ร็องแงง


จากหนังสือ การแสดงพื้นบ้านในประเทศไทย โดย เรณู โกศินานนท์

                  

           การแสดงอีกแบบหนึ่งของชาวไทยทั้งมุสลิมและพุทธแห่งภาคใต้ แม้ว่าจะได้รับแบบอย่างมาจากฝ่ายชวา มลายู ก็ตาม 


          นับได้ว่าเป็นศิลปการเต้นคำแบบพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมที่ได้รับความนิยมมาก    

           แต่ก่อนนั้นไม่ยังแพร่หลายเข้ามาประเทศไทยมากนัก คงมีอยู่บ้างในท้องถิ่นซึ่งใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซีย

           เพราะถ้าเต้นตามแบบฉบับแล้วจะไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกันระหว่างหญิงชาย

           แต่ปรากฏว่าชาวบ้านนำไปเต้นกันในท้องถิ่นของตน ได้มีการจูบเพื่อแลกเงินกันด้วย

           ดังพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเรื่อง "ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน" ทรงเรียกว่า "รองเกง" ดังนี้ "ออกไปเดินข้างนอกต่อไปดูเขาเล่น "รองเกง" กันเป็นหมู่ แรกสองวงที่หลังแยกออกเป็น 3 วง มีผู้หญิงวงละ 3 คน มีพิณพาทย์สำรับหนึ่ง ระนาดราง 1 ซอคัน 1 ฆ้องใหญ่ใบ 1 บ้าง 2 ใบบ้าง กลองรูปร่างเหมือนกลองชนะแต่อ้วนกว่าสักหน่อย มีสองหน้าเล็ก ๆ อัน 1 ผู้หญิงร้องรับพิณพาทย์ ผู้ชายเข้ารำเป็นคู่ แต่ผลัดเปลี่ยนกัน ดูท่าทางเป็นหนีไล่กันอย่างไรอยู่ ผู้หญิงไม่ใคร่จะรำเป็นแต่ร้องมากกว่า แต่ผู้ชายรำคล้าย ๆ ท่าค้างคาวกินผักบุ้ง ที่ตลกรำมีตะเกียงปักอยู่กลางวงดวงหนึ่ง รำเวียนไปรอบๆ ตะเกียง พอรัวกลองผู้ชายตรงเข้าจูบผู้หญิง ๆ ก็นิ่งเฉย ไม่เห็นบิดเบือนปัดป้องอันใด เห็นท่าทางมันหยาบอย่างไรอยู่ นึกว่าวงนั้นจะถูกเป็นคนไม่ดี ย้ายไปดูวงอื่น ก็เป็นเช่นกันอีก มาภายหลังจึงทราบว่าเป็นธรรมเนียมเขาเล่นกันเช่นนั้น การที่จะรำช้ารำเร็วนั้น ดูอยู่ในกำมือของผู้ตีกลอง ถ้ากลองไม่พรึด เมื่อไรก็ยังจูบไม่ได้ ถ้ามันตีไปยันรุ่งก็จะต้องรำไปยันรุ่ง เดี๋ยวนี้เจ้ากลองจะพรึดบ่อย ๆ มิใช่เพราะเห็นสนุก ข้างฝ่ายนางผู้หญิงที่ยอมให้จูบนั้น ก็มิใช่จะสมัครให้จูบโดยเต็มใจ ข้างฝ่ายชายที่เป็นผู้จูบนั้นใช่จะจูบด้วยความชื่นอกชื่นใจอย่างเดียว ไปกดอยู่นาน ๆ ถึงมินิดหนึ่ง 2 มินิด รวบรวมใจความเป็นเรื่องอัฐอย่างเดียวพอใครจูบแล้วต้องคว้าให้ 2 อัฐ เจ้าพิณพาทย์กับนางหญิงก็มีหุ้นส่วนกัน ถ้ามีคนจูบได้มากเท่าใดและเร็วเท่าใดยิ่งดี ข้างฝ่ายชายไหน ๆ เสียอัฐจูบให้สะใจ"
           มีผู้สันนิษฐานว่า การเต้นรองเง็งนั้นน่าจะเป็นแบบอย่างของชาวตะวันตก โดยเฉพาะชาวโปรตุเกสหรือชาวดัทส์(ฮอลันดา)ซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือประเทศอินโดนีเซีย

           ด้วยประเทศดังกล่าวนั้นมีประเพณีการเต้นรำสำหรับวันรื่นเริงในเทศกาลต่าง ๆ อยู่แล้ว

           เมื่อชาวพื้นเมืองได้พบเห็นเข้าก็เกิดความพอใจ จึงมีการฝึกหัดการเต้นรำในแบบรองเกงหรือรองเง็งขึ้น

           ในที่สุดก็แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็วจนเข้ามาสู่ประเทศไทย แต่ในประเทศไทยนั้น เท่าที่ไต่ถามผู้ทราบเรื่องราวเป็นอย่างดีได้อธิบายว่า การเต้นรองเง็งนั้นมาด้วยกันกับการแสดงมะโย่ง คือ เมื่อหยุดพักเหนื่อยราว 10-15 นาที ก็จะสลับการแสดงด้วยการเต้นรองเง็งนี้ โดยผู้แสดงมะโย่งนั้นเองออกมาจับคู่เต้นรำ แล้วผู้ดูก็พลอยสนุกสนานไปด้วย จึงมีการเชิญชวนเข้าร่วมวง แต่ในประเทศไทยไม่มีการจูบดังที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ที่อัญเชิญมาในตอนต้น
          
การเต้นรองเง็งไม่มีพิธีการหรือข้อจำกัดใด ๆ เพราะอาจแต่งกายการอย่างชาวบ้านเข้าร่วมวงได้ แต่ผู้ชายมักนิยมสวมหมวกแขก (หมวกหนีบ) สีดำหรือสวม"ชะตางัน" หรือสวมผ้าโพกแบบเดียวกับเจ้าบ่าวชาวมุสลิมเข้าพิธีแต่งงาน แต่ถ้าจะแต่งกายให้เหมาะยิ่งขึ้น ก็มักนุ่งกางเกงจีนขากว้าง หุ้มโสร่งทับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งมักทำด้วยผ้าซอแกะหรือโสร่งไหม สวมเสื้อคอกลมแขนยาวติดกระดุมตรงหน้าอก สำหรับสตรีจะสวมเสื้อแขนกระบอกเรียกว่า เสื้อบันดง เอวเข้ารูปปล่อยชายปิดตะโพก ผ่าอกตลอดและติดกระดุมทอง 5-7 เม็ด นุ่งผ้าถุงกรอมเท้า มีผ้าคลุมไหล่สีตัดกับเสื้อ


           สำหรับดนตรีที่ใช้ในการเต้นรองเง็งนั้น มีไวโอลินเป็นผู้นำเสียงเพลงและอาจมีกีตาร์ผสมด้วย เครื่องประกอบจังหวะได้แก่
กลองรำมะนา

           แต่ปัจจุบันใช้กลองทอกับฆ้องหรือจะเพิ่มเติมอีก และอาจใช้วงดนตรีสากล ดนตรีแจ๊ส ตลอดจนวงอังกะลุงก็ได้ เพลงต่าง ๆ ที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ใช้กัน 7 เพลง ได้แก่ เพลงลาฆูดูวอ เพลงลานัง เพลงปูโจ๊ะปิซัง เพลงจินตาซายัง เพลงอาเนาะดีดี๊ เพลงมะอีนังชวา และเพลงมะอีนังลามา เพลงต้นกับเพลงท้าย เป็นเพลงยืนพื้น เพราะเป็นเพลงที่เหมาะกับการแสดงลวดลายในการเต้นรำโดยผู้ชำนาญ

คำสำคัญ (Tags): #ร็องแงง
หมายเลขบันทึก: 143389เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

 สวัสดีครับ  นายช่าง

  • ไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี้ยังมีหรือเปล่า
  • ไม่เคยเห็นเลย
  • ผิดหลักศาสนาด้วย (ชาย-หญิง)
  • ขอบคุณมาก

สวัสดีครับพี่บ่าว

             ยังมีแต่การแสดงของแด็ก ๆ

ก็เพลงหนี้ไง" บูรง กากา ตูอา.....ผมจำได้แค่หนี้เสียแล้ว ค่อยหามาขึ้นให้ครับ"

                                     สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะ

 เคยเห็นในทีวีนะรำร็องแงง แต่งตัวสวยดี ทำนองเพลงสนุก คนใต้สวยจัง น่ารักมาก ดูภาพนี้ค่อยอารมณ์ดีหน่อย เกือบจะหายงอแงแล้ว ว่างก็แวะไปดูที่บล็อกแล้วกัน อ.ขจิตบอก ยิ่งกว่านักร้องเดินสายอีก สงสัยเราจะนิสัยไม่ดีเลยถูกจับอบรมจนหัวโต ค่ะ

สวัสดีครับ

ชอบเพลงรองเง็งครับ เสียงไวโอลินเพลินๆ สนุกสนานดี แล้วเขาแต่งตัวสวยด้วย

เพลง บูรง กากา เคยได้ยินเพลงไทยเดิม เอามาเล่น คล้ายๆ บูรง กากาของมลายู อีกเพลงคุณเศรษฐา ศิระฉายา เคยร้อง แต่ใช้ชื่อว่า สกุณา ทำนองเดียวกันหรือเปล่ากับที่คุณสุวรรณ์พูดถึงหรือเปล้าก็ไม่ทราบ 

 

สวัสดีครับคุณตันติราพันธ์

                 ไปเยี่ยมเยือน"เรือนคน งอ..แง"มาแล้วครับ

เก่งจัง งอ..แง ได้ครับ

                                        สวัสดีครับ

สวัสดีครับคุณธวัชชัย

      ใช่ครับเพลงสกุณา......

              "สกุณา ร่าร้อง เริงรมย์

              ร่ำร่ำ ระงม ชวนฟัง

              รอนรอน ค่ำแล้ว คืนรัง

             นกน้อยยัง คืนรัง เคียงเรือน"

         ยังพอจำได้อยู่บ้างครับ สวัสดีครับ

สวัสดีครับคุณคำสุวรรณ์

ผมดูรองเง็งมาตั้งแต่เด็ก รองเง็งที่ภูเก็ต-พังงา จะร้องรำโดยชาวเล มีการร้องเกี้ยวพาราสีกันเป็นภาษาชาวเล ต่อมามีคนไทยชอบสนุกก็เอามาแปลง โดยเอาทำนองเพลงรองเง็ง (ตันหยง) มาแปลงเนื้อไทยไว้ร้องเกี้ยวสาวชาวเล

ตันหยง ตันหยง กำปงละน้อง หยงต้นส้มปลิง หากน้องสมัคร รักพี่จริง พี่จะตีปิ้ง(ตะปิ้ง)ให้น้องสองอัน อันเล็กกลางคืน อันใหญ่ทรามชื่นเอาไว้ใส่กลางวัน เพื่อกันและเด ...แมงวันตอม   ฮิฮิ จำได้แค่นี้

ขอบคุณครับคุณอัยการชาวเกาะ

               ครับแถวบ้านผมเมื่อก่อนมีงานเยอะ จะได้เห็นได้ยินอยู่บ่อยๆ แต่กะว่าอีกไม่นานเสียงขับขานดนตรีก็จะมีมาอีกครั้งครับ

                               สวัสดีครับผม

เทปหรือCD หรือVCD เพลงรองเง็ง หาซื้อได้ที่ไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท