ทำไม หลายคนผอมลงแล้วอารมณ์ดีขึ้น


พวกเราคงจะมีประสบการณ์พบคนที่ผอมลงแล้วอารมณ์ดีขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย วันนี้มีข้อมูลการทดลองมาฝากครับ

 

พวกเราคงจะมีประสบการณ์พบคนที่ผอมลงแล้วอารมณ์ดีขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย วันนี้มีข้อมูลการทดลองมาฝากครับ

ท่านอาจารย์บรูคฮาเฟน พานาโยทิส (ปีเตอร์) ทานอส นักวิทยาศาสตร์ระบบประสาท และคณะ ทำการทดลองในหนูทดลอง ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ พวกหนูผอมกับหนูอ้วน นำไปถ่ายภาพสแกนสมองเปรียบเทียบกัน

...

สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ในสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทคนเรามี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน

เจ้าสารสื่อประสาทนี่ปกติจะทำหน้าที่ของตัวเองดี ไม่ค่อยตีรวนเหมือนนักการเมืองไทย ทีนี้มีสารสื่อประสาทตัวหนึ่งซึ่งอยู่ฝ่ายความสุข (pleasure) หรือฝ่ายให้รางวัล (reward) สารนี้คือ "โดพามีน (dopamine)"

...

ถ้ารอยต่อระหว่างเซลล์ประสาท (synapses) ซึ่งมีการรับ-ส่งสัญญาณจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง มีสารโดพามีนมากพอ และมีตัวรับสัญญาณโดพามีน (dopamine receptors) มากพอ... คนเรามีแนวโน้มจะมีความสุข 

ตรงกันข้าม... ถ้ารอยต่อระหว่างเซลล์ประสาทมีสารนี้ลดลง หรือมีตัวรับสัญญาณน้อยลง คนเราอาจจะเกิดอาการซึมเศร้า เหงาหงอย ถดถอย พลอยจะหมดเรี่ยวหมดแรง ไม่อยากทำอะไร

...

ผลการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ตัวรับสัญญาณโดพามีนมักจะมีน้อยลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคซึมเศร้าพบบ่อยขึ้นในคนสูงอายุ

ผลการศึกษาในหนูทดลองครั้งนี้พบว่า

  • หนูอ้วนมีตัวรับสัญญาณโดพามีนน้อยกว่าหนูผอม
  • การลดปริมาณอาหาร โดยเฉพาะการลดแคลอรี ทำให้ตัวรับสัญญาณโดพามีนเพิ่มขึ้นได้

...

การศึกษานี้อาจช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมคนหลายคนที่ลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือลดแคลอรีในอาหารลงมีความสุขมากขึ้น หรืออารมณ์ดีขึ้น อาการเหงาๆ เศร้าๆ ลดลง

เรียนเชิญพวกเราหันมาใส่ใจสุขภาพด้วยการควบคุมอาหาร เพิ่มผักผลไม้ที่ไม่หวานจัด(ทั้งผล ไม่ใช่น้ำผลไม้) เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง และลดอาหารประเภท "หวานๆ ทอดๆ" ให้น้อยลง โดยเฉพาะเครื่องดื่มเติมน้ำตาล เช่น ชาเขียวเติมน้ำตาล ฯลฯ และออกกำลัง-ออกแรงเป็นประจำ เพราะผอมลงแล้ว อารมณ์น่าจะดีขึ้นได้

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ที่มา                                                                

  • Thank Reuters & Centre for emotional well-being blog > Decreasing food increases "Pleasure" chemical > [ Click ] > October 31, 2007.
  • ขอขอบคุณ > อาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + ทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี > สนับสนุน IT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 1 พฤษจิกายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 143498เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2007 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ คุณหมอ..

ถ้าผอมแล้ว  อารมณ์จะดี ....  นี่พยายามทำให้ตัวเองผอมอยู่ค่ะ  จะได้อารมณ์ดีทั้งวัน  ^_^

ขอบคุณค่ะ ..

ขอขอบคุณ... คุณเนปาลี

  • ลองพยายามดูน่าจะดี

เท่าที่สังเกตมา... คนที่ปรับเปลี่ยนอาหาร + ออกกำลัง-ออกแรงมากขึ้น อะไรๆ ก็ดีขึ้นทั้งๆ ที่หลายคนน้ำหนักเท่าเดิม

  • เข้าใจว่า คงจะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายใน เช่น สัดส่วนไขมันลดลง สัดส่วนกล้ามเนื้อมากขึ้น ไขมันรอบพุงลดลง ฯลฯ
  • เชียร์ครับ... เชียร์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท