ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ – ตอนที่ 7


หากมีคนสองคนที่มีคุณภาพทัดเทียมกัน คนหนึ่งเป็นคนที่มาจากประเทศพัฒนาแล้ว อีกคนหนึ่งมาจากประเทศที่กำลังพัฒนา เขาจะลงมติให้บุคคลจากประเทศที่กำลังพัฒนาได้รับรางวัล แต่ทั้งนี้จะไม่มีการลดหย่อนการพิจารณาในทางคุณภาพ

              บทความก่อนหน้านี้ ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3, ตอนที่ 4, ตอนที่ 5, ตอนที่ 6

                                                    **********************************
 ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ

ตอนที่ 7

                ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลนั้น  กรรมการชาวต่างประเทศได้มติว่า  หากมีคนสองคนที่มีคุณภาพทัดเทียมกัน  คนหนึ่งเป็นคนที่มาจากประเทศพัฒนาแล้ว  อีกคนหนึ่งมาจากประเทศที่กำลังพัฒนา   เขาจะลงมติให้บุคคลจากประเทศที่กำลังพัฒนาได้รับรางวัล     แต่ทั้งนี้จะไม่มีการลดหย่อนการพิจารณาในทางคุณภาพ   ดังนั้นในการตัดสินการให้รางวัล   เราก็มี  Dr. Ho Wang Lee จาก ประเทศเกาหลี,  Dr. Cero de Quadros จากประเทศ Brazil, Dr. Frederick T. Sai จากประเทศ Ghana, Dr. Nafis Sadik จากประเทศปากีสถาน, ดร. ประสงค์ ตู้จินดา และ ดร. สุจิตรา นิมมานนิตย์  จากประเทศไทย เป็นต้น

                เรามีผู้ได้รับการเสนอให้เป็นผู้ที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประมาณปีละ 50-60 คน       สมควรที่จะดูว่าท่านผู้ที่จะได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นกลุ่มบุคคลเช่นใด   อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่รับการเสนอกลุ่มใหญ่  เป็นคนที่เป็นศาสตราจารย์ในภาควิชาใดภาควิชาหนึ่งของมหาวิทยาลัยเป็นศาสตราจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหานับถือมาก     เป็นผู้ที่มีผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ   กว้างขวาง    ปัญหามีอยู่ว่าการที่จะหาผลงานของท่านที่ทำให้เกิดประโยชน์ในหลายๆ   ประเทศนั้นยากที่จะหาเช่นนั้นได้

                ใน Charter ของเราได้บอกว่าสถาบันที่ทำงานวิชาการไว้และอยู่ในฐานะที่จะเสนอตนเองเข้ารับการพิจารณาก็จะพิจารณาได้     แต่ในคณะกรรมการรางวัลมหิดลได้พิจารณากันมากแล้ว  เห็นว่าควรจะรอการพิจารณาสถาบันไว้ก่อน     เพราะเราไม่อยู่ในฐานะที่จะบอกว่าผู้บริหารสถาบันมีความดีขึ้นมาจริงหรือไม่    และถ้าผู้บริหารสถาบันแห่งนั้น  จะไม่ใช่ผู้ที่ทำให้สถาบันมีชื่อเสียง  เราก็รู้สึกจะไม่สบายใจถ้าไปให้รางวัล

                หากเราศึกษาบัญชีของผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลใน 10 ปี   ที่ผ่านมานี้    เราจะเห็นว่าใน 3-4 ปีแรกๆ  ผู้ที่ได้รับรางวัลจะมีรางวัลละ 1 คน   แต่ปีหลังๆ   มานี้    เราจะเห็นมีผู้ได้รับรางวัลละ 2 คน  เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ความจริงคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ  เขาไม่พอใจการที่เราแยกเป็น 2 รางวัล  และแบ่งเป็นแพทย์ 1 รางวัล  สาธารณสุข 1 รางวัล   เขาต้องการให้เป็น 2 รางวัลเท่าๆ กัน  โดยเขาบอกว่าปัญหาแพทย์และสาธารณสุขในปัจจุบันมีความใกล้เคียงกันมาก   การแก้ปัญหาการแพทย์และสาธารณสุขจึงไม่ควรแยกกัน    ซึ่งผมก็ได้ขอร้องเขาไม่ให้เสนอความคิดเช่นนี้ขึ้นมาเพราะ  Charter บอกไว้เช่นนั้น   และไม่ควรแก้  Charter ที่พึงเขียนขึ้น

                                                                                                                (โปรดติดตามต่อไป)
                                                    **********************************
ที่มา : บทความพิเศษ  ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  โดย ณัฐ ภมรประวัติ พ.บ. จาก สารศิริราช  ปีที่ 54 ฉบับที่ 9 กันยายน  2545


 

หมายเลขบันทึก: 14369เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 07:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท