที่อ้างว่าเข้าไมโครเวฟได้นั้น บอกความจริงไม่หมดครับ </p>
<p align="center">เพราะเมลามีนทนร้อนมาก ๆ ไม่ได้ จึงใช้ได้แค่ไฟอ่อน ๆ นานไม่เกิน 1-2 นาทีด้วย โดยถ้าเมลามีนร้อนถึงจุดหนึ่ง ก็จะบวมหรือแตก </p>
<p align="center">และถ้าเมลามีนร้อนมาก ๆ  (เช่นบริเวณที่สัมผัสกับอาหาร) ก็จะเกิดเป็นรอยไหม้ได้ เนื่องจากเมลามีนเป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซ็ต ซึ่งเมื่อร้อนจัดจะไม่หลอม แต่จะไหม้ไปเลย</p><p align="center">สรุปคือ อย่านำเมลามีนเข้าเตาไมโครเวฟเลยเป็นดีที่สุด
</p><p>
ประเด็นที่สอง
คือ จะมีสารเคมีปะปนลงไปในอาหารได้หรือไม่
</p><blockquote><p>เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) บอกว่าเป็นไปได้ครับ แต่ในทางวิชาการถือว่า ถ้าปริมาณของสารหนึ่ง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายมีเพียงเล็กน้อย คือต่ำกว่าเกณฑ์ที่เคยมีการศึกษาไว้ ก็ถือว่าปลอดภัย - ยกเว้นว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ มาทักท้วงเกณฑ์เดิม (ถ้าสนใจโปรดไปที่ http://www.fda.gov/fdac/features/2002/602_plastic.html)</p></blockquote><p>สำหรับพลาสติกห่อหุ้มอาหารนั้น แม้จะสามารถเข้าไมโครเวฟได้ ก็อย่าให้สัมผัสกับอาหาร (บางชนิดอาจระบุชัดเลยว่าให้พลาสติกคลุมอยู่เหนืออาหารอย่างน้อย 1 นิ้ว เป็นต้น)

และที่ลืมไม่ได้คือ ควรให้ช่องระบายไอน้ำร้อน ๆ ไว้นิด ๆ ด้วย เช่น เจาะรูเล็ก ๆ หรือคลุมหลวม ๆ ให้ไอน้ำหนีออกด้านข้างได้
</p><blockquote>

สำหรับวิธีการทดสอบภาชนะใส่อาหารแบบง่าย ๆ มีผู้แนะนำว่า ให้นำภาชนะต้องสงสัยใส่เข้าไปในเตาไมโครเวฟ พร้อม ๆ กับภาชนะที่เข้าเตาได้แน่ ๆ และมีน้ำเต็ม จากนั้นเปิดเร่งไฟเต็มที่ 100% นาน 1 นาที (ซึ่งจะทำให้น้ำร้อนขึ้น)

ถ้าภาชนะต้องสงสัยไม่ร้อนขึ้นก็แสดงว่าน่าจะใช้ได้ แต่ถ้าดันอุ่นหรือร้อนขึ้น ก็แสดงว่าใช้ไม่ได้ (แต่ผมคิดว่าวิธีนี้เสี่ยงไปหน่อย เพราะถ้าเอาของที่ใช้ไม่ได้เข้าเตา มันก็จะบิดเบี้ยวบู้บี้ เสียของเปล่า ๆ สู้เอาไว้ใช้งานธรรมดาดีกว่า

</blockquote><p align="center">ใครมีประสบการณ์ก็เขียนมาแลกเปลี่ยนกันหน่อยนะครับ!</p><hr><p>ประวัติของบทความ</p><ul>

  • ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ Know How & Know Why นสพ. กรุงเทพธุรกิจ พฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2547
  • ดัดแปลงเพื่อเผยแพร่ใน GotoKnow เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  • </ul><hr><p>อ่านเรื่องนี้ด้วยก็แจ๋ว</p><ul>

  • ระวังปรากฏการณ์ Superheating ในการใช้เตาไมโครเวฟ
  • Safety First - 004 : เตาไมโครเวฟ ตอน ไข่ระเบิด 
  • เรื่อง Cooking Safely in the Microwave Oven : http://www.fsis.usda.gov/OA/pubs/fact_microwave.htm
  • </ul><hr>

    หมายเลขบันทึก: 145236เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2007 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (3)
    • ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆคะอาจารย์
    • ชีวิตเมืองทำให้ต้องใช้ไมโครเวฟอุ่นอาหารเป็นประจำ
    • พยายามเปลี่ยนเป็นชามแก้วแทนแล้วคะ
    • แต่ถึงอย่างไรก็อันตรายอยู่ดีนะคะ

    สวัสดีครับ คุณ P  naree suwan

              ด้วยความยินดีครับ

              เรื่องเตาไมโครเวฟนี่ยังมีอีกหลายแง่มุมทีเดียว

    ไว้จะทยอยนำมาลงครับ

    คือพอดีหนูทานซุปที่มีคนอุ่นให้ทางร้านอะคะเเล้วมีลักษณะบิ้นๆ ตรงขอบ อะคะ

    แบบนี้แต่ไม่ถึงขั้นละลายออกมาเลยอยากทราบว่ามันจะถึงขั้นเป็นมะเร็งเลยหรือเปล่าอะคะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท