มะม่วงนอกฤดู


ทำง่าย

สื่อการเรียนการสอนเกษตรกรโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้การเกษตรพอเพียง  ปี  2550สำนักงานเกษตรอำเภอหนองพอก  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด เรื่องที่ 1การผลิตมะม่วงนอกฤดู                 เพื่อให้ได้ผลผลิตมะม่วงในช่วงระยะเวลาที่ตลาดต้องการ  หรือช่วงที่มีราคาสูงเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีการราดสารแพคโคบิวทราโซน เพื่อบังคับให้มะม่วงออกดอกติดผลในช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรต้องการ โดยมีวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้1.การตัดแต่งกิ่ง  หลังจากให้ผลผลิตแล้วมะม่วงจะมีสภาพทรุดโทรม  เนื่องจากการใช้ธาตุอาหารจำนมากในการสร้างผลผลิต เกษตรกรควรดูแล,บำรุงรักษาเพื่อเร่งให้มะม่วงมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดพร้อมให้ผลผลิต  โดยเริ่มจาก การตัดแต่งกิ่งการตัดแต่งกิ่ง เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  เกษตรกรที่ทำได้ดีต้องเป็นผู้ที่มีความขยันในการศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้  มีความสังเกตจดจำพฤติกรรม,ลักษณะอาการของพืชชนิดนั้น ๆ ที่จะทำการตัดแต่งกิ่ง  ว่าเรากระทำอะไรกับพืชแล้วมีผลเป็นเช่นไร  โดยหลักทั่วไปในการตัดแต่งกิ่ง  มีดังนี้  1.1. ตัดกิ่งที่อ่อนแอไม่สมบูรณ์เนื่องจากโรคและมีบาดแผลจากการทำลายของศัตรู1.2. ตัดกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มไม่ได้รับแสงแดด1.3. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งแสงแดดส่องได้ทั่วถึงและระบายอากาศได้ดี  เพื่อลดอัตราการเกิดโรคระบาดพืชที่มีสาเหตุจากเชื้อรา1.4. ตัดแต่งกิ่งที่เกษตรกรไม่ต้องการในการตัดแต่งกิ่งเกษตรกรต้องใช้เครื่องมือให้ถูกต้อง  เหมาะสม เพื่อความสะดวกในการใช้งาน  ทั้งนี้เพื่อลดอัตราการฉีกขาดบริเวณแผลที่ตัด  ซึ่งจะทำให้เชื้อโรคเข้าทำลายบาดแผลได้ง่าย เป็นเหตุให้พืชชะงักการเจริญเติบโตเนื่องจากการเกิดโรคและพืชยังต้องใช้ธาตุอาหารจำนวนมากในการซ่อมแซมบริเวณแผลที่ตัด การเลือกใช้เครื่องมือและเทคนิควิธีในการตัดแต่งขึ้นอยู่กับฝีมือทักษะและความชำนาญของเกษตรกรเองกล่าวในที่นี้คือใช้เครื่องมือชนิดใดก็ได้ขอให้บริเวณแผลที่ตัดแต่งราบเรียบและไม่ฉีกขาดหลังตัดกิ่งเสร็จต้องทาทับแผลด้วยปูนกินหมากหรือใช้สีน้ำมันทาทับ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าทำลายบาดแผล  และป้องกันการระเหยน้ำของพืช2. การใส่ปุ๋ย เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วเสร็จ  ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันเกษตรกรต้องเร่งการเจริญเติบโตและเร่งการสะสมอาหารเพื่อให้มะม่วงมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะให้ผลผลิตในรุ่นต่อไป  จากนั้นเกษตรกรควรจัดเก็บและทำความสะอาดบริเวณพื้นสวนให้โล่งเตียน  ด้วยการตัดหรือดายหญ้าให้โล่งเพื่อลดบริเวณอาศัยของแมลงศัตรู  และสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษาและทำกิจกรรมอื่น ๆ ของเกษตรกรเองบริเวณรอบโคนต้นมะม่วง  เกษตรกรควรสุมโคนด้วยแกลบดิบเพื่อเรียกรากฝอยและรากขนอ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการราดสาร  และการให้ปุ๋ยทางดิน  นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยดูดซับความชื้นดินบริเวณรอบโคนต้นแถมยังช่วยลดปริมาณวัชพืชบริเวณโคนต้นอีกด้วยการให้ปุ๋ยในระยะนี้ประกอบด้วย ปุ๋ยทางดิน  ปุ๋ยเคมี ควรเป็นปุ๋ยสูตรเสมอ  เช่น  15 - 15 - 15 , 16-16-16  เป็นต้นโดยการให้บริเวณราก  ใน      อัตรา  0.5  กิโลกรัม/ต้น  สำหรับมะม่วงอายุ4 ปีขึ้นไปปุ๋ยคอก เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการใช้ปุ๋ยคอกทั้ง 3 ด้าน คือ  เพิ่มธาตุอาหารพืช,ปรับปุรงโครงสร้างของดินและกระตุ้นการเกิดรากของพืชบริเวณโคนต้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการราดสารและการให้ปุ๋ยทางดิน  เกษตรกรผู้มีประสบการณ์กล่าวว่าควรใช้ปุ๋ยคอกที่ได้จากฟาร์มไก่เนื้อ  เพราะมีแกลบผสมอยู่ด้วยการคลุมหน้าดินด้วยแกลบดิบจะช่วยให้ดินบริเวณนั้นมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเนื่องจากกระบวนการย่อยสลายซึ่งเป็นการช่วยกระตุ้นให้รากพืชเพิ่มมากขึ้นในบริเวณดังกล่าวอีกด้วย          ปุ๋ยทางใบ              - ใช้ปุ๋ยเกล็ด  สูตร 15-15-15 อัตราส่วน 1:200 ฉีดพ่นทุก ๆ  7  วัน-          ฉีดพ่นน้ำหมักหรือฮอร์โมนตัวเมีย  (หัวเชื้อแม่) ในอัตรา 1:200 ฉีดพ่นสลับกับปุ๋ยเกล็ด3. ราดสารแพคโคบิวทราโซน  หลังจากการตัดแต่งกิ่งและบำรุงต้นมะม่วงด้วยการให้ปุ๋ยทางดิน,ทางใบแล้วประมาณ  1  เดือน  มะม่วงจะเริ่มแตกใบและเจริญเติบโตตามลำดับและมีความพร้อมที่จะเริ่มออกดอกได้  ระยะนี้เกษตรกรต้องเริ่มพิจารณากำหนดวันราดสารได้  เพราะหลังจากราดสารประมาณ 2 เดือนมะม่วงจะเริ่มแทงช่อดอก  จากนั้นอีก  2  เดือนก็เริ่มเก็บมะม่วงผลดิบขายได้  เกษตรกรจะประสพผลสำเร็จด้านการตลาดหรือไม่  ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ,วิเคราะห์ราคาของผลผลิตในช่วงเก็บเกี่ยวได้ถูกต้องหรือไม่                เมื่อมะม่วงมีความอุดมสมบูรณ์พร้อมเกษตรกรสามารถราดสารแพคโคบิวทราโซนได้โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยอายุ 5-6 ปีขึ้นไปใช้สารแพคโคบิวทราโซน  ในอัตรา  6  ขีด ผสมน้ำสะอาด  2  ลิตร  ราดให้ทั่วบริเวณที่กลบแกลบดิบหรือสุมโคนต้นไว้  จากนั้นเมื่อมีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องมะม่วงจะเริ่มแทงช่อดอด  เมื่อราดสารได้  2  เดือนดังที่กล่าวมาแล้ว                4. การใช้ฮอร์โมนตัวผู้  หลังจากการราดสารได้  7  วันเกษตรกรควรฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนตัวผู้ (หัวเชื้อพ่อ)  ในอัตรา 1:200 ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน  3  ครั้งจะช่วยให้มะม่วงติดผลดกและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น    

หมายเลขบันทึก: 143492เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2007 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ลุงหนวดเอามาฝากหน่อยครับ**จากเกษตรสิงขร

ข้อมูลแน่นดีครับผมชอบแต่ยังขาดการดูแลช่อดอกและผลอ่อน แลการป้องกันผิวมะม่วง

หากไม่รบกวนขอเพิ่มหน่อยนะครับ

สารพาโคบิวทราโซน ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ ทำให้ตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างการทำงานได้ลดลง ทำให้เกิดตับอักเสบและเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด หันมาทำเกษตรปลอดสารเคมีเถอะครับ เพื่อคุณ คนที่คุณรัก และลูกหลานของเรา อ่านดูได้ที่

http://www.cdpr.ca.gov/docs/risk/rcd/paclobut.pdf

หากเป็นแล้วก็จะมีโรคตามมาอีกมากมายครับ อ่านได้ที่นี่

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/10086

หากไม่ใช้สารพาโคบิวทาโซลจะใช้สารตัวในแทนได้แนะนำหน่อยได้คร้าบท่านผู้รู้ลึก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท