นาข้าว สวนยาง สวนปาล์ม สวนหย่อม พันธุ์ไม้- เมื่อวันน้ำท่วมมาถึง


24 ตุลาคม 2550 : 18.00 น.

        ตั้งแต่เช้ามืดวันเสาร์ที่  20   จนถึง 24 ตุลาคม 2550 ฝนตกหามรุ่งหามค่ำ  ทำให้ระดับน้ำในทุ่งนาหน้าบ้านสูงขึ้นประมาณ 1.00 เมตร  น้ำใหม่ๆ อย่างนี้เป็นความหวังของเพื่อนบ้านและผมด้วย คือการลอยตาข่ายจับปลา   เช้าวันที่ 23 ต.ค. จัดแจงเอาตาข่ายดักปลาขนาด 4.5 ซ.ม. ออกไปทุ่งที่น้ำท่วม เอาไม้ปักหัวท้ายตาข่ายแล้วให้ทุ่นลอยบนผิวน้ำ  ตะกั่วที่ถ่วงตาข่ายจมอยู่ที่พื้นดิน  ทิ้งไว้ค่อยไปดูตอนเย็นๆ  หลังจากลงตาข่ายเสร็จ ลุยน้ำไปดูนาที่ดำต้นกล้าไว้ประมาณ 15 วัน  พบว่าน้ำท่วมมิดใบ ไม่เห็นยอดเลย  จากประสบการน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2548  พบว่าน้ำที่ท่วมยอดข้าวเกิน 3 วัน จะทำให้ต้นข้าวเน่าเสียหาย  วันนี้หากน้ำไม่ลดให้ใบข้าวได้รับแสงแดด  แน่นอนว่าจะต้องกลายเป็นฟางแช่น้ำ  แรงงานที่ดำนาและต้นกล้าที่ลงไป คงสูญเปล่า  หวังว่าคงไม่เป็นอย่างที่กังวล

 

๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

       เมื่อวานฝนตกหนักอีก  น้ำท่วมทุ่ง มองเห็นน้ำขาวอย่างกับทะเล  คราวนี้ไม่ได้ออกลอยตาข่าย  ไม่ได้ออกไปดูต้นยางที่ปลูกใหม่  ช่วงนี้ตองจัดการกับต้นไม้เล็กๆ ที่ชำไว้ให้เข้าร่มฝนก่อน เพราะหลังจากถูกฝนหนักตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม เริ่มมีอาการรากเน่า  ใบเน่า  จัดการทำหลังคาพลาสติกโปร่งใสไว้ให้พันธุ์ไม้หลบฝนแต่ได้รับแสง กันเชื้อรารากและใบเน่าได้ดีนักครับ 

        
 

หมายเลขบันทึก: 141686เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับอาจารย์

ช่วงปลาย มค. ๕๑ ผมอาจมีโอกาสลงไปเก็บข้อมูล เกี่ยวกับ ยางพารา แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดเนื้อหางาน

 

ผมอาจเดินทางไปรบกวน ปรึกษา หารือ ในบางโอกาสนะครับ

ยินดีครับ ถ้าลงมาให้ติดต่อมานะครับ e - Mail มาก็ได้ครับ  เข้าไปดู addres ที่หน้าประวัติก็แล้วกันครับ  ยินดีครับ ให้พาเข้าป่า เข้าสวน ถนัดครับ

ยินดีและขอบคุณท่านอาจารย์มากๆครับ

แค่คิดก็อยากไปแล้วครับ อยากไปเรียนรู้ สัมผัสวิถีชีวิตที่ต่างออกไปของชาวเกษตรกรที่นั่น

ขอบคุณมากจริงๆครับ

ผมจะติดต่อผ่านอีเมลครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท